ยา Flunarizine

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยา Flunarizine

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Flunarizine ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Cebrium, Fludan, Poli-Flunarin, Sibelium, Simoyiam, Sobelin, Vanid, Vertilium, Cedelate, Fabelium, Finelium, Floxin, Flubelin, Flucilium, Flunamed, Flunaric, Flunarium, Flunarizin, BLC, Fluricin, Flurin, Furin, Hexilium, Liberal, Sovelium, Zelium,

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Flunarizine

ฟลูนาริซีน (flunarizine) เป็นยากลุ่มยาขยายหลอดเลือดส่วนปลาย ยาต้านไมเกรน ยาสำหรับรับประทาน ยาเม็ด ประกอบด้วยฟลูนาริซีน ขนาด 5 มิลลิกรัม และยาแคปซูล ประกอบด้วยฟลูนาริซีน ขนาด 5 มิลลิกรัม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Flunarizine

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ฟลูนาริซีนมีฤทธิ์ในการยับยั้งตัวรับ H1 และโซเดียมแชนแนล (sodium channel) ฟลูนาริซีน ยังมีการใช้เป็นยาเสริมฤทธิ์ในการรักษาอาการลมชักในผู้ป่วยที่มีการกลับมาเป็นซ้ำ ในกรณีได้รับยาขนานมาตรฐานแล้ว

ข้อบ่งใช้ของยา Flunarizine

ยาฟลูนาริซีน ชนิดยาเม็ด และแคปซูลรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ ใช้ป้องกันการเกิดไมเกรน ป้องกันการเกิความผิดปกติของหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดส่วนปลาย ป้องกันการวิงเวียนศีรษะ และความผิดปกติในการทรงตัว ขนาดรับประทานในผู้ใหญ่ ขนาด 5-10 มิลลิกรัมต่อวัน รับประทานยาก่อนนอน สามารถรับประทานยาได้ทั้งก่อนหรือหลังอาหาร

ตัวยาอาจก่อให้เกิดอาการง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักร

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Flunarizine

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Flunarizine

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของทางเดินอาหาร หรือทางเดินปัสสาวะ
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีอาการ porphyria ชนิดเฉียบพลัน
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคลมชัก
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคต้อหิน
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Flunarizine

อาจก่อให้เกิดอาการง่วงซึม อาการที่พบได้น้อย ได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดศีรษะ ซึมเศร้า ปวดกระเพาะ ปากแห้ง นอนไม่หลับ น้ำนมไหล กลุ่มอาการ extrapyramidal

ข้อมูลการใช้ยา Flunarizine ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Flunarizine

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Flunarizine Hydrochloride Drug Information, Professional. Drugs.com. (https://www.drugs.com/mmx/flunarizine-hydrochloride.html)
FLUNARIZINE - ORAL CAPSULE, TABLET side effects, medical uses, and drug interactions.. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/flunarizine-oral_capsule_tablet/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม