เช่นเดียวกันกับการวินิจฉัยโรคอื่นๆ โรคตับแข็งจะถูกวินิจฉัยจากประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเฉพาะอย่างรวมกันซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกับอวัยวะอื่นอยู่พอสมควร
จากการซักประวัติทางการแพทย์ การตรวจอาการปัจจุบันของคุณ หรือจากผลการตรวจร่างกายรวมกัน ส่งผลให้คุณถูกวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคตับแข็ง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- แพทย์จะคาดว่าคุณเป็นโรคตับแข็ง หากคุณเคยดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา หรือยังคงทำเช่นนั้นในปัจจุบัน
- โรคตับอักเสบเรื้อรัง เลือดออกที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ ภาวะดีซ่านตัวเหลืองตาเหลือง น้ำคั่งในช่องท้อง (ของเหลวถูกสร้างขึ้นและสะสมในช่องท้องของคุณ) หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้การวินิจฉัย โรคตับแข็ง แน่ชัดมากขึ้น
- แต่ในบางกรณี แพทย์อาจไม่สามารถวินิจฉัยชี้ชัดว่าเป็นโรคตับแข็งนี้ได้ จนกว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น
ขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อวินิจฉัยโรคตับแข็ง คุณอาจต้องได้ตรวจสิ่งดังต่อไปนี้:
- การตรวจเลือด - เพื่อตรวจดูว่าตับทำงานได้ตามปกติหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในบางราย ผลจากห้องปฏิบัติการอาจออกมาเป็นค่าปกติ แม้จะโรคตับแข็งซ่อนอยู่ก็ตาม
- อัลตราซาวด์ หรือการเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ - เพื่อหาสัญญาณของโรคตับแข็งภายในหรือบนพื้นผิวของตับ
- เจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ (Liver biopsy) - เป็นการตัดเนื้อเยื่อชิ้นเล็ก ๆ ออกจากตับ และศึกษามันภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงเพื่อชี้ให้เห็นการเกิดพังผืด และการเกิดแผลเป็น การตรวจชิ้นเนื้อนี้ถือเป็นวิธีเดียวที่สามารถวินิจฉัยโรคได้แน่นอน 100%
- การส่องกล้องแลปปาโรสโคป (Laparoscope) - เป็นกล้องขนาดเล็กที่แทรกผ่านท่อเล็ก ๆ ในช่องท้องเพื่อเข้าไปดูตับโดยตรง การส่องกล้องอาจจะทำด้วยเหตุผลอื่น และแพทย์ของคุณพบว่าคุณมีโรคตับแข็งโดยบังเอิญก็เป็นได้
หากคุณมีภาวะแทรกซ้อนที่หนักโดยไม่ทราบว่าคุณมีโรคตับแข็ง คุณจะต้องนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน และคุณจะได้รับการตรวจและรับการรักษาสำหรับภาวะแทรกซ้อนเหล่านั้นอย่างเหมาะสม
หากคุณทราบว่าเป็นโรคตับแข็ง แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คุณอาจได้รับการตรวจนัด ในแผนกผู้ป่วยนอก หากคุณมีภาวะดังต่อไปนี้:
- คุณไม่มีอาการหรืออาการแสดงใด ๆ ของการติดเชื้อ
- เลือดของคุณยังคงมีความสามารถในการเกิดลิ่มเลือด และหยุดไหลได้เองหากเกิดแผล
- คุณสามารถย่อยอาหาร และของเหลวได้ตามปกติ
- โดยทั่วไป คุณจะถูกนัดหมายเพื่อติดตามผลกับแพทย์ประจำตัวภายใน 2 วัน
- ในช่วงเวลาระหว่างการเข้าตรวจวินิจฉัย และนัดติดตามผลของคุณ คุณอาจต้องการคนที่เข้าใจถึงภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ และหาทางเลือกการรักษาคร่าวๆ หากคุณรู้สึกสับสนและไม่สามารถดูแลตัวเองได้
คุณควรเข้ารับการตรวจรักษาโรคตับแข็งเมื่อใด
นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำสม่ำเสมอ คุณควรติดต่อแพทย์ประจำตัว หรือโรงพยาบาล หากคุณมีอาการต่าง ๆ ที่ไม่หายไปในหนึ่งหรือสองวัน หรือหากพบว่าคุณมีอาการดังต่อไปนี้:
- การเพิ่มของน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ร่วมกับการเพิ่มขนาดของช่องท้อง
- รู้สึกน้ำคั่งในร่างกายมากขึ้น
- เกิดดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง
- ความสามารถทางสติปัญญาหรือพฤติกรรมของคุณเปลี่ยนแปลงไป
- การตอบสนองต่อยาที่ใช้อยู่ประจำนั้นเปลี่ยนแปลงไป
- เลือดออกแล้วต้องใช้เวลานานกว่าปกติกว่าจะหยุดไหล
ถ้าคุณไม่สามารถติดต่อแพทย์ประจำตัวของคุณ ให้เข้าตรวจที่แผนกฉุกเฉินได้ทันทีหากมีภาวะที่รุนแรงขึ้นดังต่อไปนี้:
- เลือดปนในอาเจียนหรืออุจจาระ
- หายใจลำบาก
- ปวดท้องหนัก
- รู้สึกสับสน หรือเกิดพฤติกรรมแปลกประหลาด
- อาเจียนซ้ำ ๆ
- เป็นไข้