คำถาม : การกินไข่นั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดจริงหรือไม่?
คำตอบ : อ้างอิงจากข้อมูลที่เรารู้กันในปัจจุบัน การกินไข่ 1 ฟองทุกวันนั้นไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด, เส้นเลือดสมองอุดตัน หรือโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ แต่อย่างใด แต่ถ้าหากคุณเป็นโรคเบาหวานหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ (เช่นสูบบุหรี่หรือเป็นโรคหัวใจอยู่เดิม) คุณอาจจะเลือกรับประทานไข่สัปดาห์ละไม่เกิน 3 ฟอง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ข้อมูลก่อนหน้านี้นั้นกล่าวว่าไข่แดงเป็นอาหารที่มี cholesterol สูงและการที่ร่างกายมีระดับของ cholesterol ชนิดที่ไม่ดีในปริมาณที่สูงนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มี cholesterol สูง
อย่างไรก็ตามงานวิจัยได้ค้นพบว่า cholesterol ส่วนใหญ่ที่พบในร่างกายเรานั้นเกิดจากการสร้างขึ้นเองที่ตับและไม่ได้มาจาก cholesterol ที่เรารับประทานเข้าไป การสร้าง cholesterol ที่ตับนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อมีการรับประทานไขมันอิ่มตัวเข้าไปในร่างกาย แต่ไม่ได้เกิดจากการกินอาหารที่มี cholesterol เข้าไปโดยตรง ไข่ฟองใหญ่ 1 ฟองนั้นมีไขมันอิ่มตัวเพียง 1.5 กรัม และมันยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์อีกมากมายเช่น lutein, zeaxanthin ซึ่งดีต่อสายตา, choline ที่ดีต่อสมองและระบบประสาท และวิตามินอีกหลายชนิด (A, B และ D) การรับประทานไข่เพียงฟองเดียวนั้นก็ทำให้เราได้รับวิตามินเอ 270 หน่วย และ วิตามินดี 41 หน่วยแล้ว และยังให้โปรตีน 6 กรัมกับพลังงานอีก 72 แคลอรี
อย่างไรก็ตามหลักฐานที่ระบุว่าการรับประทานไข่วันละฟองนั้นปลอดภัยในคนส่วนใหญ่มาจากงานวิจัยขนาดใหญ่ที่ติดตามผู้เข้าร่วมงานวิจัย และไม่พบว่าผู้ที่รับประทานไข่วันละฟองนั้นมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด, เส้นเลือดสมองอุดตันหรือโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
แน่นอนว่าปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวนั้นขึ้นกับสิ่งที่คุณรับประทานพร้อมกับไข่ด้วยเช่นกัน การรับประทานอาหารที่ไม่ไขมันอิ่มตัวเช่นเนย ชีส เบคอน ไส้กรอก มัฟฟิน หรือสโคนนั้นสามารถเพิ่ม cholesterol ในเลือดได้มากกว่าการรับประทาน cholesterol จากไข่ และการรับประทานคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดีที่อยู่ในขนมปังขาว, ขนมอบและของทอดต่างๆ นั้นก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ, ภาวะเส้นเลือดสมองอุดตันและโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดได้