ยา Clindamycin

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยา Clindamycin

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Clindamycin ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Acnocin, Chinacin-T, Clinda GPO, Clinda-VC, Clindavid, Clinott, Clinott-P, Dacin-F 150/Dacin-F 300, Dalacin/Dalacn C, Klindamycin, Rosil, Rosil Topical Solution, Todacin, Vitara Clinda Gel, Acnegon, Cedelin, Chinacin-T ge,l Clindacne, Clindalin, Clindaman Gel, Clinda-P, Dalacin T, Klinda RX, Klinna


รูปแบบและส่วนประกอบของยา Clindamycin

คลินดาไมซิน (clindamycin) เป็นยากลุ่มยาปฏิชีวนะ ยาสำหรับรับประทาน ยาแคปซูล ประกอบด้วยคลินดาไมซิน ขนาด 150 และ 300 มิลลิกรัม ยาฉีด ประกอบด้วยคลินดาไมซิน ความเข้มข้น 150 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ยาเจล ประกอบด้วยคลินดาไมซิน ความเข้มข้น 1% ยาโลชัน ประกอบด้วยคลินดาไมซิน ความเข้มข้น 1% และยารูปแบบครีม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Clindamycin

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ คลินดาไมซินยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน โดยจับกับไรโบโซม ซับยูนิต 50S แบบผันกลับได้ ทำให้เกิดการยับยั้งกระบวนการ transpeptidation หรือ translocation ของบริเวณที่ถูกจับด้วยตัวยา เป็นผลให้เกิดการชะงักของการเติบโตของเซลล์

ข้อบ่งใช้ของยา Clindamycin

ยาคลินดาไมซิน ชนิดยาแคปซูล สำหรับรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาการติดเชื้อกลุ่ม anaerobe ชนิดรุนแรง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 150-300 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง หรือให้ยาได้มากถึง 450 มิลลิกรัมในกรณีติดเชื้อรุนแรง ขนาดยาสูงสุดต่อ คือ 1800 มิลลิกรัมต่อวัน ขนาดการใช้ยาในเด็ก ขนาด 3-6 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ทุก 6 ชั่วโมง

ยาคลินดาไมซิน ชนิดสำหรับใช้ทาภายนอก มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาสิว ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ความเข้มข้น 1% ทาบางๆบริเวณที่มีการแสดงอาการ วันละสองครั้ง

ยาคลินดาไมซิน ชนิดสำหรับใช้ทาช่องคลอด มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ครีมความเข้มข้น 2% หรือขนาด 100 มิลลิกรัม ก่อนนอน เป็นเวลา 3-7 วัน

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Clindamycin

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Clindamycin

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการแพ้ยานี้ หรือยาลินโคไมซิน (lincomycin)
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติของโรคในระบบทางเดินอาหาร
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อรักษาการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต โรคตับ รุนแรง
  • ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Clindamycin

อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ ท้องเสียจากการติดเชื้อ clostridium difficile (CDAD) agranulocytosis ผลการตรวจตับเพิ่มขึ้น (LFT) ดีซ่าน

ข้อมูลการใช้ยา Clindamycin ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category B คือ ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Clindamycin

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส ไม่เก็บไว้ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cleocin (Clindamycin): Uses, Dosage, Side Effects, Interactions, Warning (https://www.rxlist.com/clindamycin-drug.htm)
What is clindamycin? Uses, dosage, warnings, and side effects. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325326)
Clindamycin: MedlinePlus Drug Information (https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682399.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม