​ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อมีอาการ "ผิวหนังอักเสบ”

ผิวหนังอักเสบ เกิดได้กับคนทั่วไป สาเหตุ อาการ การรักษาหรือบรรเทาอาการควรทำอย่างไร ?
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อมีอาการ“ผิวหนังอักเสบ

เคยไหม? รู้สึกคันตามร่างกาย ผิวหนังแห้ง แตก เป็นขุย มีผื่นแดงเป็นจ้ำๆ นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจมีอาการ ผิวหนังอักเสบ อยู่ สาเหตุของผิวหนังอักเสบคืออะไร อาการเป็นอย่างไร ต้องดูแลตัวเองเช่นไรเมื่อมีอาการผิวหนังอักเสบ เรามีคำตอบค่ะ

สาเหตุของอาการผิวหนังอักเสบ

ผิวหนังอักเสบยังไม่มีสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ สภาพอากาศ ความร้อนจากร่างกาย การติดเชื้อราหรือแบคทีเรีย หรืออาการแพ้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแพ้อาหาร เช่น ไข่ นม ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์บางประเภท หรือแพ้ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ สบู่ ครีมอาบน้ำ น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือสารเคมีต่างๆ เป็นต้น หากเราหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้ได้ โอกาสที่จะมีอาการผิวหนังอักเสบก็ลดลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของผิวหนังอักเสบ 

ผิวหนังอักเสบมีหลายชนิด ซึ่งจะแสดงอาการแตกต่างกันเล็กน้อย โดยชนิดที่พบหลักๆ มีดังนี้

  • ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) : เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน เช่น กรรมพันธุ์ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายอาจขาดโปรตีนที่ช่วยกักเก็บน้ำบริเวณผิวหนัง ทำให้ผิวหนังแห้ง หรืออาจเกิดจากสิ่งกระตุ้นอื่นๆ เช่น ไรฝุ่น สารเคมี สบู่อาบน้ำ โดยผู้ป่วยมักมีผื่นตามข้อพับ แขน ขา และลำตัว ผิวแห้ง แดง คัน ระคายเคือง
  • เซ็บเดิร์มหรือต่อมไขมันอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) : สาเหตุอาจเกิดจาก กรรมพันธุ์ ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ติดเชื้อรา Pityrosporum ovale หรือ Malassezia furfur นอกจากนี้ความเครียด สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง (ผู้ป่วยมักมีอาการรุนแรงขึ้นในฤดูหนาว) ก็มีผลต่ออาการเช่นกัน อาการของเซ็บเดิร์มคือ ผิวหนังแห้งเป็นแผ่น ตกสะเก็ดและมีอาการแดง หากเป็นที่ศีรษะจะเกิดรังแคเรื้อรัง โดยมักเป็นบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณคิ้ว ด้านข้างของจมูก และด้านหลังหู
  • ผื่นผิวหนังรูปเหรียญบาท (Nummular Eczema) : สาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักเกิดร่วมกับภาวะผิวแห้ง จึงคาดว่าภาวะผื่นผิวหนังอักเสบรูปเหรียญ อาจเกิดจากผิวหนังระคายเคือง จากสารเคมี เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ และสัมผัสกับโลหะบางชนิด เช่น นิกเกิล อาการนี้มักพบในผู้ที่มีผิวแห้ง โดยผิวหนังของผู้ป่วยจะหนาและแดง เป็นลักษณะกลม ๆ คล้ายเหรียญบาท ร่วมกับอาการคัน ผิวเป็นขุยหรือมีสะเก็ดหนอง

วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการ “ผิวหนังอักเสบ”

หากรู้สึกว่าร่างกายเริ่มมีอาการผิวหนังอักเสบ หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นผิวหนังอักเสบ ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำที่มีค่าความเป็นด่างสูง เนื่องจากผิวหนังของผู้ป่วยมักแห้งมาก การใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำทั่วไป ที่มีฤทธิ์ชำระล้างคราบไขมันค่อนข้างสูง จะยิ่งทำให้ผิวแห้งมากขึ้น จึงควรใช้สบู่อ่อนๆ หรือผลิตภัณฑ์ชำระล้างร่างกายที่ออกแบบมาเพื่อผิวบอบบางโดยเฉพาะ จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการเกิดผิวหนังอักเสบได้ส่วนหนึ่ง และควรเช็ดตัวด้วยการซับ ไม่ควรถูแรงๆ เพราะจะยิ่งทำให้ผิวหนังอักเสบรุนแรงขึ้น
  • ควรสวมเสื้อผ้าเนื้อบางเบา เช่น ผ้าฝ้าย เพื่อช่วยระบายความร้อนจากร่างกาย นอกจากนี้ผ้าฝ้ายยังมีผิวสัมผัสที่นุ่มและเรียบ จะช่วยป้องกันการระคายเคืองที่ผิวหนังได้ และควรหลีกเลี่ยงผ้าขนสัตว์ หรือผ้าเนื้อหยาบ เพราะอาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองยิ่งขึ้น
  • ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี อากาศปลอดโปร่ง หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นละออง ควันไอเสีย สเปรย์ เกสรดอกไม้ เพราะอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบ
  • ระวังไม่ให้เป็นหวัดหรือโรคติดเชื้อทางระบบเดินหายใจอื่นๆ เพราะการติดเชื้อจะทำให้ภูมิต้านทานของผิวหนังต่ำลง ส่งผลให้อาการผิวหนังอักเสบกำเริบรุนแรงได้
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่อ่อนโยน เช่น น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยารีดผ้า เป็นต้น เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวเมื่อสัมผัสกับสารเคมี
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ปลาทะเล ซึ่งอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ที่ช่วยต้านการอักเสบได้ ผัก ผลไม้ ที่มีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เช่น แอปเปิล แครอท เชอร์รี่ เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงผลไม้รสเปรี้ยว นม ถั่ว ไข่ กลูเต็น ธัญพืช เพราะอาจกระตุ้นให้อาการรุนแรงขึ้นได้
  • คงความชุ่มชื้นให้ผิวอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากผู้ที่มีอาการผิวหนังอักเสบส่วนใหญ่มักมีผิวแห้งมากจากชั้นผิวหนังที่ไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นได้ดี จึงควรคงความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วยโลชั่นหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนช่วยลดการสูญเสียความชุ่มชื้นและลดอาการคัน แต่ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน เพื่อผิวแพ้ง่าย เพราะผิวหนังของผู้ที่มีอาการผิวหนังอักเสบค่อนข้างบอบบาง หากใช้ผลิตภัณฑ์ทั่วไปอาจเกิดอาการแพ้ ทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้น

หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการผิวหนังอักเสบคือ Aveeno Dermexa Body Wash ครีมอาบน้ำที่ผ่านการทดสอบทางคลินิคแล้วว่า ไม่ทำให้ผิวแห้ง ช่วยฟื้นบำรุงผิวแห้งมากให้กลับมาชุ่มชื้นได้ และปราศจากน้ำหอม จึงลดการระคายเคืองที่อาจเกิดจากน้ำหอม โดยควรใช้ควบคู่กับ Aveeno Dermexa Emollient Cream ครีมบำรุงผิว เหมาะกับผู้ที่มีผิวแห้งมากและมีแนวโน้มแพ้ง่าย โดยจะช่วยบรรเทาปัญหาผิวแห้ง ผิวลอกเป็นขุย อาการคันและระคายเคือง และช่วยลดการเกิดรอยแดงได้อีกด้วย ที่สำคัญปราศจากน้ำหอมและสารสเตียรอยด์

Aveeno Dermexa มีส่วนผสมสำคัญคือ ทริปเปิ้ลโอ๊ตคอมเพล็กซ์ ซึ่งประกอบด้วย ผงข้าวโอ๊ตคอลลอยด์ มอบความชุ่มชื้นให้ผิว เซรั่มข้าวโอ๊ต ช่วยลดปัญหาผิวแห้ง และน้ำมันข้าวโอ๊ต ช่วยฟื้นบำรุงผิว และเซราไมด์ ช่วยปกป้องผิว ป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้นของผิว และลดอาการคัน โดยผ่านการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่าได้ผลตั้งแต่วันแรกที่ใช้

ทั้งนี้การใช้ Aveeno Dermexa เป็นประจำจะช่วยลดโอกาสการเกิดผื่นแดงซ้ำได้นานถึง 6 เดือน โดยสถาบันวิจัยจากประเทศกรีซ อิตาลี และโปรตุเกสพบว่าช่วยลดปัญหาผิวแห้ง ผิวลอก รอยแดง และเพิ่มความชุ่มชื้นขึ้นหลังจากใช้เป็นเวลา 12 สัปดาห์ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่แพทย์ผิวหนังในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่แนะนำ โดย Aveeno Dermexa มีจำหน่ายแล้วที่ Boots ทุกสาขา

จากที่กล่าวไปว่า อาการผิวหนังอักเสบส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดไม่แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยหลายประการที่กระตุ้นให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบได้ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กล่าวมานี้ รวมไปถึงการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพผิวให้ชุ่มชื้นแข็งแรง ก็น่าจะช่วยรักษาและป้องกันให้เราห่างไกลจากผิวหนังอักเสบได้ แต่หากยังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีอาการผิวหนังอักเสบจากสาเหตุใด การพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัด คือทางออกที่ดีที่สุด


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rachel Nall, RN, BSN, CCRN, Eczema elimination diet and foods to eat (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320855.php?sr), 8 February 2018.
Chomnapas Wangein, โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (https://bit.ly/2XvuBsm), 12 March 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)