คุณทราบหรือไม่ว่า โรคขาไม่อยู่สุข (Restless Legs Syndrome) นั้นมีอยู่จริง? โรคนี้ไม่ใช่แค่คำเรียกเด็กที่ซนอย่างที่เราเคยได้ยินกันมา หากแต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานผิดปกติของระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยต้องทุกข์ทรมานมากจากความเจ็บปวดที่บริเวณขาจนต้องขยับเขยือนขาอยู่ตลอดเวลาโดยไม่ได้หลับไม่ได้นอน อีกทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโรคที่มีลักษณะอาการที่น่ารำคาญมากที่สุดอีกด้วย
ลักษณะอาการ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคขาไม่อยู่สุขจะรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวและรู้สึกอึดอัดมากทั่วบริเวณขา มีอาการคันยิบๆใต้ผิวหนังที่ขา รวมถึงอาการเหน็บชา และรู้สึกคล้ายกับว่ามีอะไรไต่ขา อาการเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญมากที่จะต้องขยับขาและเท้าอยู่ตลอดเวลาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ความรุนแรงของอาการจะแย่มากที่สุดเมื่อผู้ป่วยอยู่เฉยๆ เช่น ในขณะที่นั่งอยู่กับที่หรือในเวลานอนหลับ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผู้ป่วยแต่ละคนจะประสบกับความถี่และความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกันออกไป บางคนก็เป็นๆหายๆ แต่บางคนก็ต้องทุกข์ทรมานอยู่แทบจะทุกวินาที ส่วนความรุนแรงของอาการก็มีตั้งแต่ในระดับอ่อนๆ ไปจนถึงระดับที่รุนแรงมากจนกลายเป็นสิ่งที่รบกวนเวลานอนของผู้ป่วยและทำให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันเป็นไปด้วยความยากลำบาก
สาเหตุของโรค
ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของโรคขาไม่อยู่สุขได้ แต่ว่าได้มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ เพราะเกือบครึ่งของผู้ที่ป่วยเป็นโรคขาไม่อยู่สุขยืนยันว่าสมาชิกคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคนี้เช่นกัน
สาเหตุอื่นๆที่เกี่ยวข้อง :
การเป็นโรคหรือปัญหาสุภาพเรื้อรัง เช่น การขาดธาตุเหล็ก โรคพาร์กินสัน โรคไตวาย โรคเบาหวาน และโรคปลายประสาทอักเสบ โรคเหล่านี้มักมีอาการของโรคขาไม่อยู่สุขแทรกซ้อนอยู่ และวิธีการบำบัดโรคเหล่านี้ก็มักใช้บรรเทาอาการของโรคขาไม่อยู่สุขได้เช่นกัน
การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาแก้คลื่นไส้จากการเดินทางโดยพาหนะชนิดใดชนิดหนึ่ง ยารักษาโรคจิต ยาแก้โรคซึมเศร้า และยาแก้แพ้ ยากลุ่มนี้สามารถทำให้อาการโรคขาไม่อยู่สุขแย่ลงได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การตั้งครรภ์ สตรีมีครรภ์ที่อยู่ในระหว่างช่วง 3 เดือนสุดท้ายใกล้คลอดมักมีอาการของโรคขาไม่อยู่สุขเช่นกัน แต่ไม่ได้ร้ายแรงมาก มักเป็นๆหายๆ และอาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 1 เดือนหลังการคลอดบุตร
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้อาการแย่ลงได้ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ และการอดหลับอดนอน การปรับปรุงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเหล่านี้สามารถป้องกันการเป็นโรคขาไม่อยู่สุขในขั้นที่รุนแรงกว่าเดิมได้
การรักษาและบำบัด
การรักษาโรคขาไม่อยู่สุขให้หายขาดไปเลยนั้นเป็นไปได้ยาก แต่อาการของโรคนี้สามารถผ่อนเบาลงได้ทั้งจากการบำบัดโดยวิธีทางการแพทย์และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน
การบำบัดทางการแพทย์
ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับลักษณะอาการของโรคที่ตนเองประสบอยู่ เพราะอย่างที่กล่าวไว้ว่าโรคนี้มีอาการที่แตกต่างกันออกไปในผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคนี้อาจใช้ได้ผลกับแค่ผู้ป่วยบางคนเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้ได้ผลแค่ในระยะแรกและเกิดเป็นอาการดื้อยาได้ ผู้ป่วยจึงควรได้รับการวินิจฉัยเป็นรายๆไป นอกจากนี้ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชิวิตประจำวันร่วมด้วยเพื่อช่วยในการบรรเทาอาการของโรค
การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อใช้บำบัดโรคขาไม่อยู่สุขนี้ คือ
- การทำกายภาพบำบัด เช่น การนวดกล้ามเนื้อขาเป็นประจำ และการใช้แผ่นกระตุ้นกล้ามเนื้อโดยใช้แรงสั่นสะเทือน
- การออกกำลังกาย
- การอาบน้ำอุ่นหรือการประคบร้อนที่ขา
- การวางแผนการนอนหลับให้เป็นไปในช่วงเวลาที่อาการกำเริบน้อยที่สุด
- การงดหรือลดปริมาณคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่