ไวรัสตับอักเสบซี (HCV : Hepatitis C Virus)
ครั้งหนึ่งสมัยที่ไวรัสตัวนี้ยังไม่ถูกค้นพบ จึงยังไม่มีชื่อเรียกเจาะจง มีแต่ชื่อเรียกชั่วคราวว่า (ไวรัสตับอักเสบชนิดไม่ใช่เอ ไม่ใช่บี) และยังเป็นเพราะว่าส่วนมากแล้วติดเชื้อตัวนี้จากการถ่ายเลือด พอถ่ายเลือดแล้วก็จะมีอาการตับอักเสบเกิดขึ้นตามหลัง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า (ตับอักเสบหลังการถ่ายเลือด)
จนเมื่อปี 1989 กลุ่มค้นคว้าชาวอเมริกันพบว่า มีไวรัสที่ทำให้ตับอักเสบเกิดขึ้น จึงตั้งชื่อให้มันว่า ไวรัสตับอักเสบชนิดซี
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ลักษณะเด่นของไวรัสชนิดนี้
- เป็นโรคติดต่อทางเลือดเช่นเดียวกับชนิดบี
- ไม่ติดต่อทางปากและทางการหายใจ
- ประมาณ 80% ของผู้ได้รับเชื้อนี้แล้ว กลายเป็นชนิดเรื้อรังภายหลัง
- มีทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง
- ชนิดเฉียบพลัน มีอาการเบากว่าชนิดเอและบี
- อาการที่เกิดขึ้นก็คล้ายกับชนิดบี คือ แทบไม่รู้ตัว มีเพียงแค่ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร
กรณีที่ติดจากแม่สู่ลูก เด็กคนนี้ยังต้องใช้เวลานานประมาณ 30-40 ปี จึงจะเกิดอาการอักเสบ
อาการ
ลำดับของโรค เริ่มจากติดเชื้อ จากนั้นประมาณ 70% ของคนกลุ่มนี้กลายเป็นพาหะ มีเชื้ออยู่ในตัว แล้วเกิดอาการตับอักเสบชนิดเรื้อรังภายหลัง และในกลุ่มนี้บางคนอาการหนักกลายเป็นตับแข็ง หรือมะเร็งตับ
หนำซ้ำถ้าเป็นชนิดนี้ ส่วนมากแล้วก็ไม่มีอาการให้รู้ตัว ใช้ชีวิตอยู่ในกลุ่มคนทั่วไปตามปกติ จนกว่าอาการจะเป็นมากจนทำให้เจ้าตัวรู้
ถ้าอาการเกิดขึ้นจนรู้ตัว แสดงว่าค่า GOT, GPT ในเลือดสูงเกิน 400 แต่เนื่องจากโรคนี้กินเวลาป่วยนานหลายสิบปี ด้วยเหตุนี้แม้ป่วยด้วยโรคนี้เหมือนกัน แต่รายละเอียดของอาการก็ยังต่างกันไปแล้วแต่คน
ส่วนที่เหลือก็จะเกิดอาการเฉียบพลัน คือ มีอาการปวดเมื่อย หมดแรงทั้งตัว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ถ้าเป็นนานยังอาจทำให้เกิดโรคดีซ่าน และบางรายเกิดอาการตับโตร่วมด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วมีอาการเบากว่าชนิดเอและบี
การรักษา
เป็นเพราะอาการป่วย ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ทรุดลงใช้เวลานานนับสิบๆ ปี และอาการก็ไม่รุนแรงให้รู้สึกว่าน่ากลัว ด้วยเหตุนี้ส่วนใหญ่แล้วจึงคิดว่า (ไม่เจ็บแล้ว ไม่ต้องไปพบแพทย์ก็ได้) (ไปก็ไม่หาย ไม่ไปดีกว่า) ผู้ป่วยจึงมักหยุดไปพบแพทย์กลางคัน
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
จริงๆ แล้ว ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อให้ทราบว่าต่อไปภายหน้า อาการของตนเองมีแนวโน้มเป็นอย่างไร
แม้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับ แต่การได้รับการรักษาที่เหมาะสม และปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ ก็ช่วยชะลออาการให้เกิดช้าลงได้
การป้องกันการติดเชื้อจากผู้อื่น
โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน จึงต้องรักษาอนามัยส่วนตัว โดยแยกของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าขนหนู แปรงสีฟัน มีดโกน เพราะถ้าเปื้อนเลือดก็อาจทำให้ติดต่อได้
การป้องกันการติดเชื้อสู่ผู้อื่น
ถึงแม้ไวรัสชนิดนี้ติดต่อทางเลือด แต่โดยปกติแล้วปริมาณไวรัสในเลือด มีน้อยมาก การใช้ชีวิตประจำวันปกติจึงไม่ทำให้ติดต่อกันได้ง่ายๆ
อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการป้องกัน ควรทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
- สิ่งของที่เปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ ต้องห่อหุ้มปิดให้มิดชิดก่อนทิ้ง หรือล้างในน้ำไหลจนกว่ามั่นใจว่าล้างสะอาดดีแล้ว
- บาดแผลภายนอก เลือดกำเดา ต้องจัดการเอง ถ้ามีคนช่วย ต้องบอกเขาให้ระวังอย่าให้ถูกเลือดหรือสารคัดหลั่ง แต่ถ้าถูกเข้าจนได้ก็ให้ล้างในน้ำไหล ก็ไม่มีปัญหา
- อย่าป้อนอาหารเด็กอ่อน โดยการอมใส่ปากตนเองก่อน
- ของใช้ส่วนตัวต่างๆ เช่น ใบมีดโกน แปรงสีฟัน ต้องแยกใช้
- ไม่บริจาคเลือด
เรื่องแบบนี้ไม่ติดต่อสู่ผู้อื่น
- จับมือ โอบกอด จูบ (ไม่ติดต่อทางน้ำลาย)
- ใช้อ่างอาบน้ำหรือแช่น้ำร่วมกัน
- ใช้ภาชนะร่วมกัน กินอาหารจานเดียวกัน
- ใช้สุขาร่วมกัน
- จามหรือไอในอากาศ
- ซักผ้าร่วมกัน
- ให้นมบุตร ไม่ทำให้ติดเชื้อ
คนกลุ่มเสี่ยงที่ควรไปตรวจหาเชื้อ
- ได้รับการถ่ายเลือดก่อนปี 1992
- ฟอกเลือดเป็นระยะเวลานาน
- คนที่เคยได้รับยา brinogen (เป็นยาใช้เวลาผ่าตัด ในรายที่ต้องเสียเลือดมาก)
- คนที่เคยผ่าตัดใหญ่
- คนที่เคยปลูกถ่ายอวัยวะ
- คนที่เคยใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น เพื่อเสพยาหรือใช้สักตัว
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ใช้ยาต้านไวรัสและยาบำรุงตับ
การใช้ยาต้านไวรัส
แม้ยารักษามีหลายชนิด แต่ขออธิบายเฉพาะที่เพิ่งมีประกาศล่าสุด และเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ทั่วโลกว่าใช้ได้ผลดีที่สุด กลายเป็นวิธีหลักในการรักษาตับอักเสบชนิดซี คือการใช้ยา 2 ชนิดร่วมกัน คือ การใช้ยาฉีด pegylated interferon (PEG-IFN) ร่วมกับ ยากิน ไรบาวิริน วิธีนี้มีมาตั้งแต่ปี 2001
ยา PEG-IFN
เป็นยาฉีด ยานี้ได้รับการปรับปรุงมาจากยาอินเตอร์ฟีรอน จากเดิมถ้าเป็นอินเตอร์ฟีรอนที่ต้องฉีดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ปรับปรุงเหลือเพียงสัปดาห์ละครั้ง
เป็นยากิน เดิมยาตัวนี้เป็นยาต้านไวรัส โดยทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีฤทธิ์กำจัดไวรัส ใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ งูสวัด
ต่อมามีการนำการใช้ร่วมกับยา PEG-IFN พบว่าเมื่อใช้ร่วมกันแล้ว มีฤทธิ์กำจัดไวรัสตับอักเสบซีได้ดีที่สุดในปัจจุบัน จึงใช้ 2 ตัวนี้ร่วมกันเป็นหลัก
การใช้ยาฉีด PEG-IFN ใช้ฉีดสัปดาห์ละครั้ง ไรบาวิริน กินวันละ 2 ครั้ง แต่ก็มีข้อควรระวังในส่วนของผลข้างเคียงของยาทั้ง 2 ชนิด
ดังนั้นเริ่มจากการใช้ 2 สัปดาห์แรก จำเป็นต้องข้ารักการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อดูอาการจากผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด หลังจากนั้นก็สามารถออกจากโรงพยาบาล ไปรักษาต่อที่บ้านได้ สามารถทำงานควบคู่กับการใช้ยาได้
ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย เมื่อใช้ยา 2 ชนิดร่วมกันนานประมาณ 48 สัปดาห์ ตรวจพบว่าไวรัสถูกกำจัดลงได้มาก และการทำงานของตับก็ดีขึ้นมาก
แล้วอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือเป็นอย่างไร แม้เป็นยาดีแต่ก็ไม่ได้ผลทุกราย ในรายที่ยังมีไวรัสหลงเหลือ แม้กำจัดไม่ได้หมด แต่ก็ยังไม่ได้ผลดีต่อการช่วยต้านการลุกลามไปเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับ ซึ่งก็นับว่าเป็นการใช้ยาที่ได้ผลน่าพอใจเช่นกัน
ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า แม้กำจัดไวรัสไม่ได้ แต่การทำงานของตับ สามารถกลับเป็นปกติ หรือไม่ได้กลับเป็นปกติ แต่ก็ไม่ทำให้อาการแย่ลง ก็นับว่าการใช้ยาได้ผลใกล้เคียงจุดประสงค์ในการรักษา
คนที่เหมาะใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้
มีไวรัสมาก คนที่เป็นตับอักเสบแล้วใช้ยาอินเตอร์ฟีรอน (interferon) รักษาไม่หาย
แต่ยา 2 ตัวนี้ ก็มีผลข้างเคียงเช่นเดียวกับยาตัวอื่นๆ
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ มีทั้งเกิดขึ้นในช่วงแรกที่เริ่มใช้ (ภายในสัปดาห์แรก) ขณะใช้ไปได้ระยะหนึ่ง (ช่วงสัปดาห์ที่ 2-12) ช่วงระยะหลังใช้เกิน 3 เดือน อาการข้างเคียงต่างๆ ที่พบโดยทั่วไป ได้แก่
อาการนี้ ปกติแล้วหายเองภายใน 1-2 วัน หรืออย่างนานก็ไม่เกิน 1 เดือน
หลังฉีดยา PEG-IFN ผ่านไปหลายชั่วโมง ร่างกายก็จะเริ่มมีอาการผิดปกติคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้จับสั่น ปวดเมื่อยทั้งตัว ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ กินอาหารไม่ลง
อาการนี้พบได้เกือบทุกคนที่ใช้ยานี้ ซึ่งจะหายเป็นปกติภายใน 3-5 วัน แต่ถ้าเป็นหนักก็ต้องใช้ยาแก้ปวดแก้ไข้ และควรดื่มน้ำต้มสุกผสมเกลือนิดหน่อย ดื่มชดเชยให้กับร่างกาย
อนึ่ง แม้ฉีดครั้งแรกแล้วมีอาการเกิดขึ้น แต่เมื่อฉีดครั้งที่ 2 เป็นต้นไป อาการก็จะทุเลาขึ้นเอง
คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
พอเมื่อเกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เป็นใครก็คงกินไม่ลงด้วย อีกทั้งแม้ไข้ลดลงแล้วแต่ก็ยังคงมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก ต่อเนื่องไปอีกจนกว่าจะผ่านไป 15-30 วัน ก็จะดีขึ้น
ถ้ายังพอกินได้ ต้องเปลี่ยนเป็นกินอาหาร หรือขนมที่ตนอยากกินเพื่อชดเชยสารอาหารให้ร่างกาย
เป็นลมพิษ คันตามตัว
นี่ก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่พบได้ในช่วงแรก เมื่อเกิดอาการนี้ก็ต้องใช้ยาครีมทาแก้แพ้เพื่อลดอาการคัน อย่างไรก็ตาม ถ้าตนเองมีโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว ควรบอกให้แพทย์ทราบล่วงหน้าก่อนใช้ยา เป็นดีที่สุด
ต่อมาหลังจากใช้ไปได้ 2 เดือน ก็จะพบว่าผมร่วงอย่างเห็นได้ชัด และยังเป็นแบบนี้นานอีกหลายเดือน แต่หลังจากใช้ยาเสร็จแล้วภายใน 6 เดือน อาการดังกล่าวก็จะหายไปเอง สภาพเส้นผมจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม ไม่จำเป็นต้องใช้ยาอื่นๆ ช่วยกระตุ้นให้เกิดเส้นผม
แต่ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ
หายใจขัด ไอ มีไข้ต่ำ
เป็นอาการที่พบได้หลังจากใช้ยาผ่านไป 2 เดือน ความจริงแล้วพบน้อยมาก แต่อาการเหล่านี้อาจเป็นลางของการเกิดปอดอักเสบ เพื่อความปลอดภัยควรติดต่อแพทย์
ตัวบวม ใจสั่น เหงื่อท่วมตัว
นี่ก็พบได้หลังผ่านไป 2 เดือน ซึ่งนี่อาจเป็นโรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ต้องรีบแจ้งแพทย์
หัวใจมีอาการผิดปกติ โรคเบาหวานมีอาการแย่ลง
แม้เป็นอาการที่พบได้น้อยมาก แต่ถ้าบางรายมีโรคหัวใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติกับหัวใจง่ายขึ้น เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจกำเริบ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจต้องระวังเป็นพิเศษ
ส่วนคนที่เป็นเบาหวาน การใช้ยาทั้ง 2 ตัวนี้ ยังอาจทำให้เกิดอาการทรุดลง ดังนั้นถ้ามีอาการดังกล่าวก็ต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ
มองเห็นไม่ชัด ตาพร่า แสบตา เจ็บตา
อาการนี้พบน้อยมาก เกิดขึ้นหลังจากเริ่มรักษาผ่านไปได้ 2-3 เดือน ต้นเหตุเกิดกับเส้นเลือดบริเวณเรตินา จึงทำให้มีปัญหาเรื่องการมองเห็น ส่วนมากขณะที่ยังทำการรักษาต่อเนื่องก็จะหายไปเอง
แต่ในรายที่เป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ต้องระวังมากขึ้น เพราะเส้นเลือดมีปัญหาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คนที่เป็นโรคเหล่านี้จึงต้องไปตรวจเป็นประจำ และไปตามนัดทุกครั้ง
ผลดีของการไปตรวจตามนัดเป็นประจำ
การไปตรวจขณะที่ยังต้องใช้ยาอยู่ หรือหลังจากหยุดยาผ่านไปแล้ว 6 เดือน เพื่อตรวจหาว่ามีสิ่งผิดปกติอะไรหรือไม่ เพราะอาการข้างเคียงบางอย่างก็ไม่อาจทราบได้ด้วยตนเอง เว้นแต่ต้องใช้เครื่องมือตรวจ
บางรายจำเป็นต้องปรับปริมาณยาหรือเปลี่ยนวิธีรักษา ดังนั้นไม่ใช่ว่าหยุดยาแล้วก็ไม่ต้องไปพบแพทย์อีก จริงๆ แล้วยังต้องไปเป็นประจำตามนัดต่ออีก 6 เดือนหลังจากหยุดยา
อาการผิดปกติที่ไม่อาจทราบได้ด้วยตนเอง แต่ตรวจพบได้ด้วยเครื่องมือดังนี้
- เป็นอาการที่พบได้จากการใช้ยาทั้ง 2 ชนิด พอเริ่มใช้ยาผ่านไปได้ 30-45 วัน ปริมาณเฮโมโกลบินก็จะเริ่มลดลง แต่เมื่อลดลงแล้วก็จะคงที่ แทบทุกรายยังคงใช้วิธีนี้รักษาต่อเนื่องไปได้
- เมื่อหยุดรักษาผ่านไปแล้วประมาณ 1-2 เดือนก็เริ่มกลับเป็นปกติ แต่ในรายที่ปริมาณลดลงมาก จำเป็นต้องปรับปริมาณยาไรบาวิรินหรือหยุดใช้กลางคันก็มี
- แค่เริ่มรักษาเพียงสัปดาห์แรก ปริมาณเม็ดเลือดขาวก็เริ่มลดลง แต่เมื่อยังใช้วิธีนี้ต่อไปแล้ว ปริมาณที่ลดลงก็จะไม่ลดลงไปมากกว่านี้อีก
- แต่ถ้าลดลงมากเกินไป ก็จำเป็นต้องลดปริมาณยาฉีด หรือหยุดยาชั่วคราว หลังจากรักษาแล้ว ประมาณ 30-45 วัน ก็จะกลับเป็นปกติ
- แม้เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าใช้รักษาได้ผลดี เป็นวิธีหลักในการรักษาไวรัสตับอักเสบซี แต่ก็มีผลข้างเคียงต่างๆ ดังนั้นการใช้ยาจึงต้องมีข้อควรระวังเพื่อไม่ให้อาการข้างเคียงเป็นมากขึ้น หรือทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร
- ข้อควรระวังในการใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ มีทั้งก่อนใช้ ขณะใช้ หลังใช้รักษาเสร็จแล้ว
- 3. ต้องแจ้งสภาพอาการของตนให้ถี่ถ้วนก่อนการรักษา เช่น ถ้ามีโรคประจำตัว มีอาการแพ้ยาบางชนิด คนในบ้านมีประวัติเคยเป็นโรคบางอย่าง เป็นต้น
- ถ้ากำลังใช้ยาเพื่อรักษาโรคบางอย่างอยู่ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย
- อย่าหยุดยาไรบาวิรินหรือลดปริมาณเอาเอง ขณะใช้ยานี้เป็นเวลา 1 ปี และหลังจากเลิกใช้แล้วอีก 6 เดือนให้หลัง รวมเป็นเวลา 1 ปีครึ่ง ต้องป้องกันการตั้งครรภ์เป็นอย่างดี เพราะมีการทดลองกับสัตว์พบว่า ยานี้ทำให้ตัวอ่อนในครรภ์ผิดปกติ
- หลังหยุดยาแล้วทางที่ดีควรสอบถามแพทย์ ว่าสามารถตั้งครรภ์ได้เมื่อไร
- ในรายที่ผู้ป่วยเป็นชาย ถ้าคู่นอนเป็นหญิงตั้งครรภ์ หรือเสี่ยงตั้งครรภ์ ควรใช้ถุงยาง เพราะยาไรบาวิรินที่ตนเองใช้ อาจเข้าไปอยู่ในน้ำเชื้อ และถ้าตั้งครรภ์จริงต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ
- ขณะใช้ยาก็ควรออกกำลังพอเหมาะกับสภาพร่างกายและกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายมีเรี่ยวแรงที่จะต่อสู้กับโรคด้วย
- ยังต้องไปตรวจสุขภาพตับ และช่วง 6 เดือนนี้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ผู้ป่วยหญิงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ ผู้ป่วยชายที่มีคู่นอนที่มีโอกาสตั้งครรภ์ช่วง 6 เดือนหลังจากรักษาแล้ว ฝ่ายชายยังต้องใช้ถุงยางทุกครั้ง
- จะเห็นว่าการใช้ยาทั้ง 2 ตัวนี้ มีบางรายที่ใช้ไม่ได้หรือห้ามใช้ เช่น หญิงตั้งครรภ์หรืออาจตั้งครรภ์ภายหลัง บางรายก็ใช้ไม่ได้ผล หรือทำให้มีอาการแย่ลง
- ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีอื่น คือ การใช้ยาบำรุงตับ
การใช้ยาบำรุงตับ
จุดประสงค์ของการใช้ยานี้ เพื่อปรับปรุงการทำงานของตับ รักษาสุขภาพตับ ป้องกันไม่ให้อาการอักเสบแย่ลง แต่ไม่ได้กำจัดไวรัส ตัวอย่างของยานี้ได้แก่
ยาฉีดที่มีส่วนผสมของ Glycyrrhizin
ช่วยทำให้เยื่อหุ้นเซลล์ตับแข็งแรงขึ้น ป้องกันเซลล์ตับเสียหาย ช่วงแรกต้องใช้ทุกวัน จากนั้นจึงฉีด 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ยาตัวนี้นับว่าช่วยคุ้มครองการทำงานของตับให้ใกล้เคียงปกติ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งตับ
ผลข้างเคียง : ความดันสูงขึ้น ตัวบวม โพแทสเซียมในเลือดลดลงอย่างผิดปกติ แต่อาการเหล่านี้นับว่าพบน้อยมาก
Ursodeoxycholic acid
เป็นยากิน ช่วยทำให้การไหลเวียนโลหิตของตับดีขึ้น หรือทำให้มีพลังงานสะสมในตับ ส่งผลให้การทำงานของตับดีขึ้น กินวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1-2 เม็ด ท้องเสียหรือท้องผูก คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดท้อง เป็นลมพิษ เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
ก็เช่นเดียวกับตับอักเสบชนิดอื่นๆ คือ
- ต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนและนอนหลับเพียงพอ
- ไม่ใช้เรี่ยวแรงหนัก อย่าทำงานที่ต้องอดนอน หรือกินอาหารไม่ตรงเวลา รวมทั้งทำงานเครียดจัด
- ออกกำลังกายบ้างเพื่อให้กล้ามเนื้อมีเรี่ยวแรง ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ดีตามไปด้วย ควรทำ
หลังจากกินอาหารผ่านไปเกิน 1 ชั่วโมงแล้ว
- เลิกดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีส่วนทำให้ไวรัสในตับมีมากขึ้น
- ไปตรวจตามนัดทุกครั้ง
คำถามยอดนิยม
ถาม : ไม่รู้ว่าตนเองควรไปตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หรือไม่?
ตอบ : คนที่เหมาะไปตรวจ ได้แก่ คนที่มีอายุ 36 ปีขึ้นไป หรืออายุเกิน 36 ปี แต่ยังไม่เคยตรวจหาเชื้อตัวนี้ อายุเกิน 36 ปี และเคยตรวจพบว่าตับทำงานไม่ปกติ
ถาม : ถ้าเป็นโรคนี้แล้ว มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับ หรือตับแข็งง่ายขึ้น จริงหรือ?
ตอบ : ถ้าดูจากลำดับการลุกลามของโรค เริ่มจากติดเชื้อ คนที่ติดเชื้อนี้ส่วนมากกลายเป็นพาหะนำโรค และส่วนมากในคนกลุ่มพาหะนี้ เป็นตับอักเสบชนิดเรื้อรัง จากนั้นบางส่วนของคนดังกล่าว ก็จะมีอาการลุกลามไปเป็นตับแข็ง มะเร็งตับ
จากการสำรวจ คนที่มีอายุเกิน 40 ปี ที่เป็นพาหะนำโรคไวรัสตับอักเสบซี 100 คน เทียบระหว่างคนที่ไม่ได้รักษากับคนที่รักษา ได้ข้อมูลออกมา ดังนี้
อีก 20-30 ปีต่อมา มีคนเป็นตับแข็ง 10-16 คน
ดังนั้น ถ้าตนเองจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรตรวจให้แน่ใจแล้วรับการรักษาเป็นการยับยั้ง หรือการต้านการลุกลามของโรคให้ช้าออกไป เท่าที่จะทำได้
ถาม : ถ้าติดเชื้อแล้ว ต้องใช้เวลานานแค่ไหนจึงจะตรวจพบเชื้อนี้?
ตอบ : จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ติดต่อ แต่โดยทั่วไปแล้ว หลังจากติดเชื้อได้ประมาณ 3 เดือนไปแล้วก็จะตรวจพบได้
ถาม : ถ้าใครคนหนึ่งเป็นโรคนี้ จะทำให้คู่สามีหรือภรรยามีโอกาสติดต่อได้มากน้อยเพียงใด?
ตอบ : จากการตรวจสามีหรือภารรยาที่มีคู่สมรสเป็นผู้ป่วยนอกเป็นไวรัสตับอักเสบซี ตับแข็ง มะเร็งตับ รวมจำนวน 150 คน พบว่ามี 21 คน (14%) เป็นพาหะ HCV
นอกจากนี้คู่สมรสจำนวน 50 คนของผู้ที่เป็นพาหะซึ่งไม่ทราบว่าตนเองเป็น แต่รู้ได้ก็เพราะการถ่ายเลือด เมื่อตรวจคู่สมรสดังกล่าวพบว่าประมาณ 12% เป็นพาหะทั้งสามีภรรยา แต่เมื่อตรวจยีนของไวรัสนี้ส่วนมากไม่ตรงกัน กล่าวคือ ไม่ได้ติดจากการใช้ชีวิตคู่ แต่ต่างคนต่างติดมาจากที่อื่น
ผลสรุป
แม้คู่สมรสเป็นพาหะนำโรค HCV แต่การใช้ชิวิตร่วมกันอย่างปกติธรรมดาโดยมีการรักษาอนามัยส่วนตัวเป็นอย่างดี ก็แทบจะไม่มีการติดต่อไปยังคู่ของตน
ถาม : โรคไวรัสชนิดนี้ ติดต่อตามแหล่งที่มีคนมารวมกันมาก อย่างเช่นโรงเรียน หรือสถานพักฟื้น หรือไม่?
ตอบ : ตามปกติแล้ว ไวรัสนี้ไม่แพร่กระจายในแหล่งที่มีคนมารวมกันมาก ทั้งนี้เพราะถ้ารักษาอนามัยส่วนตัวเป็นอย่างดี ก็ทำให้ไม่มีการติดต่อโรคนี้
ถาม : เด็กที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะ จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อหรือไม่?
ตอบ : จำเป็น เพราะอาจติดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แต่จนถึง 12 เดือนนับจากคลอดออกมา ยังตรวจหาเชื้อนี้ไม่เจอ จึงต้องตรวจหลังจากนั้น ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณแม่รักษาตัวตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ก็ย่อมมีแผนรับมือกับเรื่องนี้อยู่แล้ว
ถาม : เท่าที่ฟังมา อยากทราบว่าทำไมจึงมีคนเป็นพาหะนำโรคนี้มาก?
ตอบ : เพราะถ้าเป็นไวรัสชนิดนี้ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่สามารถกำจัดได้ดีพอ อีกทั้งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
ถาม : แม้เป็นพาหะของโรคนี้ แต่มีบ้างไหมที่ตรวจตับแล้วพบว่า ตับทำงานปกติ?
ตอบ : ก็มี การตรวจสุขภาพด้วยการหาค่า ALT (GPT) AST (GOT) ซึ่งค่านี้มีการเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ได้คงที่ตลอดเวลา ดังนั้น บางครั้งก็ตรวจได้ค่าปกติ บางครั้งก็ได้ค่าผิดปกติ
คนที่เป็นชนิดเรื้อรัง บางรายมีค่าเหล่านี้ปกตินานเกิน 1 ปีก็มี อีกทั้งการหาค่า ALT (GPT) AST (GOT) นี้ ต้องตรวจหาในเลือด ซึ่งหมายความว่า ถ้าเซลล์ตับเสียหายทำให้สารทั้ง 2 ตัวนี้หลุดเข้ากระแสเลือด จึงจะตรวจพบ ดังนั้น แม้เป็นโรคตับบางอย่าง เช่น เกิดเส้นใยในตับมากขึ้น (เสี่ยงเป็นตับแข็ง) แต่ก็ตรวจไม่พบค่าผิดปกติ
ลำพังการตรวจหาค่าพวกนี้ จึงไม่ได้หมายความว่าตับปกติ จำเป็นต้องใช้วิธีตรวจต่างๆ อย่างละเอียด ประกอบกันเข้าเป็นข้อมูลวินิจฉัย
ถาม : ถ้าคนที่เป็นพาหะ ตรวจพบว่าการทำงานของตับไม่ปกติ ควรทำอย่างไร?
ตอบ : ถ้าตรวจพบว่าการทำงานของตับผิดปกติ แสดงว่าเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
ถ้าครั้งแรกที่ตรวจ พบว่ามีอาการระดับเบาหรือไม่ได้มีอะไรร้ายแรงก็ต้องไปตรวจอีกตามนัด (ประมาณ 2-3 เดือน/ครั้ง) เพื่อตรวจว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้ามีก็จะได้รักษาทัน ไม่ควรเลิกไปเสียเฉยๆ
นอกจากนี้ ก็ยังต้องป้องกันตนเองไม่ให้ติดต่อไปยังผู้อื่น
แต่ในรายที่ตรวจครั้งแรกก็พบว่ามีอาการลุกลามไปได้ระยะหนึ่งแล้ว แบบนี้ก็ต้องรักษากับทางโรงพยาบาล ไม่ควรซื้อยากินเองหรือไปรักษากับคนที่ไม่ใช่แพทย์ เพราะถ้าลุกลามแล้ว โอกาสที่จะเป็นมะเร็งตับหรือตับแข็งก็ยิ่งเสี่ยงเป็นมากขึ้น
ถาม : ถ้าใช้ยาแล้วมีผลข้างเคียง ควรทำอย่างไรให้ผลข้างเคียงนี้มีอาการน้อยลง?
ตอบ : อันดับแรก ต้องทราบก่อนว่า ตนเองมีผลข้างเคียงอะไร แล้วปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจต้องปรับยา โดยลดปริมาณยา หรือเปลี่ยนช่วงเวลาใช้ยา
ถาม : ยาไรบาวิรินและอินเตอร์ฟีรอน ใช้กับเด็กได้หรือไม่?
ตอบ : มีข้อมูลในการใช้กับเด็กน้อยมาก และยังไม่มีการรับรองความปลอดภัยว่าใช้กับเด็กได้หรือไม่ ดังนั้นปกติแล้วจึงไม่ใช้กับเด็ก
นอกจากนี้ กรณีของเด็ก การลุกลามของโรคจัดว่าช้า ยังต้องอาศัยเวลานานนับสิบๆ ปี ไม่จำเป็นต้องรีบรักษาเร่งด่วนขนาดนั้น
ถาม : โรคไวรัสตับอักเสบซี นอกจากทำให้ตับอักเสบแล้ว ยังมีอาการเกิดกับอวัยวะอื่นๆ หรือไม่?
ตอบ : เท่าที่มีปรากฎคือ โรค Oral lichen planus เป็นโรคช่องปากอักเสบอย่างหนึ่ง โรค Sjogren Syndrome เป็นโรคเกี่ยวกับต่อมต่างๆ ในร่างกายทำงานด้อยลง เพราะระบบภูมิคุ้มกันของตนเองเป็นเหตุ
ถาม : ถ้าเลือดของคนที่มีไวรัสตับอักเสบี ติดนิ้ว พื้น อุปกรณ์กินอาหารควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดฆ่าเชื้อดีหรือไม่?
ตอบ : ทางที่ดีต้องใช้ผ้าชุบ โซเดียมไฮเปอคลอไรท์ (sodium hypochloritel) เช็ดคราบเลือดออก (ปริมาณดูตามฉลาก) จากนั้นใช้ผ้าเช็ดตามปกติอีกครั้ง
ส่วนเลือดที่ติดนิ้ว ถ้านิ้วไม่ได้มีบาดแผลอะไร เพียงแค่ใช้สบู่ล้างในน้ำไหล ล้างออกให้สะอาดก็พอ
อยากรู้เกี่ยวกับเรื่องผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีคือเป็นเรื่องของแฟนหนูเองเขาตรวจพบตอนที่หนูท้องลูกคนที่2ว่าสามีมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแล้วแบบนี้เชื้อตัวนี้ร้ายแรงไหมค่ะ และมีวิธีรักษาไหมค่ะ