HapiFork ส้อมอัจฉริยะ จะสั่นเตือนเบาๆ เมื่อผู้ใช้ทานอาหารเร็วเกินไป

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
HapiFork ส้อมอัจฉริยะ จะสั่นเตือนเบาๆ เมื่อผู้ใช้ทานอาหารเร็วเกินไป

คนที่อยากมีสุขภาพดี ก็คงเคร่งเครียดกับการนับอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นนับจำนวนพลังงานที่ได้จากอาหารเปรียบเทียบกับพลังงานที่ได้เผาผลาญไปกับการออกกำลังกายว่าจะสมดุลกันหรือไม่ หรือคอยนับคอยดูน้ำหนักตัวของตัวเองตลอดเวลา หรือนับว่าวันนี้วิ่งไปแล้วกี่กิโล

แต่ตอนนี้ได้มีเครื่องใช้ชิ้นใหม่บนโต๊ะอาหารที่เรียกว่า HapiFork ที่จะช่วยเหล่าผู้รักสุขภาพทั้งหลายลดน้ำหนักได้ โดยการนับจำนวนอาหารที่รับประทานเข้าไปว่าทานไปกี่คำแล้ว และช่วยเตือนให้รับประทานช้าๆ เพื่อจะได้ทานอาหารพอดีๆ ไม่มากเกินไป ทำให้การเผาผลาญพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีนั้นได้อำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันให้แก่คนเราอย่างมาก เพราะสามารถติดตามเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวันของคนเราได้อย่างง่ายดายด้วยสมาร์ทโฟน  pedometers หรือเครื่องวัดจำนวนก้าว หรือแม้กระทั่งเซนเซอร์ขนาดเล็กที่สามารถติดไว้กับสายรัดข้อมือได้ ซึ่งการติดตามข้อมูลต่างๆ ของตนเองอยู่เสมอของคนเหล่านี้นั้น กำลังจะกลายเป็นอะไรที่มากเกินกว่าความเป็นห่วงสุขภาพของตนเองไปเสียแล้ว

ผู้คนที่ห่วงใยในสุขภาพของตนเองนั้นมักจะติดตามกิจกรรมของตนเองอย่างทุกฝีก้าวไม่ว่าจะยามหลับหรือยามตื่น ไม่ว่าจะเป็นท่าทางลักษณะการนอน อัตราการเต้นของหัวใจ อารมณ์ คุณภาพของอากาศที่ตนหายใจอยู่ รวมทั้งพฤติกรรมการทำงาน เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าพวกเขามีข้อมูลเพียงพอที่จะรู้ได้ว่าสุขภาพของพวกเขาเป็นอย่างไร

ในกรณีของ HapiFork สามารถที่จะบอกผู้รักสุขภาพทั้งหลายให้ได้ทราบว่า พวกเขารับประทานอาหารเร็วเท่าใด โดยปกติแล้วกระเพาะอาหารของคนเรานั้นจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที ในการส่งสัญญาณไปบอกสมองว่าอิ่มแล้วและถึงเวลาที่จะหยุดทานได้แล้ว ดังนั้นการรับประทานอาหารที่เร็วเกินไปย่อมมีโอกาสที่จะทานเกินความจำเป็นของร่างกายได้ ผู้พัฒนา HapiFork กล่าวว่า การรับประทานช้าๆ นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก รวมไปถึงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกรดไหลย้อน โรคอ้วน และโรคเบาหวานด้วย

ส้อมอัจฉริยะราคา 99 เหรียญสหรัฐนี้ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในงาน Consumer Electronics Show  ซึ่งจัดขึ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ปรากฎว่ามีผู้สนใจส้อมอัจฉริยะชิ้นนี้เป็นจำนวนมาก โดยส้อม HapiFork จะเริ่มวางขายในปลายปีนี้

ส้อม HapiFork ตัวนี้ ทำงานโดยเก็บข้อมูลพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมันจะส่งข้อมูลต่างๆ ที่มันเก็บได้ เช่น ระยะเวลาในการรับประทานอาหารแต่ละครั้ง และความถี่ในการทานอาหารแต่ละคำ ไปยังสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ โดย HapiFork จะมีแอพพลิเคชันในสมาร์ทโฟนที่สามารถแชร์ข้อมูลให้กับเพื่อนๆ และครอบครัวได้อีกด้วย

นอกจากนี้ อุปกรณ์ตัวนี้สามารถตั้งค่าให้สามารถปรับเปลี่ยนการแจ้งเตือนตามพฤติกรรมของผู้ใช้ได้ โดยจะสั่นเพื่อเป็นการเตือนผู้ใช้ว่ารับประทานอาหารเร็วเกินไปโดยเตือนเบาๆ เพื่อให้ผู้ใช้ชะลอความเร็วลง แต่การตั้งค่าเริ่มต้นนั้นจะกำหนดให้ทานอาหารได้  1  คำต่อ 10 วินาที หากใน 10 วินาทีทานอาหารเกิน 1 คำ ส้อมอัจฉริยะก็จะสั่นเตือนทันที แต่ค่าที่ตั้งมาจากโรงงานนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้

การนับจำนวนคำของ HapiFork ก็คือ เมื่อปลายของ HapiFork สัมผัสที่ปากของผู้ใช้ วงจรไฟฟ้าภายในส้อมก็จะครบวงจรและจะนับเป็นการทานอาหาร 1 คำ ข้อมูลจากการใช้จะถูกส่งจาก HapiFork เข้าสู่สมาร์ทโฟนของผู้ใช้โดยอัตโนมัติโดยใช้ Bluetooth หรือ micro USB ก็ได้  ด้ามของ HapiFork ทำมาจากพลาสติกที่หนาเพื่อป้องกันวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในจากน้ำและสิ่งสกปรกต่างๆ เนื่องจาก HapiFork สามารถล้างน้ำได้แบบส้อมปกติ หรือจะล้างด้วยเครื่องล้างจานก็ได้เช่นกัน  และเวลาจะใช้ก็ต้องกดปุ่มเปิดเสียก่อน แต่เมื่อใช้เสร็จแล้วมันจะปิดเองโดยอัตโนมัติ

Fabrice Boutain ผู้ก่อตั้งบริษัท HapiLabs ผู้พัฒนา HapiFork ได้ทำการทดสอบส้อมอัจฉริยะดังกล่าว โดยใช้ HapiFork ต้นแบบจำนวน 10  คัน รับประทานอาหาร พบว่าหากทานเกิน 1 คำ ต่อ 10 วินาทีส้อมก็จะสั่นทำให้การทานอาหารไม่สะดวกนัก โดยเฉพาะเมื่อส้อมที่สั่นสัมผัสกับฟัน ทำให้การใช้ในระยะแรกๆ จะรู้สึกรำคาญและไม่ค่อยชิน แต่เมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะช่วยดัดนิสัยของผู้ใช้ให้รับประทานช้าลงจนเป็นนิสัยเอง

Boutaink กล่าวว่า จากการทดสอบ ต้องใช้เวลาประมาณ 21 วันกว่าจะเริ่มชินและทานช้าลงจนเป็นนิสัย ดังนั้นหากใช้ HapiFork ติดต่อกันเป็นเวลา 21 วันผู้ใช้ก็จะกินช้าลงจนเป็นนิสัย ดังนั้นส้อม HapiFork จะช่วยเราในการฝึกให้เป็นคนทานช้าๆ เพื่อให้กินอย่างพอดีไม่มากเกินความต้องการของร่างกายนั่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hapifork hands-on: Bluetooth vibrating smart fork aims to coach you back to health. CNET. (Available via: https://www.cnet.com/reviews/hapifork-bluetooth-enabled-smart-fork-preview/)
World's first connected fork could help you eat healthier, slower, and less. VentureBeat. (Available via: https://venturebeat.com/2013/04/17/worlds-first-connected-fork-could-help-you-eat-healthier-slower-and-less/)
HAPIfork Review: Digital Utensil Tracks and Sets a User's Eating Pace. The Wall Street Journal. (Available via: https://www.wsj.com/articles/digital-fork-tracks-and-sets-a-user8217s-eating-pace-1388532694)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
Anticentromere antibody
Anticentromere antibody

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Anticentromere antibody ทางเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะหนังแข็ง ชนิด Limited cutaneous scleroderma

อ่านเพิ่ม