เนื้องอกเจิมเซลล์ เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นกับเซลล์สร้างไข่ หรืออสุจิ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้ โดยอาจเป็นชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง หรือชนิดที่เป็นมะเร็งก็ได้ อาการของผู้ป่วยจะขึ้นกับว่าเนื้องอกนั้นเกิดขึ้นที่ไหน โดยมักเริ่มต้นขึ้นด้วยการมีก้อนที่รู้สึกได้ หรือก่อให้เกิดอาการอื่นๆ สำหรับการรักษาจะทำโดยการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน และโดยส่วนใหญ่มะเร็งชนิดนี้ตอบสนองดีต่อการใช้ยาเคมีบำบัด
บทนำเนื้องอกเจิมเซลล์
ข้อมูลจากประเทศสหราชอาณาจักรพบว่าแต่ละปีมีเด็กน้อยกว่า 45 คนที่ป่วยเป็นเนื้องอกเจิมเซลล์ชนิดเป็นมะเร็ง (malignant germ cell tumours) โดยส่วนใหญ่ของเด็กที่ป่วยเป็นเนื้องอกเจิมเซลล์จะรักษาหายขาด
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
มีเด็กจำนวนมากในปัจจุบันที่มีชีวิตรอดจากมะเร็งในวัยเด็ก เพราะมียาและวิธีการรักษาใหม่ๆ และเราสามารถกระทำบางอย่างเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการป่วยเป็นมะเร็งในอดีตได้
มันเป็นเรื่องที่แย่ที่ต้องรับฟังว่าบุตรหลานของคุณป่วยเป็นมะเร็งตั้งแต่วัยเด็ก และคงเป็นความรู้สึกอัดอั้นอย่างมาก แต่อย่าลืมว่ามีบุคลากรทางการแพทย์และองค์กรให้การสนับสนุนต่างๆ ที่จะช่วยเหลือคุณในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งที่บุตรหลานของคุณเป็นรวมถึงวิธีการรักษาที่พวกเขาอาจได้รับจะช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ดีขึ้น ซึ่งเราคาดหวังว่าคุณจะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากการอ่านบทความนี้ บุคลากรที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคเด็กจะให้ข้อมูลรายละเอียดที่มากขึ้นกับคุณได้ และถ้าคุณมีคำถามใดๆ ก็ตาม คุณควรสอบถามกับแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่ทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ของบุตรหลานคุณเป็นอย่างดี
เนื้องอกเจิมเซลล์
เนื้องอกเจิมเซลล์สามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงอายุ ซึ่งเป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์ที่สร้างไข่ หรืออสุจิ ดังนั้นเนื้องอกเจิมเซลล์จึงส่งผลกระทบต่อรังไข่ หรือ อัณฑะ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่เนื้องอกเจิมเซลล์จะเกิดขึ้นที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกาย
ขณะที่ทารกกำลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ของมารดา เซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตไข่หรืออสุจิจะเคลื่อนตัวเข้ามาอยู่ในรังไข่หรืออัณฑะ อย่างไรก็ตามเซลล์นี้อาจไปอยู่ที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกายแทน ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นเนื้องอกได้ ซึ่งบริเวณที่พบได้บ่อยคือ ด้านล่างของกระดูกสันหลัง (sacrococcygeal), สมอง, หน้าอก และช่องท้อง
เนื้องอกเจิมเซลล์ในบางครั้งจะเรียกด้วยชื่อที่แตกต่างออกไป โดยขึ้นกับลักษณะเฉพาะของโรค ได้แก่ yolk-sac tumours, germinomas, embryonal carcinomas, mature teratomas และ immature teratomas
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โดยเนื้องอกเจิมเซลล์ที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นชนิดไม่ใช่มะเร็ง (benign) หรือชนิดเป็นมะเร็ง (malignant) ก็ได้ โดยมะเร็งเจิมเซลล์จะสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้
แต่เนื้องอกชนิดไม่ใช่มะเร็ง (benign tumours) จะไม่แพร่กระจาย แต่อาจทำให้เกิดปัญหาจากการกดเบียดเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียง
ส่วนเนื้องอกชนิด Immature teratomas เป็นชนิดที่อยู่ระหว่างเป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้เฉพาะบริเวณช่องท้องแต่ไม่แพร่กระจายไปไกลกว่านั้น และสามารถนำออกได้ด้วยการผ่าตัด
สาเหตุของเนื้องอกเจิมเซลล์
สาเหตุของเนื้องอกเจิมเซลล์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่กำลังมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ ดำเนินการอยู่
อาการและอาการแสดงของเนื้องอกเจิมเซลล์
อาการของผู้ป่วยจะขึ้นกับว่าเนื้องอกนั้นเกิดขึ้นที่ไหน โดยมักเริ่มต้นขึ้นด้วยการมีก้อนที่รู้สึกได้ หรือก่อให้เกิดอาการอื่นๆ
จะวินิจฉัยเนื้องอกเจิมเซลล์ได้อย่างไร
มีการตรวจ/การทดสอบหลายอย่างที่จำเป็นต้องทำเพื่อวินิจฉัยเนื้องอกเจิมเซลล์ โดยแพทย์มักนำชิ้นเนื้อตัวอย่างจากก้อนเนื้องอกไปตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อดูว่ามีมะเร็งเกิดขึ้นหรือไม่
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การตรวจด้วยซีทีสแกน (CT scan) หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI scan) อาจทำเพื่อดูตำแหน่งของเนื้องอกในร่างกาย ส่วนการเอกซเรย์ปอดอาจทำเพื่อดูว่ามีเนื้องอกในปอดหรือไม่
เนื้องอกเจิมเซลล์มักสร้างโปรตีนที่เรียกว่า ตัวบ่งชี้มะเร็ง (tumour markers) ที่สามารถตรวจวัดได้ในเลือด โดยโปรตีนที่ผลิตจากเนื้องอกเจิมเซลล์คือ alpha-fetoprotein (AFP) และ human chorionic gonadotrophin (HCG) ซึ่งบุตรหลานของคุณจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งดังกล่าวขณะกำลังทำการวินิจฉัยด้วย และแพทย์จะทำการตรวจสารนี้อย่างต่อเนื่องทั้งในระหว่างการรักษาและภายหลังการรักษาสิ้นสุดลง
ในบางกรณีอาจวินิจฉัยเนื้องอกเจิมเซลล์ได้จากการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งและจากผลการสแกนร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษา ตัวอย่างเช่นเนื้องอกในสมอง
ระยะของโรคมะเร็ง
ระยะของโรคมะเร็งเป็นการบ่งบอกถึงขนาดและบอกว่ามะเร็งแพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด การรู้ถึงระยะของโรคมะเร็งจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ
โดยทั่วไปมะเร็งสามารถแบ่งได้ 4 ระยะ:
ระยะที่ 1
มะเร็งมีขนาดเล็ก ไม่แพร่กระจาย และสามารถกำจัดออกได้ทั้งหมด
ระยะที่ 2 และ 3
มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นและอาจไม่สามารถกำจัดออกจากร่างกายได้หมด หรืออาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง
ระยะที่ 4
มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
มะเร็งแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ ของร่างกายที่ไกลออกไป และสามารถสร้างเป็นก้อนเนื้องอกที่ตำแหน่งใหม่ได้ หรือเรียกว่า secondary cancer หรือ metastatic cancer
การรักษาเนื้องอกเจิมเซลล์
ในการรักษาบุตรหลานของคุณจะขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ขนาด, ตำแหน่ง และระยะของเนื้องอกเจิมเซลล์นั้น โดยมักรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ การใช้ยาเคมีบำบัด หรือรักษาด้วย 2 วิธีร่วมกัน
เนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถรักษาหายขาดได้ถ้าสามารถผ่าตัดออกได้ ซึ่งอาจหมายถึงการผ่าตัดอัณฑะ หรือรังไข่ออก ถ้าเป็นบริเวณที่เกิดมะเร็งขึ้น
ถ้าเนื้องอกที่เกิดขึ้นเป็นมะเร็ง และสามารถกำจัดออกได้หมดด้วยการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัดก็ไม่มีความจำเป็นเสมอไป โดยเฉพาะถ้ามะเร็งนั้นเกิดขึ้นในอัณฑะหรือรังไข่ แต่ถ้าเนื้องอกไม่สามารถผ่าตัดออกได้โดยง่าย หรือมีการแพร่กระจายออกไป บุตรหลานของคุณจะได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
การใช้ยาเคมีบำบัด คือ การใช้ยาที่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxic) ไปทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย เนื้องอกเจิมเซลล์เป็นมะเร็งที่ตอบสนองต่อการใช้ยาเคมีบำบัดเป็นอย่างมาก ซึ่งมักให้เป็นยาฉีดหรือยาหยดเข้าหลอดเลือดดำ
มักให้ยาหลายชนิดร่วมกันทุก 3 สัปดาห์ นาน 3 หรือ 5 เดือน โดยระยะเวลาในการให้ยาเคมีบำบัดจะขึ้นกับตำแหน่งของเนื้องอก, ระดับของสาร AFP และขึ้นกับการแพร่กระจายของมะเร็ง
ส่วนการรักษามะเร็งเจิมเซลล์ในสมองจะมีความแตกต่างเล็กน้อย แม้ว่าจะตอบสนองดีต่อการใช้ยาเคมีบำบัด แต่การรักษาจะจำเป็นต้องฉายรังสีร่วมด้วย การฉายรังสีคือการใช้รังสีพลังงานสูงเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งเนื้องอกเจิมเซลล์ในสมองจะไม่เหมือนกับเนื้องอกเจิมเซลล์ที่บริเวณอื่นๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องกำจัดออกด้วยการผ่าตัดเสมอไป
ผลข้างเคียงของการรักษา
ในการรักษามะเร็งมักก่อให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งแพทย์ที่ดูแลบุตรหลานของคุณจะให้คำปรึกษาของคุณเกี่ยวกับประเด็นนี้ก่อนเริ่มการรักษา ในขั้นตอนการรักษาบุตรหลานของคุณ แพทย์จะวางแผนการรักษาเป็นรายบุคคลเพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งศัลยแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางจะให้คำปรึกษาเรื่องนี้กับคุณ
ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัด มักค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อการรักษาสิ้นสุดลง และหลายๆ อาการมักควบคุมได้เป็นอย่างดี
ผลข้างเคียงของการรักษาจะขึ้นกับชนิดของยา ซึ่งจะรวมถึง:
- รู้สึกคลื่นไส้ และอาเจียน
- ผมร่วง
- เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ
- ฟกช้ำ และเลือดออก
- อ่อนเพลีย อ่อนล้า
- ท้องเสีย
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นช้า
มีเด็กจำนวนน้อยที่อาจเกิดผลข้างเคียงในระยะยาวจากการรักษา บางครั้งอาจเกิดขึ้นเมื่อผ่านไปแล้วหลายปี ซึ่งพบได้ไม่บ่อย แต่อาจรวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับไต ปอด และการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้กับคุณ
ถ้าบุตรหลานของคุณถูกผ่าตัดรังไข่หรืออัณฑะออกเพียงข้างเดียว พวกเขาจะยังสามารถมีบุตรได้ในอนาคต
การวิจัยทางคลินิก
มีเด็กหลายคนที่ได้รับการรักษาที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยทางคลินิก โดยการศึกษาวิจัยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ดีที่สุดของโรคนั้นๆ โดยมักเปรียบเทียบระหว่างการรักษาใหม่กับการรักษาที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน
ในการศึกษาวิจัยจะดำเนินการโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสำหรับรักษามะเร็งในเด็ก ถ้ามีความเหมาะสมเพียงพอ แพทย์จะพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับการเข้าร่วมการศึกษาวิจัยทางคลินิกและคอยตอบคำถามที่คุณสงสัย ซึ่งคุณจะได้รับเอกสารอธิบายสิ่งต่างๆ เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
การตัดสินใจเข้าร่วมการศึกษาวิจัยเป็นเรื่องของความสมัครใจ ซึ่งคุณจะต้องใช้เวลาให้มากพอเพื่อตัดสินใจว่าการเข้าศึกษาวิจัยนั้นเหมาะสมสำหรับบุตรหลานของคุณ
การตรวจติดตามอาการ
บุตรหลานของคุณจะได้รับการตรวจเลือดเป็นประจำทั้งในระหว่างและหลังการรักษา เพื่อตรวจเช็คระดับ AFP และ HCG ถ้าระดับของสารเหล่านี้สูงขึ้น บ่งชี้ว่ามะเร็งอาจกลับเป็นซ้ำและจำเป็นต้องทำการรักษาอีกครั้ง
ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับสภาวะโรคของบุตรหลานและการรักษา ขอแนะนำให้ปรึกษาเรื่องนี้กับแพทย์ที่ทำการรักษา ซึ่งจะทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ของบุตรหลานคุณมากที่สุด