โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ลิ่มเลือดอุดตัน หลอดเลือดโป่งพอง และรวมถึงทำให้เกิดโรคไตได้ ซึ่งทุกโรคล้วนเป็นภาวะร้ายแรงที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีอาการทั้งสิ้น
หากเป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้หลายชนิด
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตัวอย่างเช่น:
- โรคหลอดเลือดสมอง (stroke): คือภาวะร้ายแรง ที่เลือดไปเลี้ยงสมองถูกขัดขวาง ทำให้สมองมีภาวะขาดเลือด
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack): คือภาวะร้ายแรง ที่เลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของหัวใจถูกผิดกั้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
- ลิ่มเลือดอุดตัน (thrombosis): เป็นภาวะร้ายแรงที่มีลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด
- หลอดเลือดโป่งพอง (aneurysm): เป็นภาวะร้ายแรงที่ผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรง มีการโป่งพองของหลอดเลือดเกิดขึ้น
โรคไต
ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดเลือดขนาดเล็กที่อยู่ภายในไตเสียหายได้ ทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
เหตุการณ์นี้จะทำให้เกิดอาการตามมาหลายอาการ ได้แก่:
- อ่อนเพลีย
- ข้อเท้าบวม, เท้าบวม หรือ มือบวม (เนื่องจากมีการคั่งของน้ำ)
- หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
- พบเลือด และ/หรือ โปรตีนในปัสสาวะ
- ปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะตอนกลางคืน (nocturia)
- คันผิวหนัง
โรคไตสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาร่วมกับอาหารเสริม แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องทำการฟอกเลือด (dialysis) ซึ่งเป็นกระบวนการกำจัดของเสียโดยเครื่องไตเทียม หรือทำการปลูกถ่ายไต
การป้องกัน
ในการป้องกันตนเองไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีหลากหลายวิธี ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน รวมถึงการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้มีความดันโลหิตสูงและป้องกันความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ:
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางเท่านั้น
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในระดับปานกลางเท่านั้น
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
แนะนำให้รับประทานอาหารไขมันต่ำ และมีใยอาหารสูง เช่น ผลไม้และผัก (5 ส่วนของอาหารต่อวัน) และธัญพืชไม่ขัดสี
จำกัดการบริโภคเกลือไม่ให้เกิน 6 กรัม ต่อวัน การรับประทานเกลือมากเกินไปจะส่งผลเพิ่มความดันโลหิตได้ (เกลือ 6 กรัม คือประมาณ 1 ช้อนชา)
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เพราะจะเพิ่มปริมาณไขมันคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น:
- พายเนื้อสัตว์
- เนย
- น้ำมันเนย (ghee, คือเนยชนิดหนึ่งที่มักใช้ทำอาหารอินเดีย)
- น้ำมันหมู
- ครีม
- ชีสแข็ง
- เค้กและขนมปังกรอบ
- อาหารที่ประกอบด้วยน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารอาหารบางชนิดที่ประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้จริง
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อาหารที่ประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น:
ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานคือปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และความเสี่ยงจะมากขึ้นถ้ามีภาวะอ้วน
วิธีในการตรวจสอบว่าคุณมีภาวะน้ำหนักเกินหรือไม่ มีอยู่ 2 วิธี:
- การวัดดัชนีมวลกาย (BMI): คำนวณจากน้ำหนักในหน่วยกิโลกรัมเป็นตัวตั้ง และหารด้วย ส่วนสูงในหน่วยเมตรยกกำลังสอง สำหรับคนไทยดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23.0-24.9 เรียกว่ามีน้ำหนักเกิน, 25.0-29.9 เรียกว่าเป็นโรคอ้วน และถ้าตั้งแต่ 30 ขึ้นไป เรียกว่าโรคอ้วนอันตราย
- รอบเอว: ใช้สายวัดวางไว้บนรอบเอว ตรงระดับสะดือพอดี ผู้ชายต้องมีเส้นรอบเอวน้อยกว่า 90 เซนติเมตร และผู้หญิงต้องน้อยกว่า 80 เซนติเมตร หากเส้นรอบเอวใหญ่เกินกว่าค่าดังกล่าว จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น
วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมไม่ให้ร่างกายอ้วน คือการลดปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการรับประทาน และให้ออกกำลังกายเป็นประจำ แพทย์ที่ดูแลคุณสามารถให้ความรู้และให้คำแนะนำเพิ่มเติมกับคุณได้
การออกกำลังกาย
ระหว่างการออกกำลังกายจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นชั่วขณะ แต่การออกกำลังกายเป็นประจำในระดับที่เหมาะสมจะช่วยลดความดันโลหิตและช่วยรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้
ข้อมูลด้านล่างนี้คือคำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับระดับความดันโลหิตและการออกกำลังกาย:
- ต่ำกว่า 90/60: คุณอาจมีภาวะความดันโลหิตต่ำ ก่อนเริ่มการออกกำลังกายใหม่ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด ให้ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลก่อนเสมอ
- 90/60 ถึง 140/90: สามารถออกกำลังกายได้ ซึ่งจะช่วยให้ความดันโลหิตอยู่ในช่วงที่เหมาะสมอย่างที่ควรจะเป็น
- 140/90 ถึง 179/99: มีความปลอดภัยในการค่อยๆ เพิ่มกิจกรรมการออกกำลังกาย เพื่อช่วยลดความดันโลหิต
- 180/100 ถึง 199/109: ให้ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลก่อนเริ่มการออกกำลังกายใหม่ชนิดใดๆ
- 200/110 หรือสูงกว่านี้: อย่าเริ่มการออกกำลังกาย ให้ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาล
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะเพิ่มความดันโลหิตและเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้
การจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มอย่างเข้มงวดคือวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงของการมีระดับความดันโลหิตสูง
ขีดจำกัดของปริมาณแอลกอฮอล์ที่แนะนำให้ดื่มต่อวันคือ:
- 3-4 หน่วยของแอลกอฮอล์สำหรับผู้ชาย
- 2-3 หน่วยของแอลกอฮอล์สำหรับผู้หญิง
1 หน่วยแอลกอฮอล์ เทียบประมาณได้กับ ครึ่งไพน์ของเบียร์ความแรงมาตรฐาน, ไวน์แก้วเล็ก
ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในระดับปานกลาง
มีความสำคัญที่จะต้องจำกัดปริมาณการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม
ความดันโลหิตของคุณอาจเพิ่มขึ้นได้ หากดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 4 ถ้วย
หยุดสูบบุหรี่
ถ้าคุณสูบบุหรี่ มีวิธีในการสนับสนุนให้เลิกบุหรี่มากมาย เช่น โทรสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600