กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease)

ทำความรู้จักเบื้องต้นกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคทางเดินหายใจขั้นร้ายแรงที่เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตสาเหตุหนึ่งของประชากรโลก

ภาพรวม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease:COPD) เป็นกลุ่มของโรคทางเดินหายใจของปอด ที่ทำให้เกิดปัญหากับทางเดินหายใจ และเกิดการอุดตันของทางเดินอากาศ โรค ได้แก่ โรคหอบหืดที่ดื้อต่อการรักษา (Refractory asthma), โรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis)

อาการ

  • หายใจลำบาก
  • หายใจมีเสียงวี้ดคล้ายผิวปาก หรือเป่านกหวีด
  • ไอบ่อย
  • แน่นหน้าอก
  • ออกแรง หรือออกกำลังกายได้ไม่ทน

การวินิจฉัยโรค

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการวินิจฉัยบ่อยที่สุดในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง ดังนี้:

  • คนอายุตั้งแต่ 50 ถึง 74 ปี
  • เคยสูบบุหรี่ ทั้งคนที่ยังสูบอยู่ และเลิกบุหรี่แล้ว
  • คนที่มีประวัติอาการโรคหอบหืดรุนแรง
  • คนที่สัมผัสสารระคายเคืองในอากาศ สารเคมีทางอุตสาหกรรมและควันบุหรี่เป็นเวลานาน
  • คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

แต่เดิม โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในเพศชายที่สูงอายุ แต่รายงานฉบับหนึ่งของสมาคมโรคปอดในอเมริการะบุว่าผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนี้ได้มากกว่าผู้ชายถึงร้อยละ 37 และผู้เสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นเป็นเพศหญิง

แม้ว่าอาการของโรคปอดอุดกั้นอาจไม่รุนแรงเสมอไป แต่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก็เป็นการเจ็บป่วยที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงตายได้ การวินิจฉัยและการรักษาในระยะเริ่มแรกของโรค อาจเปลี่ยนแปลงการดำเนินไปของโรค และชะลอโรคไม่ให้พัฒนาไปรุนแรงได้ไวดังเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น โรคหอบหืด ด้วยการประเมินสุขภาพด้านต่างๆ จากทั้งประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกาย และการตรวจทดสอบอื่นๆที่เหมาะสม ถ้าคุณแจ้งแพทย์ว่า คุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ แพทย์ประจำตัวของคุณมักจะทำการทดสอบการหายใจเรียกว่า การทดสอบสมรรถภาพปอด ซึ่งเป็นการตรวจทดสอบที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และบ่งบอกว่าปอดของคุณทำงานได้ดีเพียงใด โดยการวัดปริมาณอากาศที่ปอดสามารถรับได้ และความเร็วในการเคลื่อนเข้าและออกของอากาศจากปอดของคุณ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ของคุณอาจแนะนำการตรวจ CT scan บริเวณทรวงอก และสั่งถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-ray) หลังจากที่วินิจฉัยได้แล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแจ้งแนวทางการรักษา และทางเลือกต่างๆให้กับคุณ และแนะนำเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่อาจช่วยให้คุณอาการดีขึ้น

การดูแลรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

คนที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้ จนกว่าโรคของพวกเขาจะอยู่ในระดับ "ปานกลาง" ซึ่งหมายความว่า พวกเขาจะหายใจลำบาก ไอ และมีน้ำมูก เสมหะที่หนักกว่าปกติ การวินิจฉัยผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ในบางกรณีเนื่องจากอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคล้ายคลึงกับโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ เช่น โรคหอบหืด ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) กล่าวว่าในปี พ.ศ. 2554 โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจส่วนล่างซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้น เป็นสาเหตุอันดับที่สามของการเสียชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกา

ในขณะที่ชาวอเมริกันประมาณ 15 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตามสถิติจาก CDC ปี 2011 และสำหรับประเทศไทย อ้างอิงจากคณะทำงานแนวปฎิบัติการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้ประมาณผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังว่ามีถึง 5 เปอร์เซ็นต์ของประชากรอายุ 30 ปี และขึ้นไปถึง 7.1 เปอร์เซ็นต์สำหรับประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยที่สำคัญคือผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นไม่ทราบว่าตนเองมีโรคซ่อนอยู่

การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังไม่ได้มีการรักษาหลักเพียงวิธีเดียวที่เหมาะสมกับทุกคน ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับแผนการรักษาที่ปรับแต่งตามสภาวะเฉพาะโรคของตน การรักษาอาจได้แก่ การใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ การให้ออกซิเจนเสริม และการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตร่วมด้วยเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เช่น การออกกำลังกาย การฝึกเทคนิคการหายใจ และการหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศทั้งที่บ้านและที่ทำงาน สำหรับผู้สูบบุหรี่นั้น ส่วนที่สำคัญที่สุดในการรักษา คือ การเลิกบุหรี่

เนื่องจากโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยเหล่านี้ควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุก ๆ ปี และแนะนำให้วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมร่วมกันด้วย

ที่มา: http://acaai.org/asthma/chroni...


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic respiratory diseases. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/respiratory/copd/en/)
MedlinePlus, Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) (https://medlineplus.gov/ency/article/000091.htm).
NHS, Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) (https://www.nhs.uk/conditions/chronic-obstructive-pulmonary-disease-copd/).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)