สุขภาพหัวใจในช่วงวัยทองของผู้หญิงเป็นอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สุขภาพหัวใจในช่วงวัยทองของผู้หญิงเป็นอย่างไร?

วัยทองไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจอย่างแท้จริง ซึ่งความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นเมื่อเราแก่ตัวลง แต่สำหรับผู้หญิงนั้นอาการอาจชัดเจนมากขึ้นหลังจากเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยทอง  อย่างไรก็ตาม อายุโดยเฉลี่ยของคนที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือนก็คือ 45 ปี และความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจะเพิ่มขึ้นในผู้หญิงหลังจากที่ผ่านพ้นวัยทองไป 10 ปี นอกจากนี้ยังมีการประมาณการว่า ผู้หญิงที่เป็นผู้ใหญ่ 1 ใน 3 เป็นโรคใดโรคหนึ่งที่เกี่ยวกับหัวใจ

ความเชื่อมโยงระหว่างวัยทองและสุขภาพหัวใจ

วัยทองเกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงหยุดมีประจำเดือน ซึ่งถือเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงมีอายุประมาณ 50 ปี แต่มันก็สามารถเกิดขึ้นได้เร็วกว่านั้น ในระหว่างที่อยู่ในช่วงวัยทอง รังไข่จะหยุดผลิตเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมรอบระดู และมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรงและแบนเรียบ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวัยทองไม่ได้เป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ แต่มันทำให้ปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น ในระหว่างที่คุณอยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน คุณอาจประสบภาวะดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ความดันโลหิตสูง
  • มีระดับของ LDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีสูงขึ้น
  • มีระดับของ HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดีต่ำลง ซึ่งเป็นไขมันชนิดที่ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
  • มีระดับของไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น

แม้ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างเอสโตรเจนและการมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองที่ต่ำลง แต่แพทย์ก็ไม่แนะนำให้ทานเอสโตรเจนเพื่อป้องกันโรคหัวใจที่เกิดขึ้นหลังวัยทอง

อาการของโรคหัวใจในผู้หญิง

ทั้งผู้ชายและผู้หญิงล้วนแต่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูงขึ้นเมื่ออายุมาก คุณอาจคิดว่าบางอาการเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไปเมื่อเราอายุมากขึ้น แต่มันก็อาจไม่ใช่เสมอไป หากคุณมีอาการเหล่านี้ คุณควรรีบไปพบแพทย์

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในผู้หญิงและผู้ชายอาจแตกต่างกัน ผู้หญิงส่วนมากจะมีอาการเจ็บหน้าอก เจ็บแขน หรือหายใจติดขัด สำหรับอาการอื่นๆ มีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับเบา เช่น อาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกที่เป็นๆ หายๆ เหงื่อออก คลื่นไส้ เวียนศีรษะ เจ็บในกราม คอ แขน หรือหลัง อ่อนเพลียมาก ฯลฯ

วิธีดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดี

คุณสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเมื่ออายุมากขึ้นโดยนำนิสัยที่ดีต่อสุขภาพมาปรับใช้ตั้งแต่อายุน้อย สำหรับสิ่งที่เราอยากแนะนำมีดังนี้

  • ทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง และลดการทานเกลือ น้ำตาล และอาหารแปรรูป
  • การทานผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด โปรตีนแบบลีน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมไขมันต่ำ สามารถช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่ง The American Heart Association แนะนำให้เราออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที โดยเลือกออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง เช่น เดิน ปั่นจักรยาน เต้น ทำสวน  อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • หาวิธีรับมือกับความเครียด เช่น ทำงานอดิเรก ฝึกสมาธิหรือโยคะ ออกกำลังกาย ฯลฯ
  • หาวิธีรักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งมีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงวัยกลางคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 2 เท่า
  • ไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อที่จะได้จับตามองปัจจัยเสี่ยง และหากพบความผิดปกติใดๆ คุณก็จะได้รีบรักษาตัวตั้งแต่เนิ่นๆ 

ที่มา: https://steptohealth.com/heart...


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Avoiding heart problems in your 80s. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/avoiding-heart-problems-in-your-80s)
Aging changes in the heart and blood vessels. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/004006.htm)
Exercise especially important for older people with heart disease. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326642)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ใช้ชีวิตอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง
ใช้ชีวิตอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง

รวมเคล็ดลับการใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ

อ่านเพิ่ม
งานวิจัยบอกว่าเกลือที่มากขึ้นอาจจะดีกว่า
งานวิจัยบอกว่าเกลือที่มากขึ้นอาจจะดีกว่า

เกลือที่มากขึ้นดีต่อสุขภาพหรือไม่?

อ่านเพิ่ม