Anticentromere antibody

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Anticentromere antibody ทางเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะหนังแข็ง ชนิด Limited cutaneous scleroderma
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Anticentromere antibody

การตรวจ ACA เพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะหนังแข็งชนิด Limited cutaneous scleroderma และผู้ที่มีอาการของกลุ่มอาการเครสต์ (CREST syndrome) ผู้ที่ไม่มีอาการจำเพาะไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจชนิดนี้ และไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ ก่อนตรวจ

ชื่ออื่น: Centromere antibody, ACA

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: Anticentromere antibody

จุดประสงค์การตรวจ Anticentromere antibody

แพทย์จะตรวจ ACA เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคแพ้ภูมิตัวเองที่เรียกว่า Limited cutaneous scleroderma ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะหนังแข็ง (Systemic scleroderma) และกลุ่มอาการเครสต์ (CREST syndrome) นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจ ACA เพื่อแยกระหว่างโรคเหล่านี้ และภาวะอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกัน

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Anticentromere antibody?

แพทย์จะตรวจ ACA ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีผลตรวจแอนตินิวเคลียร์ แอนติบอดี (Antinuclear antibody: ANA) ที่ใช้วินิจฉัยการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองเป็นบวก หรือผู้ป่วยมีอาการมากกว่าหนึ่งที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการเครสต์ ซึ่งประกอบไปด้วยอาการดังนี้

  • Calcinosis: มีแคลเซียมสะสมใต้ผิว
  • Raynaud phenomenon: เลือดไหลไปยังนิ้วมือและนิ้วเท้า ทำให้เปลี่ยนเป็นสีขาวและสีน้ำเงิน
  • Esophageal dysfunction: กลืนอาหารลำบาก กรดไหลย้อน และแสบร้อนกลางอก
  • Sclerodactyly: ผิวที่มือและนิ้วมีลักษณะตึง หนา และแวววาว
  • Telangiectasia: มีจุดสีแดงที่ผิวเนื่องจากหลอดเลือดฝอยขยายตัว

วิธีเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ Anticentromere antibody

แพทย์จะตรวจ Anticentromere Antibody จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

รายละเอียดการตรวจ Anticentromere antibody

Anticentromere antibody (ACA) เป็นออโตแอนติบอดี หรือโปรตีนที่ระบบภูมิคุ้มกันผลิตขึ้น ซึ่งจะพยายามทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย ทั้งนี้ ACA เป็นหนึ่งใน Antinuclear antibodies ที่พยายามทำลายเซนโทรเมียร์ (Centromere) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโครโมโซมที่พบได้ในทุกเซลล์ที่มีนิวเคลียสในร่างกาย ยกเว้นเซลล์เม็ดเลือดแดง

การตรวจ ACA จะช่วยตรวจ และวัดปริมาณของ Anticentromere antibody ที่พบได้ในเลือด โดยจะช่วยวินิจฉัยภาวะหนังแข็ง (Scleroderma) ซึ่งเป็นกลุ่มความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • Diffuse cutaneous systemic sclerosis (ส่งผลต่อทั้งร่างกาย)
  • Limited cutaneous systemic sclerosis

แพทย์จะกำหนดประเภทของโรคหนังแข็ง โดยยึดตามขอบเขตของผิวที่ผิดปกติ และพิจารณาจากผลการตรวจ ACA ผู้ที่เป็นโรคผิวแข็งชนิด Limited cutaneous scleroderma สามารถพบ ACA ได้ประมาณ 60-80% ในขณะที่ผู้เป็นโรคผิวแข็งชนิด Diffuse scleroderma สามารถพบ ACA ได้ประมาณ 50% และสามารถพบ ACA ได้ในผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการเครสต์ (CREST syndrome) มากถึง 95%

ความหมายของผลตรวจ Anticentromere antibody

หากผลตรวจของ ACA เป็นบวก และมีอาการของกลุ่มอาการเครสต์ ก็มีแนวโน้มว่าผู้ป่วยมีภาวะหนังแข็งชนิด Limited cutaneous scleroderma

หากผลตรวจของ ACA เป็นลบ ก็มีแนวโน้มว่าอาการของผู้ป่วยอาจเกิดจากภาวะอื่นๆ อย่างไรก็ตาม อาจเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะหนังแข็งชนิด Limited cutaneous scleroderma และไม่ได้ผลิต Anticentromere antibodies แต่เป็นกรณีที่พบได้ไม่บ่อย

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Anticentromere antibody

ผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดอื่นๆ สามารถมีผลตรวจ ACA เป็นบวกได้ เช่น โรคลูปัส โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ โรคตับแข็งทางเดินน้ำดี (Primary biliary cirrhosis)

การตรวจ ACA ไม่ได้เป็นการตรวจคัดกรองแบบทั่วไป แต่จะถูกนำมาใช้เมื่อผู้ป่วยมีอาการที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการเครสต์ แต่เนื่องจากภาวะหนังแข็งชนิด Limited cutaneous scleroderma ค่อนข้างเป็นภาวะที่หายาก คนส่วนใหญ่จึงไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจ ACA


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Anticentromere antibody (https://labtestsonline.org/tests/anticentromere-antibody), 22 December 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ALK mutation (Gene rearrangement)
ALK mutation (Gene rearrangement)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ ALK mutation โดยเก็บตัวอย่างจากเนื้อเยื่อ เพื่อพิจารณาแนวทางในการรักษาผู้ที่มีเซลล์มะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma

อ่านเพิ่ม