กาแฟช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อมได้จริงหรือ?

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กาแฟช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อมได้จริงหรือ?

กาแฟอาจเป็นเครื่องดื่มที่หลายคนเลือกบริโภคในตอนเช้าเพื่อให้เริ่มเช้าวันใหม่ด้วยพลังที่เต็มเปี่ยม หรือดื่มในระหว่างการประชุมที่แสนน่าเบื่อ ทั้งนี้สารคาเฟอีนในกาแฟทำให้เราตื่นตัวได้แบบฉับพลัน แต่นอกจากกาแฟมีฤทธิ์กระตุ้นชั่วคราวแล้ว มีนักวิจัยกำลังพยายามศึกษาฤทธิ์ของคาเฟอีนที่มีต่อสมองในระยะยาวอีกด้วย ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า คนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ในภายหลังลดลง

กาแฟช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อม

มีการค้นพบว่า ผู้เข้าร่วมทดลองที่ไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อมในภายหลัง มีคาเฟอีนในร่างกายเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่เป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งนักวิจัยสรุปว่า การทานคาเฟอีนอาจช่วยหยุดยั้งความผิดปกติของสมองในระดับที่เล็กน้อยไปจนถึงคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีภาวะดังกล่าวอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี คนที่มีภาวะที่ว่าจะมีปัญหากับความจำและความคิด หรือมีความสามารถในการเรียนรู้เกินกว่าอายุของตัวเอง นอกจากนี้งานวิจัยยังพบด้วยว่า คนที่ดื่มกาแฟ 3-5 แก้วทุกวันในช่วงวัยกลางคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมลดลง 65% ในภายหลัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คาเฟอีนทำงานอย่างไร

โรคสมองเสื่อม และการขาดออกซิเจน ล้วนแต่ทำให้สมองอยู่ในสภาพที่ตึงเครียด และสุดท้ายก็จะทำให้เซลล์ประสาทเสียหาย ซึ่งคาเฟอีนไปรบกวนกลไกดังกล่าวโดยหยุดตัวรับในสมองไม่ให้รับรู้ถึงการขาดออกซิเจน ทำให้ช่วยป้องกันการเสียหายของเนื้อเยื่อ

ดื่มกาแฟเท่าไรถึงจะเหมาะสม

FDA ระบุว่า การทานคาเฟอีนวันละ 400 มิลลิกรัม นับว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี หากให้เทียบก็คงเท่ากับกาแฟประมาณ 4-5 แก้วต่อวัน

ข้อเสียของการทานคาเฟอีน

แม้ว่าการดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้วเป็นสิ่งที่ยอมรับได้สำหรับคนส่วนมาก แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงกาแฟ สำหรับสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้มีดังนี้

1.ภาวะแท้ง

ในบางครั้งคาเฟอีนสามารถเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะแท้งในผู้หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์มักเตือนไม่ให้ดื่มกาแฟเกินวันละ 1 แก้วในระหว่างตั้งครรภ์ ทั้งนี้มีงานวิจัยที่ทำกับผู้หญิงที่แท้งตามธรรมชาติ 330 คนพบว่า การทานคาเฟอีนมากกว่า 375 มิลลิกรัมต่อวันในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ผู้หญิงเสี่ยงต่อการแท้งตามธรรมชาติเพิ่มขึ้น

2.โรคหัวใจ

สารแอนตี้ออกซิเด้นท์ในคาเฟอีนอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ แต่การทานมากเกินไปก็อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น หากคุณมีพันธุกรรมหรือไลฟ์สไตล์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว คุณก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ

3.โรควิตกกังวล

คนที่ป่วยเป็นโรควิตกกังวลมักพบว่าคาเฟอีนทำให้อาการวิตกกังวลแย่ลง การทานคาเฟอีนมากหรือบ่อยเกินไปสามารถทำให้คุณมีอาการมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณมีสุขภาพดี แต่การดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 5 แก้ว สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ใจสั่น กระวนกระวาย อาหารไม่ย่อย ฯลฯ

วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อมโดยไม่พึ่งคาเฟอีน

หากคุณไม่สามารถดื่มกาแฟ มันก็ยังมีวิธีธรรมชาติอื่นๆ ที่ช่วยรับมือกับโรคสมองเสื่อม ซึ่งสมุนไพรที่ช่วยได้ เช่น เลมอนบาล์ม โรสแมรี โสมอินเดีย พรมมิ แปะก๊วย ฯลฯ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากาแฟมีส่วนช่วยให้สมองเฉียบแหลม และป้องกันโรคสมองเสื่อม แต่สิ่งสำคัญคือการจำกัดการดื่มให้อยู่ในระดับปานกลาง

ที่มา: https://www.curejoy.com/conten...


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Claims that coffee prevents dementia are lukewarm at best. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/neurology/claims-that-coffee-prevents-dementia-are-lukewarm-at-best/)
Does Caffeine Improve Your Memory?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/does-caffeine-improve-your-memory-98416)
Caffeine as a protective factor in dementia and Alzheimer's disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20182054)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)