หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการอิ่มเร็ว คือความรู้สึกอิ่มหลังจากรับประทานอาหารไปเพียงไม่กี่คำ บางคนอาจรู้สึกคลื่นไส้และอยากอาเจียน จนทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง อาการนี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมีปัจจัยการเกิดหลายประการ เช่น อายุ น้ำหนัก สิ่งที่พึ่งรับประทานเข้าไป และจำนวนมื้อที่รับประทานต่อวัน
อาการอิ่มเร็วอาจไม่ได้มีอะไรน่าเป็นห่วง หากไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย แต่หากประสบอาการนี้เรื่อย ๆ อาจทำให้ขาดสารอาหาร หิวกระหาย และทำให้การสมานตัวของบาดแผลไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังอาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพร้ายแรงต่างๆ ตั้งแต่แผลบนเยื่อบุ โรคเบาหวาน ไปจนถึงโรคมะเร็ง
สาเหตุของอาการอิ่มเร็ว
อาการอิ่มเร็ว อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ภาวะกล้ามเนื้อกระเพาะทำงานน้อยลง (Gastroparesis) ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอาหารตกค้างในกระเพาะนานกว่าที่ควรเป็น ส่วนมากเป็นผลจากโรคเบาหวาน (Diabetes) ที่สร้างความเสียหายกับเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร แต่บางครั้งอาจพบสาเหตุของภาวะนี้จาก
- โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)
- โรคอะโนเร็กเซีย (Anorexia)
- โรคบูลิเมีย (Bulimia)
- การผ่าตัดลำไส้
- มะเร็ง (Cancer) อาการอิ่มเร็วมักเป็นผลข้างเคียงจากโรคและการรักษามะเร็ง อาการร่วมที่สังเกตได้ชัด คือน้ำหนักลด อะโนเร็กเซีย และการรับรสเปลี่ยนไป
- กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome (IBS)) โรคนี้เป็นภาวะผิดปกติที่ส่งผลต่อลำไส้ใหญ่ และทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดท้อง ท้องอืด ท้องร่วง ท้องผูก
- สาเหตุอื่นๆ หากพบอาการอิ่มเร็วร่วมกับอาการอาเจียน อาหารไม่ย่อย อุจจาระมีสีดำ เจ็บหน้าอก กลืนลำบาก หายใจลำบาก น้ำหนักเพิ่มหรือลด อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
- แผลในกระเพาะอาหาร
- โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease (GERD))
- โรคทางออกกระเพาะอาหารอุดตัน (Gastric Outlet Obstruction)
- ท้องผูก
- ท้องมาน (Ascites)
- ตับโต
อิ่มเร็วแบบไหนที่อันตราย
หากมีอาการอิ่มเร็วหลังรับประทานอาหารบ่อยครั้ง และเกิดร่วมกับอาการต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- อาเจียนทั้งมีและไม่มีเลือดปน
- อุจาระสีดำเข้มคล้ายก้อนถ่าน
- ปวดช่องท้อง
- หนาวสั่นหรือมีไข้
อิ่มเร็ว คล้ายเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ความจริงต้องไม่นิ่งนอนใจ
อาการอิ่มเร็วมีความคล้ายคลึงกับอาการอื่นๆ เช่น ท้องอืด ปวดท้อง และเบื่ออาหาร แพทย์จึงต้องซักถามประวัติสุขภาพ ตรวจร่างกาย และตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดและวัดน้ำตาลในเลือดเป็นอันดับแรก หากพบอาการอื่นร่วมด้วย แพทย์อาจจัดการทดสอบเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- Upper Gastrointestinal Series (UGI) เพื่อตรวจหาสัญญาณของภาวะกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารทำงานน้อยลงด้วยการเอกซเรย์
- การส่องกล้องกระเพาะอาหารส่วนต้น (Upper Endoscopy) เพื่อตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยการสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไป
- การสแกนอัลตราซาวด์ช่องท้อง เพื่อตรวจอวัยวะต่างๆ ในท้อง
- การตรวจอุจจาระเพื่อหาภาวะเลือดออกในลำไส้
- Gastric Emptying Scintigraphy เพื่อติดตามว่าอาหารออกจากกระเพาะไปยังลำไส้ได้เร็วเพียงไหน
- SmartPill เพื่อดูว่าอาหารแล่นผ่านระบบย่อยได้เร็วเพียงไหน
- การทดสอบ Gastric Emptying Breath เพื่อคำนวณว่ากระเพาะอาหารใช้เวลากำจัดอาหารได้เร็วเพียงใด
อิ่มเร็ว แก้ได้อย่างไรบ้าง?
การรักษาอาการอิ่มเร็วจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยแพทย์อาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติดังต่อไปนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- รับประทานอาหารให้มากขึ้น ด้วยการรับประทานมื้อเล็กลงแต่บ่อยครั้งในแต่ละวัน
- ลดปริมาณใยอาหารและไขมันที่รับประทานเข้าไป เพราะอาจเป็นสิ่งที่ชะลอกระบวนการย่อย
- รับประทานอาหารเหลวให้มากขึ้น
- รับประทานของที่กระตุ้นความอยากอาหาร
- รับประทานยาบรรเทาอาการไม่สบายท้อง เช่น Metoclopramide Antiemetics หรือ Erythromycin
หากอาการอิ่มเร็วที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมาก แพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัดเล็กต่างๆ เช่น
- การกระตุ้นกระเพาะอาหารด้วยไฟฟ้า (Gastric Electrical Stimulation) ที่จะส่งแรงกระตุ้นทางไฟฟ้าไปยังกระเพาะอาหารเพื่อควบคุมอาการคลื่นไส้อาเจียน
- การป้อนอาหารเหลวทางสายยาง จากจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร
- Total Parenteral Nutrition (TPN) กระบวนการที่ใช้สายสวนแทงเข้าไปในหลอดเลือดดำที่หน้าอกเพื่อฉีดสารอาหารเหลวเข้าไป
- Jejunostomy การสอดท่อส่งอาหารข้ามกระเพาะอาหารออกไปด้วยการฉีดสารอาหารเข้าไปในส่วน Jejunum ของลำไส้เล็ก (สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงมาก)
ที่มาของข้อมูล
Verneda Lights กับ Valencia Higuera, feeling full after eating a small amount (https://www.healthline.com/symptom/early-satiety), 18 สิงหาคม 2016