ไขมัน ไม่ได้ร้ายอย่างที่คุณคิด เพราะร่างกายขาดไขมันไม่ได้

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไขมัน ไม่ได้ร้ายอย่างที่คุณคิด เพราะร่างกายขาดไขมันไม่ได้

มีความเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับสารอาหารที่ชื่อว่า ไขมัน ในความเข้าใจของคนส่วนมาก ไขมันคือตัวการที่ทำให้เราอ้วน สุขภาพไม่ดี และยังอุดตันในเส้นเลือดทำให้ถึงแก่ชีวิตได้อีกด้วย แต่ในความจริงแล้วไขมันก็ไม่ได้ส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างที่เราคิดกัน และยังมีไขมันบางประเภทที่ส่งผลดีต่อร่างกายเสียด้วยซ้ำ การที่เราขาดไขมันไป ร่างกายเราก็อาจเสียสมดุลได้เช่นกัน

  • ไขมันจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร ?
  • เราจะรับประทานไขมันอย่างไรให้เกิดผลที่ดีต่อร่างกาย ?

หน้าที่ของไขมันต่อร่างกาย

ไขมันมีหน้าที่สำคัญในร่างกายเราดังนี้…

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. ไขมันช่วยในการละลายวิตามิน (เอ ดี อี เค) เพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปใช้งานได้ เพราะหากมีไขมันร่างกายไม่เพียงพอ ก็จะไม่สามารถรับวิตามินเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่
  2. ไขมันช่วยรับแรงกระแทกให้กับอวัยวะต่างในร่างกาย การที่เรามีไขมันน้อยเกินไปร่างกายเราก็เสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บต่ออวัยวะภายในได้มากขึ้นเช่นกัน
  3. ไขมันมีหน้าที่ในการให้พลังงาน ถ้าร่างกายขาดสารอาหารจำพวกแป้ง ก่อนที่ร่างกายจะไปดึงเอาโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในร่างกายมาใช้เป็นพลังงาน
  4. ไขมันช่วยในการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย(โดยเฉพาะในอากาศที่หนาว) ไขมันยังมีส่วนสำคัญต่อความแข็งแรงของเส้นผม และสภาพของผิวอีกด้วย

ที่กล่าวมาข้างต้นคือหน้าที่ของไขมันต่อร่างกายเรา ซึ่งถือว่ามีส่วนสำคัญต่อเป็นอย่างมาก เราจึงควรหาไขมันที่ดีเติมให้กับร่างกายของเรา


ไขมัน ไม่ได้ร้ายอย่างที่คุณคิด เพราะร่างกายขาดไขมันไม่ได้

ประเภทของไขมัน

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เป็นไขมันชนิดดี (ส่งผลดีต่อร่างกาย) ช่วยลดคอเลสเตอรอลไม่ดีในร่างกาย และเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลที่ดีอีกด้วย จึงมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ ไขมันประเภทนี้พบได้ในพบเมล็ดพืช หรือไขมันจากพืช รวมถึงปลาที่มีไขมันสูงๆ

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เป็นไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จำเป็นต้องรับประทานจากอาหารเท่านั้น ไขมันประเภทนี้พบได้ได้ในเมล็ดพืช และอะโวคาโด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

โอเมกา 3 ถือเป็นไขมันดีที่สารพัดประโยชน์มากๆต่อร่างกาย ไขมันประเภทนี้จะช่วยลดการอักเสบ ลดไตรกลีเซอไลด์ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี เพิ่มคอเลสเตอรอลที่ดีในเลือด ช่วยในการควบคุมการส่งสารอาหาร บำรุงข้อต่อต่าง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลดอาการแพ้ต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงสมองอีกด้วย อาหารที่มีโอเมกา 3 คือปลาทะเลน้ำลึก(แซลมอน) ไข่ ดอกกะหล่ำ วอลนัท ผักโขม สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ทานปลาทะเลน้ำลึก เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ

โอเมกา 6 เป็นไขมันที่ส่งทั้งผลดีและผลเสียต่อร่างกาย มีผลดีต่อร่างกายคือช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยให้สมองได้รับออกซิเจนมาขึ้นลำความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อม ช่วยบำรุงตับ แตกหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะส่งผลให้เป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไขมันอิ่มตัว เป็นไขมันประเภทที่ไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มคลอเลสเตอรอลที่ไม่ดีให้ร่างกาย พบมากในเนื้อสัตว์ น้ำมันมะพร้าว นม และอาหารทะเล แต่ในปัจจุบันก็มีงานวิจัยบอกว่าเราสามารถทานได้ แต่ไม่ควรเกินร้อยละสิบของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน

คอเลสเตอรอล เป็นทั้งไขมันที่ดีและไม่ดี พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย มีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาหารอื่นๆที่รับประทานเข้ามา คอเลสเตอรอลที่ดีมีส่วนช่วยในการนำไขมันที่ไม่ดีออกจากร่างกาย เป็นส่วนประกอบของน้ำดี จะเพิ่มขึ้นเมื่อเราทาน ผัก ธัญพืช และไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนคลอเลสเตอรอลที่ไม่ดีนั้นจะเป็นตะกอนอุดตันในเส้นเลือดของเรา

ไขมันทรานส์ เป็นไขมันที่ส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างแท้จริง มีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ สมองเสื่อม ประสาทตาเสื่อม นิ่วในถุงน้ำดี มีส่วนในการทำให้ผู้หญิงมีบุตรยาก เพิ่มโอกาสการอักเสบของอวัยวะในร่างกาย พบมากในอาหารจำพวกฟาสต์ฟู้ตต่างๆ  เนยขาว และขนมต่างเช่นโดนัท เป็นต้น

ไขมันเป็นสารอาหารที่ยังจำเป็นอย่างยิ่งต่อร่างกายเรา ไขมันไม่ได้ส่งผลร้ายให้ร่างกายเราเพียงอย่างเดียว เพียงแต่เราต้องเลือกรับประทานอาหารที่ให้ไขมันที่ดีต่อร่างกาย และอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้นเอง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, fat-not-as-bad-as-you-think-the-body-needs-it (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/different-fats-nutrition/)
heart.org, fat-not-as-bad-as-you-think-the-body-needs-it (https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-eating/eat-smart/fats/dietary-fats)
Robin Madell and Rachel Nall, RN, BSN, CCRN, fat-not-as-bad-as-you-think-the-body-needs-it (https://www.healthline.com/health/heart-disease/good-fats-vs-bad-fats), August 13, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?
ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?

ไขมันจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย แต่การรับประทานไขมันอิ่มตัวมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านเพิ่ม
ใช้ชีวิตอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง
ใช้ชีวิตอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง

รวมเคล็ดลับการใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ

อ่านเพิ่ม
งานวิจัยบอกว่าเกลือที่มากขึ้นอาจจะดีกว่า
งานวิจัยบอกว่าเกลือที่มากขึ้นอาจจะดีกว่า

เกลือที่มากขึ้นดีต่อสุขภาพหรือไม่?

อ่านเพิ่ม