ความหมายของเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น
เป็นภาวะที่มีเลือดออกจากหลอดอาหารส่วนที่มีพยาธิสภาพ ไปจนถึงทางออกของกระเพาะอาหาร ทำให้เลือดสะสมคั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร เลือดที่ออกมาสัมผัสกับกรดและสิ่งขับหลั่งในกระเพาะอาหาร และทำปฏิกิริยาต่อกันจึงมีสีดำคล้ำ อย่างไรก็ตามหากเลือดออกมากในเวลาสั้น ผู้ป่วยจะอาเจียนออกมาเป็นเลือดสีแดงสดได้
สาเหตุของเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น
เกิดจากความผิดปกติของเยื่อเมือกที่บุดาดผนังกระเพาะอาหาร มีการขับหลั่งกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารมากเกินไป ความเครียด การรับประทานยาแก้ปวด หรือยาเสตียรอยด์ มักพบในกลุ่ม Mallory-Weiss syndrome โดยมีประวัติคลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรงหลังดื่มสุรา โรคตับเรื้อรังจะมีเลือดออกจากเส้นเลือดขอด (Variceal bleeding) สูบบุหรี่ พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทำให้การย่อยอาหารเสียไป
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
พยาธิสรีรภาพ
เลือดที่ออกในทางเดินอาหารส่วนต้นอาจเกิดจากแผนที่หลอดอาหารส่วนปลายกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม หรือที่รูเปิดสู่ลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม แผลส่วนใหญ่จะอยู่ทางผนังด้านหลัง ส่วนด้านหน้าของกระเพาะอาหารและดูโอดีนัมมีหลอดเลือกเส้นใหญ่น้อย หลอดเลือดมักมีขนาดเล็กกว่าผนังด้านหลัง แผลเปปติกจะมีเลือดออกจะต้องเป็นแผลลึกถึงชั้นชีโรชา (Serosa) เพราะเป็นชั้นเยื่อบุที่มีหลอดเลือดกระจายตัวมาหล่อเลี้ยงผนังกระเพาะอาหาร ทำให้หลอดเลือดฉีดขาด การมีเลือดออกมากหรือน้อยขึ้นกับความกว้างของแผล ส่วนอัตราตายจากการตกเลือดพบร้อยละ 10 มักพับในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และเคยมีเลือดออกมาแล้ว ได้รับการรักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ได้ผล มีถ่ายอุจจาระดำ (Melena) หรืออาเจียนเป็นเลือด (Hematemesis) หรือมีเลือดออกซ้ำอีก ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงของการสูญเสียเลือดอย่างรุนแรงและหมดสติ เนื่องจากปริมาตรเลือดในร่างกายน้อยลง ทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดน้อยลง
อาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น
มีอาการปวดท้อง อาเจียนเป็นเลือดสด (Hematemesis) และถ่ายอุจาระเป็นสีดำ (Melena) ซีด อ่อนเพลียอย่างรวดเร็ว เหงื่อออก ปวดศีรษะ หน้ามืดเหมือนจะเป็นลม มือเท้าเย็น เป็นตะคริว ชีพจรเบาเร็ว ความดันเลือดต่ำ ใจสั่น หิวน้ำ หายใจเร็วและหมดสติ อาจมีอาการปวดท้องหรือไม่มีอาการนำมาก่อน ตรวจหน้าท้องแข็งเกร็งเป็นตะคริว ปวดศีรษะและตรวจเลือดพบเม็ดเลือดแดงน้อย
การวินิจฉัยโรค
จากประวัติเคยเป็นโรคแผลเปปติก เคยดื่มสุรา สูบบุหรี่ รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ชอบรับประทานรสจัด รับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำหรือยาลูกกลอน ยาชุดซึ่งมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ดื่มน้ำชา กาแฟ มีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระสีดำ มีอาการซีด ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่แบบเฉียบพลันก่อนมาโรงพยาบาล ตรวจพบเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ตรวจพบเม็ดเลือดปนอยู่ในอุจจาระ (Occult blood) ส่องกล้องดูกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนดูโอดีนัม พบรอยแผลหรือจุดเลือดออก
การรักษาเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น
รักษาตามอาการ เช่น ภาวะช็อก โดยการให้สารน้ำและเลือดทดแทนอย่างรวดเร็ว พยายามให้ Hct มากกว่า 30% งดอาหารและน้ำทางปาก ใส่สายสวนทางปากสู่กระเพาะอาหารแล้วสวนล้างกระเพาะอาหารด้วยน้ำเกลือ เพื่อให้เลือดหยุด หากมีเลือดออกจากภาวะหลอดเลือดดำโป่งพองบริเวณหลอดอาหารส่วนปลายหรือกระเพาะอาหารส่วนต้น อาจต้องใส่สายสวนสามทาง (Blakemore Sengstagen tube) เพื่อให้บอลลูนช่วยกดหยุดเลือดพร้อมดึงถ่วงไว้ดว้ยตุ้มน้ำหนักครึ่งกิโลกรัม และให้ยาลดกรด (Antacid) หรือ H2-blocker ขณะงดอาหารอาจให้ Cimetidine 200 มิลลิกรัมทางหลอดเลือดดำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่าจะรับประทานอาหารได้ หรือโดยการผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน (Partial gastrectomy) การผ่าตัดเส้นประสาทเวกัส (Vagotomy) บางรายอาจต้องส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารหลังเลือดหยุดเพื่อฉีดยาช่วยให้หลอดเลือดแข็งตัว (Sclerosing therapy)
การพยาบาล
คอยสังเกตอาการผู้ป่วยจนสัญญาณชีพคงที่อย่างน้อย 48-72 ชั่วโมง ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น Post gastrectomy syndrome (ปริมาณความจุกระเพาะอาหารลดลง การทำงานของรูเปิดกระเพาะอาหารเสียไป การกลืนกันบริเวณรอยต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนเจจูนัม การดูดซึมอาหารไม่ทั่วถึง การเกิดแผลบริเวณรูเปิดกระเพาะอาหาร ภาวะซีด) กลุ่มอาการ Dumping syndrome มีไขมันปนออกมากับอุจจาระ (Steatorrhea) เป็นต้น บรรเทาอาการปวดและให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
อาการเรอไม่หายสักทีตลอดเวลา6เดือนคะ