ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ แต่จะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ของสโตรกหรือเส้นเลือดสมองตีบ หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว และโรคไต สิ่งสำคัญคือ เมื่อรู้ว่าเริ่มมีความดันโลหิตสูงต้องรีบป้องกันก่อนหลอดเลือด หัวใจ สมอง หรืออวัยวะส่วนอื่นจะถูกทำลาย แต่มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีความดันโลหิตสูงจะหาสาเหตุไม่พบ
สัญญาณเตือนความดันโลหิตสูง
ดูได้จากระดับความดันโลหิตปกติ คือความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 120 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตตัวล่างไม่เกิน 80 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ ยงโรคหัวใจ 2 เท่า สัญญาณเตือนก็เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจได้อยู่แล้ว โดยเฉพาะในผู้ที่อ้วนและคนที่เป็นเบาหวาน
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ความดันปกติ £ 120/80 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันเริ่มสูง ³ 120/80 – 139/89 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันสูง ³ 140/90 มิลลิเมตรปรอท
ปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง
- อายุ ความเสี่ยงสูงตามอายุ หลอดเลือดลดความยืดหยุ่นเมื่ออายุมากขึ้น มักเกิดในผู้ชายช่วงอายุ 35-55 และในผู้หญิงหมดประจำเดือน
- ประวัติครอบครัว มีพ่อแม่หรือญาติสายตรงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- มียีนที่เพิ่มความเสี่ยงความดันโลหิตสูง
- อ้วน
- ชีวิตที่ขาดการเคลื่อนไหวและไม่ออกกำลังกาย
- กินเค็มมากหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง โซเดียมเป็นส่วนประกอบของเกลือถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ร่างกายแต่ละคนมีความไวต่อโซเดียมไม่เท่ากัน หากคนที่มีความไวต่อโซเดียมหรือผู้ที่มียีนชนิดที่ไวต่อความเค็มกินเค็มหรือโซเดียมมากอาจจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มมากเกินไปควรเป็นประจำเพิ่มความดันโลหิต
- ความเครียด
- บุหรี่
ยีนเร่งความดันโลหิตสูง
เกลือที่มีอยู่ในร่างกายจะเกี่ยวข้องกับระบบควบคุมความดันโลหิตจึงเป็นตัวที่ถูกเพ่งเล็งทำให้เกิดความดันโลหิตสูง การจำกัดเกลือหรือความเค็มในอาหารไม่ได้ลดความดันโลหิตได้สำหรับทุกคน เพราะขึ้นอยู่กับยีนของคนคนนั้น ถ้าคนที่มียีนที่ไวต่อความเค็ม ความดันโลหิตจะสูงขึ้นเมื่อกินเค็มมาก เมื่อลดการกินเค็ม ความดันก็จะลดลง ในทางตรงข้าม คนที่ไม่มียีนดังกล่าว แม้จะกินเค็มมากก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความดันโลหิตมากนัก
มียีนหลายชนิดเกี่ยวข้องกับความไวของเกลือ ตัวที่สำคัญคือ ยีนที่มีโค้ดแองจิโอเทนซิโนเจน (Angiotensinogen เรียกย่อว่า AGT) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยสร้างสารแองจิโอเทนซินทู (Angiotensin II) ซึ่งทำให้หลอดเลือดเล็กหดตัว มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น คนที่ได้รับมรกกยีนเอจีทีจากทั้งพ่อและแม่มีความเสี่ยงสูงที่สุดต่อการเกิดความดันโลหิตสูง คนกลุ่มนี้ถ้าลดการกินเค็ม ความดันโลหิตจะลดลงเมื่อน้ำหนักตัวลดลง ในทางตรงกันข้าม ถ้าคนทีมียีนชนิดนี้มีส่วนของยีนกลายพันธุ์ไป แม้จะลดการกินเค็ม ความดันโลหิตก็จะไม่ลดลง
ในคนที่ไม่มียีนที่ไวต่อเกลือ การลดน้ำหนักไม่มีผลต่อการลดความดันโลหิตในคนกลุ่มนี้ ฉะนั้นในการควบคุมอาหารเพื่อลดความดันโลหิตจะได้ผลเฉพาะในคนที่มียีนเอจีทีเท่านั้น นอกจากนี้จะต้องดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนด้วย แต่ในคนที่มีความดันโลหิตสูง แต่ไม่มียีนเอจีที คนกลุ่มนี้จะต้องอาศัยยาในการช่วยลดความดันโลหิต
วิธีป้องกันความดันโลหิตสูง
ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ต่อไปนี้
- ดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ถ้าอ้วน สิ่งแรกที่จะต้องปรับเปลี่ยนก่อน คือการลดน้ำหนัก เพราะ ทุกๆ 1 กิโลกรัมของน้ำหนักที่ลดลงจะลดความดันโลหิตประมาณ 1 มิลลิเมตรปรอท
- ออกกำลังกายขนาดกลางสัปดาห์ละ 2.5 ชั่วโมง
- กินอาหารตามแบบแผนอาหารแดช (อ่านรายละเอียดในกินอย่างไร ไม่อ้วน ไม่มีโรค) ซึ่งประกอบไปด้วยไขมันต่ำ อาหารมีไขมันปานกลาง ( 30 เปอร์เซ็นต์ของพลังงาน) โซเดียมต่ำ (< 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน) โดยลดอาหารเค็มจัดอาหารที่กินในชีวิตประจำวันคือธัญพืชไม่ขัดสี บริโภคผักและผลไม้ (8-10 ส่วนต่อวัน) เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วต่างๆ และผลิตภัณฑ์นมพร่องไขมันหรือไขมัน 0% (วันละ 1 แก้ว แก้วละ 240 มิลลิลิตร)
- ถ้าดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ชายวันละไม่เกิน 2 ดริ๊งค์ ผู้หญิงวันละไม่เกิน 1 ดริ๊งค์
- งดสูบบุหรี่
- เรียนรู้วิธีการรับมือกับความเครียด
สัดส่วนของอาหารแดชในระดับ 1,600 และ 2,000 กิโลแคลอรี/วัน
หมวดอาหาร | ปริมาณ(ส่วน) ในระดับ 2,000 กิโลแคลอรี/วัน | ปริมาณ(ส่วน) ในระดับ 1,600 กิโลแคลอรี/วัน | ปริมาณอาหาร 1 ส่วน = ? |
ข้าว ธัญพืช และ ผลิตภัณฑ์ธัญพืช | 6-8 | 6 |
|
4-5 | 4 | ||
ผัก | 4-5 | 3-4 |
|
ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำหรือขาดไขมัน | 2-3 | 2-3 |
|
เนื้อสัตว์ต่างๆ สัตว์ปีก ปลา อาหารทะเล ไข่แดง (ไม่เกิน 4 ฟอง/สัปดาห์) | £ 6 | 3-6 |
|
ถั่วต่างๆ | 4-5 ส่วน/สัปดาห์ | 3 ส่วน/สัปดาห์ |
|
ไขมัน น้ำมันพืช | 2-3 | 2 |
|
ของหวาน (ถ้ากิน) | £ 5 ส่วน/สัปดาห์ | 0 |
|
ที่มา :
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- U.S. Department of Health and Human Services
- National Institutes of Health
- National Heart, Lung, and Blood Institute
อ่านทางนี้
สำหรับผู้ที่ยังไม่มีปัญหาความดันโลหิตควรจำกัดโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน เท่ากับเกลือ 6 กรัม หรือ 1 ช้อนชา
ผู้ที่เริ่มมีปัญหาความดันโลหิตควรจำกัดโซเดียมไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เท่ากับเกลือ 4 กรัม หรือ 2/3 ช้อนชา
ควรเรียนรู้วิธีอ่านฉลากอาหารและนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อเลือกกินเพื่อป้องกันโรค
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!