ธนาคารเลือดจากรก (Cord blood banking): การตัดสินใจเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ธนาคารเลือดจากรก (Cord blood banking): การตัดสินใจเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน

สายสะดือ หรือสายรกเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นหลังจากการคลอดทารก แต่ยังมีประโยชน์สำหรับวงการการแพทย์และใช้รักษาโรคร้ายแรงสำหรับคนหลายคน และแม้แต่คนในครอบครัวคุณเองได้

หลังคลอดลูกน้อยของคุณ ทารกไม่จำเป็นต้องใช้สายสะดือหรือรกอีกต่อไปแล้ว แต่เลือดที่ยังเหลือในสายรกนั้น อาจช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ต้องการได้อีกมากมาย รวมถึงสมาชิกในครอบครัวของคุณด้วย นั่นเป็นเพราะเลือดในรกนี้อุดมไปด้วยเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือด หรือที่เราคุ้นชื่อกันว่า สเตมเซลล์ เช่นเดียวกับการปลูกถ่ายไขกระดูก เซลล์เหล่านี้สามารถนำไปปลูกถ่ายและช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคที่คุกคามชีวิตได้อีกหลายโรค

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณควรพิจารณาบริจาคเลือดจากสายสะดือของทารกไปยังธนาคารเลือดของรัฐหรือไม่? หรือคุณควรจะฝากสายสะดือนี้ไว้ส่วนบุคคลเพื่อใช้ในครอบครัวของคุณเองหรือเปล่า? นี่คือข้อมูลที่อาจช่วยคุณในการตัดสินใจ

สิ่งที่คุณควรทราบเกี่ยวกับบริจาคให้กับธนาคารเลือดจากรกของรัฐ

ในปัจจุบันมีการเก็บเลือดจากรกบริจาคที่ธนาคารเลือดจากรก ซึ่งเป็นความร่วมมือกันของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 หากคุณบริจาคให้กับธนาคารเลือดจากรกสาธารณะนี้ คุณจะไม่สามารถเก็บเลือดจากรกนั้นไว้สำหรับครอบครัวของคุณได้ ดังนั้น อาจไม่สามารถนำเลือดเหล่านั้นมาใช้งานเองได้ในอนาคต องค์กรกุมารแพทย์ และสมาคมอายุรแพทย์ได้ แนะนำให้บริจาคเลือดจากสายสะดือให้กับธนาคารเลือดจากรก โดยมีเหตุผลดังนี้:

  • บริการธนาคารเลือดจากรกสาธารณะฟรีค่าใช้จ่าย
  • ธนาคารเลือดจากรกสามารถทำให้เซลล์ต้นกำเนิด หรือสเตมเซลล์ ให้บริการได้กับทุกคนที่ต้องการ
  • การบริจาคโลหิตจากประชาชนจะเพิ่มจำนวนและความหลากหลายของหน่วยเลือดจากสายสะดือที่มีอยู่สำหรับผู้ป่วยในอนาคต การบริจาคอย่างแพร่หลาย โดยกลุ่มคนต่างๆกัน จะขยายกลุ่มเลือดจากสายสะดือในระบบองค์รวมสาธารณะ และช่วยให้การพัฒนา รักษา สามารถค้นหาเลือดที่ตรงกันได้ง่ายขึ้น:

หากคุณเลือกที่จะบริจาคเลือดจากสายสะดือเพื่อใช้ในองค์กรสาธารณะ คุณควรทราบว่าเลือดนั้นจะได้รับการทดสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมและโรคติดเชื้อ และหากพบว่าสิ่งผิดปกติใดๆ ในเลือดนั้น จะมีเจ้าหน้าที่แจ้งให้คุณทราบ

สิ่งที่คุณควรทราบเกี่ยวกับธนาคารเลือดจากรกส่วนบุคคล

ในปัจจุบันมีธนาคารเลือดภาคเอกชนที่ให้บริการเก็บรักษาเลือด และเลือดจากรก โดยคิดค่าใช้จ่ายและมีวิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม วิทยาลัยสูตินรีแพทย์อเมริกันและนรีแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (ACOG) พร้อมกับ องค์กรกุมารแพทย์ และสมาคมอายุรแพทย์เตือนผู้ปกครองในเรื่องธนาคารเลือดจากสายเลือดภาคเอกชน ไม่แนะนำให้เก็บเป็น ส่วนบุคคล เนื่องจาก:

  • ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและเก็บรักษาที่ธนาคารเลือดจากรกส่วนบุคคลมีค่าสูง
  • อาจมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพอื่น ๆ ที่มีราคาไม่แพง เทียบกับการรักษาด้วยสเตมเซลล์
  • โอกาสที่เลือดจากสายสะดือของคุณจะถูกใช้โดยเด็กนั้นมีโอกาสน้อยมากเกือบเหยียบศูนย์
  • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เลือดจากสายสะดือของตัวเอง (หรือ autologous transplant) ไม่สามารถใช้สำหรับความผิดปกติทางพันธุกรรมหลายอย่าง เช่น โรคโลหิตจากชนิดเม็ดเลือดแดงรูปเคียว และโรคธาลัสซีเมีย เนื่องจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้มีอยู่ในเลือดจากสายสะดือของทารกอยู่แล้ว ส่วนโรคอื่น ๆ ที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดได้ เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว อาจมีเซลล์มะเร็งซ่อนอยู่แล้วในเลือดจากสายสะดือนั้น จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้

เนื่องจากข้อจำกัดเหล่านี้ และมีโอกาสค่อนข้างต่ำในการเกิดโรคที่สามารถรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด จึงมีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดให้กับตนเองในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียง 400 ครั้งในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา และน้อยกว่านั้นมากในประเทศไทย เทียบกับปริมาณผู้บริจาคเลือดจากรกที่เลือดไม่เข้ากันมากกว่า 60,000 รายทั่วโลก

โดยสรุป องค์กรกุมารแพทย์ และสมาคมอายุรแพทย์ได้เสนอว่าการเก็บเลือดจากสายสะดือเป็นรูปแบบของ "การประกันชีวิตทางชีววิทยา" เนื่องจากผลประโยชน์นั้นไกลเกินไป และประเมินได้ยากมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีสถานการณ์ที่ธนาคารเลือดจากรกส่วนบุคคลอาจมีความจำเป็นหรือไม่?

พ่อแม่บางคนเลือกที่จะเก็บเลือดจากรกของเด็กไว้ หากไม่ทราบประวัติทางการแพทย์ของตัวพ่อหรือแม่เอง ตัวอย่างเช่น หากตัวพ่อหรือตัวแม่เองเป็นบุตรบุญธรรม ถูกรับเลี้ยงมาก่อนไม่สามารถสืบประวัติสายเลือดตนเองขึ้นไปได้ หรือเด็กเกิดกับผู้บริจาคอสุจิหรือไข่ เช่นกรณีอุ้มบุญ

องค์กรกุมารแพทย์ได้แนะนำให้เก็บเลือดจากรกส่วนบุคคลได้ หากทารกนั้นมีพี่น้องพ่อแม่เดียวกันที่มีอาการผิดปกติ หรือโรคทางพันธุกรรมที่รักษาได้ด้วยการปลูกถ่ายสเตมเซลล์ เงื่อนไขเหล่านี้ได้แก่:

  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลิวคีเมีย (Leukemia)
  • โรคบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น การขาดภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง (severe combined immune deficiency : SCID)
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (ทั้งรูปแบบ Hodgkin และ non-Hodgkin's)
  • โรคโลหิตจางชนิด Aplastic anemia
  • โรคโลหิตจางชนิดชนิดเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือ Sickle cell anemia
  • โรค Krabbe's disease
  • โรคธาลัสซีเมีย
  • โรคหายากอื่น ๆ

แม้กระนั้น พี่ชายหรือน้องสาวแท้ๆก็มีโอกาสเพียง 25% เท่านั้นในการจับคู่พันธุกรรมที่ลงตัวกับเลือดของทารกนั้น ดังนั้น พี่น้องอาจต้องมีการปลูกเซลล์ต้นกำเนิดหรือไขกระดูกจากผู้บริจาคที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือดตนเองอีกก็เป็นได้

สมาคมอายุรแพทย์ยังแนะนำให้พิจารณาการธนาคารเลือดจากรกส่วนบุคคล หากมีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับภาวะผิดปกติ โรคมะเร็ง หรือโรคทางพันธุกรรมที่อาจได้รับประโยชน์จากเซลล์ต้นกำเนิดจากสายสะดือได้ อย่างไรก็ตาม โปรดจำไว้ว่าเพื่อหาคู่พันธุกรรมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถ่ายเซลล์ทุกชนิดนั้นมีโอกาส 70% ที่ต้องได้รับจากคนนอกสายเลือด หรือนอกครอบครัว

สิ่งที่กำลังพัฒนาในอนาคต

ไม่มีใครทราบว่าเซลล์ต้นกำเนิดเหล่านี้จะถูกนำมาใช้อย่างไรในอนาคต แต่นักวิจัยหวังว่า มันอาจถูกใช้เพื่อรักษาสภาวะที่ยังไม่สามารถรักษาได้หายขาดในปัจจุบันนั่นคือโรคต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เบาหวาน ความผิดปกติของหัวใจ ความเสียหายเกี่ยวกับไขสันหลัง โรคมะเร็ง และโรคหายากโรคอื่น ๆ

อาจเป็นไปได้ว่า การจัดเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากรกของลูกน้อยของคุณ จะเป็นประโยชน์ในวันหนึ่งในการต่อสู้กับโรคเหล่านี้ สำหรับตอนนี้ การรักษาเหล่านี้ยังเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น นอกจากนี้ ยังไม่มีการวิจัยหรือรับรองชัดเจนได้ว่าเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดจากสายสะดือนั้นต่างจากเซลล์ต้นกำเนิดจากแหล่งอื่น ๆ ในเรื่องประโยชน์ในการรักษาที่มีศักยภาพหรือไม่อย่างไรอีกด้วย

https://www.webmd.com/baby/guide/cord-blood-banking-deciding-public-private-donations#1


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Umbilical cord blood banking: an update. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3170109/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป