โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholecystitis) คือภาวะอักเสบของถุงน้ำดี (gallbladder) ที่นับว่าร้ายแรงและต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น
อาการทั่วไปของโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันคือความเจ็บปวดรุนแรงที่หน้าท้องทางขวาบนที่ลามขึ้นไปยังหัวไหล่ขวา หน้าท้องที่เจ็บปวดจะมีภาวะกดเจ็บรุนแรงที่แม้แต่การหายใจเข้าลึก ๆ ก็ทำให้อาการเจ็บปวดมีมากขึ้นได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการเจ็บปวดที่หน้าท้องนี้ไม่เหมือนกับอาการปวดท้องทั่วไป ความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นเรื้อรัง และไม่ยอมหายไปแม้จะผ่านไปเป็นชั่วโมงแล้วก็ตาม
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้เช่น: มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ไม่อยากอาหาร ผิวหนังและตาขาวมีสีเหลือง (ดีซ่าน) หน้าท้องเป่งออก
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
คุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่เริ่มมีอาการเจ็บปวดท้องรุนแรงที่ไม่ยอมทุเลาลงแม้จะผ่านไปสองถึงสามชั่วโมงแล้ว หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่นดีซ่าน หรือมีไข้
อะไรเป็นสาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน?
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันแบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลัก ๆ คือ: ถุงน้ำดีอักเสบจากนิ่ว (calculous cholecystitis) กับถุงน้ำดีอักเสบจากสาเหตุอื่น (acalculous cholecystitis)
ถุงน้ำดีอักเสบจากนิ่ว
ถุงน้ำดีอักเสบจากนิ่ว (calculous cholecystitis) เป็นสาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด และมักจะไม่ร้ายแรง คาดกันว่านิ่วเป็นสาเหตุของโรคนี้มากกว่า 95%
ภาวะถุงน้ำดีอักเสบจากนิ่วเกิดขึ้นเมื่อช่องเปิดหลักของถุงน้ำดีที่เรียกว่าท่อถุงน้ำดี (cystic duct) เกิดอุดตันด้วยก้อนนิ่วในถุงน้ำดี (gallstone) หรือสารที่เรียกว่าตะกอนของถุงน้ำดี (biliary sludge)
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตะกอนถุงน้ำดีเป็นสารที่มาจากน้ำดี (ของเหลวที่ตับผลิตออกมาช่วยย่อยไขมัน) กับผลึกคอเลสเตอรอลและเกลือขนาดเล็ก
การอุดตันภายในท่อถุงน้ำดีทำให้ถุงน้ำดีมีน้ำดีสะสมอยู่ภายในมากเกินไปจนทำให้เกิดการอักเสบขึ้น โดยคาดว่าการอักเสบของถุงน้ำดีรูปแบบนี้ 1 จาก 5 กรณีจะมาจากเชื้อแบคทีเรีย
ถุงน้ำดีอักเสบจากสาเหตุอื่น
ภาวะถุงน้ำดีอักเสบจากสาเหตุอื่น (acalculous cholecystitis) นั้นพบได้ไม่บ่อยเท่าภาวะที่เกิดจากนิ่ว แต่จะทำให้เกิดโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันที่มีความร้ายแรงมากกว่า ภาวะนี้ยังก่อให้เกิดภาวะเจ็บป่วย ภาวะติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บอื่น ๆ ที่ถุงน้ำดีได้อีกด้วย
ภาวะถุงน้ำดีอักเสบจากสาเหตุอื่นมักมาจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่นความเสียหายระหว่างการผ่าตัดใหญ่ การบาดเจ็บหรือแผลไหม้รุนแรง ภาวะโลหิตเป็นพิษ (sepsis) ภาวะทุพโภชนาการรุนแรง หรือแม้แต่ AIDS
ใครสามารถได้รับผลกระทบจากโรคนี้ได้บ้าง?
โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันมักเป็นภาวะแทรกซ้อนจากนิ่วในถุงน้ำดี คาดกันว่าผู้ใหญ่ที่มีภาวะนิ่วประมาณ 10-15% แต่ส่วนมากมักจะไม่ประสบกับอาการใด ๆ นอกจากบางรายที่ประสบกับความเจ็บปวดเป็นครั้งคราว (เรียกว่า biliary colic หรืออาการปวดท้องเป็นพัก ๆ ) หรืออาจกลายเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันขึ้นมาในภายหลังก็ได้
การวินิจฉัยโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันได้ด้วยการตรวจส่วนท้องของคุณโดยการทดสอบที่เรียกว่าการคลำถุงน้ำดี (Murphy’ s sign) โดยคุณจะต้องหายใจเข้าลึก ๆ และให้แพทย์กดมือลงไปบนหน้าท้อง ณ ตำแหน่งใต้กระดูกซี่โครง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ขณะที่คุณหายใจข้า ถุงน้ำดีเคลื่อนตัวลงข้างล่าง และหากคุณป่วยเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบ คุณจะมีความเจ็บปวดรุนแรงเกิดขึ้นกะทันหันขณะที่ถุงเคลื่อนไปโดนมือของแพทย์
หากอาการของคุณบ่งชี้ว่าคุณเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน แพทย์จะส่งคุณไปโรงพยาบาลเพื่อรับการทดสอบและรักษาทันที โดยอาจมีการทดสอบเพิ่มเติมดังต่อไปนี้: การตรวจเลือดเพื่อมองหาสัญญาณของภาวะอักเสบภายในร่างกาย การสแกนอัลตราซาวด์หน้าท้องเพื่อตรวจสอบหานิ่วหรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดกับถุงน้ำดี การสแกนอื่น ๆ เช่นเอกซเรย์ การสแกนคอมพิวเตอร์ (CT) หรือการสแกนคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน แพทย์จะจัดให้คุณเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลทันที
การรักษาขั้นแรก
การรักษาแรกสุดจะมีทั้ง: การจัดเวลาทานและดื่มเพื่อกำจัดของเสียออกจากถุงน้ำดี การให้ของเหลวผ่านทางตัวหยดยาเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ การทานยาบรรเทาอาการปวด หากแพทย์คาดว่าคุณมีภาวะติดเชื้อ คุณจะได้รับยาปฏิชีวนะมาใช้นานหนึ่งสัปดาห์ ทั้งช่วงที่อยู่โรงพยาบาลและที่บ้าน
กรณีส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาขั้นต้นจะทำให้นิ่วถุงน้ำดีได้ไหลกลับเข้าไปในถุงน้ำดี ซึ่งจะทำให้ภาวะอักเสบดีขึ้น
การผ่าตัด
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันซ้ำ และเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แพทย์จะแนะนำให้คุณกำจัดถุงน้ำดีออกภายหลังจากดำเนินการรักษาขั้นต้นไปแล้ว การผ่าตัดประเภทนี้จะเรียกว่า cholecystectomy หรือการผ่าตัดถุงน้ำดีนั่นเอง
หากคุณมีร่างกายที่รับการผ่าตัดไม่ไหว แพทย์จะมีกระบวนการที่เรียกว่า percutaneous cholecystostomy ซึ่งเป็นการใช้เข็มแทงผ่านหน้าท้องเพื่อดูดของเหลวสะสมภายในถุงน้ำดีออกแทน
หากคุณมีร่างกายแข็งแรงพอจะรับการผ่าตัด แพทย์จะตัดสินใจช่วงเวลาผ่าตัดถุงน้ำดีที่ดีที่สุดของคุณอีกที ในบางกรณีคุณสามารถเข้าผ่าได้เลยภายในวันถัดมา ในขณะที่กรณีอื่น ๆ อาจต้องรอไปจนกว่าภาวะอักเสบจะหายไปโดยสมบูรณ์ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์
การผ่าตัดสามารถดำเนินการได้สองวิธี:
การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบสอดกล้อง (laparoscopic cholecystectomy): เป็นหัตถการรูกุญแจ (keyhole surgery) ที่ซึ่งทำการตัดถุงน้ำดีออกด้วยเครื่องมือผ่าตัดพิเศษที่สามารถสอดผ่านรอยกรีดขนาดเล็กบนหน้าท้องได้
การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบสอดกล้อง (open cholecystectomy): เป็นการตัดถุงน้ำดีด้วยการกรีดเปิดช่องหน้าท้องขนาดใหญ่
ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดถุงน้ำดีมาแล้วบางรายอาจประสบกับอาการท้องอืดและท้องร่วงหลังจากการรับประทานอาหารบางประเภทได้ นอกจากปัญหานี้แล้ว มนุษย์ก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปรกติแม้จะไม่มีถุงน้ำดีก็ตามเนื่องจากอวัยวะนี้ไม่ได้เป็นอวัยวะสำคัญเพราะตับจะเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดีออกมาอยู่แล้ว
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดจากโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนี้:
เนื้อเยื่อถุงน้ำดีตาย (gangrenous cholecystitis) ซึ่งทำให้เกิดภาวะติดเชื้อรุนแรงที่สามารถลุกลามไปทั่วร่างกายได้
ถุงน้ำดีทะลุ (perforated gallbladder): ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อภายในท้อง (ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ) หรือทำให้เกิดหนองสะสมภายใน
ผู้ป่วยโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันประมาณ 1 ใน 5 กรณีจะต้องเข้ารับการผ่าตัดถุงน้ำดีฉุกเฉินเพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้
การป้องกันโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันเป็นภาวะที่ไม่อาจทำการป้องกันได้เสมอไป แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้ด้วยการตัดความเสี่ยงต่อการก่อตัวของนิ่วในถุงน้ำดี
หลักปฏิบัติอันดับแรกคือการปรับใช้วิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และจำกัดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงต่าง ๆ เนื่องจากคอเลสเตอรอลจะเป็นสารที่ทำให้นิ่วในถุงน้ำดีก่อตัวขึ้น
การที่คุณมีน้ำหนักตัวมากโดยเฉพาะเมื่อมีภาวะอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการก่อตัวของนิ่วขึ้น คุณสามารถควบคุมน้ำหนักของตนเองได้ด้วยการควบคุมอาหาร ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำ
อย่างไรก็ตามคุณไม่ควรทำการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเกินไปหรือทานแต่อาหารที่มีแคลอรีต่ำตลอดเวลา เนื่องจากมีรายงานว่าการทำเช่นนี้จะไปขวางกระบวนการทางเคมีที่ผลิตน้ำดีของร่างกาย และจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วมากขึ้น ดังนั้นคุณควรทำการค่อย ๆ ลดน้ำหนักจะดีที่สุด