โรคชิคุนกุนยาคืออะไร?
โรคชิคุนกุนยา หรือที่เรียกว่า “โรคไข้ปวดข้อยุงลาย” คือ โรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายในมนุษย์โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เชื้อไวรัสที่ถูกแพร่กระจายโดยยุงนั้นจะทำให้เกิดอาการปวดข้ออย่างรุนแรง ข้อติดขัด และมีไข้สูงเฉียบพลัน
ชื่อของโรคชิคุนกุนยานั้น มาจากคำในภาษา Makonde หรือเรียกว่า “Kimakonde” ของแอฟริกาใต้ แปลว่า "การก้มตัวงอระหว่างเดิน" เพื่ออธิบายลักษณะการก้มตัวลงของคนที่ทุกข์ทรมานจากอาการปวดข้ออย่างรุนแรงนั่นเอง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ปกติแล้ว หลังจากที่ถูกยุงลายที่เป็นหาหะนำโรคกัด เชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1-12 วัน แต่โดยทั่วไปจะเริ่มแสดงอาการประมาณ 3-7 วันหลังได้รับเชื้อ ระหว่างนี้หากผู้ได้รับเชื้อถูกยุงกัด ยุงก็จะเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
อาการของโรคชิคุนกุนยา
- มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และอาจมีอาการคันร่วมด้วย
- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้
- รู้สึกอ่อนเพลีย
- มีไข้สูงเฉียบพลัน
- ปวดตามข้อ และข้ออักเสบ ส่วนใหญ่จะปวดบริเวณข้อมือ และข้อเท้า ระยะเวลาปวดประมาณ 12 สัปดาห์ – 1 ปี แต่ส่วนมากอาการจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์
คนส่วนมากหลังจากฟื้นตัวจากโรคชิคุนกุนยาแล้ว จะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ไปตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม อาการปวดอาจจะคงอยู่หลายสัปดาห์ หรือกลับมาเป็นซ้ำหลังจากนั้นเป็นเดือนๆ ได้
หากมีอาการข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยา
- เข้าใจผิดว่า โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคไข้เลือดออก: ถึงแม้ว่า โรคชิคุนกุนยามีอาการคล้ายไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะไม่มีอาการปวดข้อ ส่วนโรคชิคุนกุนยาก็จะไม่มีพลาสม่าหรือน้ำเลือดรั่วออกนอกเส้นเลือด จึงไม่ทำให้ผู้ป่วยช็อค
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า คุณจะได้รับเชื้อของโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกในเวลาเดียวกัน - เข้าใจผิดว่า โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์: เนื่องจากมีอาการปวดข้อที่คล้ายกัน แต่การตรวจเลือดจะสามารถบอกได้ว่า ผู้ป่วยเป็นโรคอะไร
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้เมื่อเป็นโรคชิคุนกุนยา
หากโรคนี้เกิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ หรือมีภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น ความดันในเลือดสูง เบาหวาน หรือโรคหัวใจ โรคเหล่านี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงกว่าเดิม และอาจทำให้เสียชีวิตได้
นอกจากนี้โรคชิคุนกุนยาสามารถทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงบนผิวหนัง ดวงตา ไต หัวใจ หรือระบบประสาทได้ แต่พบได้น้อยมาก
สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา
- ถูกยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยากัด โดยชนิดยุงที่แพร่กระจายไวรัส ได้แก่ ยุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti)
- ผู้ป่วยสามารถกระจายไวรัสไปสู่คนอื่นถ้าหากโดนยุงกัดประมาณ 2-6 วันระหว่างที่กำลังป่วย
วิธีการวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยา
หากสงสัยว่า ผู้ป่วยอาจติดเชื้อไวรัสชิคุณกุนยา แพทย์จะซักประวัติในเบื้องต้นว่า ผู้ป่วยได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หรืออยู่ในพื้นที่ที่มียุงจำนวนมากหรือไม่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โดยแพทย์จะต้องแยกความแตกต่างของการติดเชื้อจากโรคที่โดนยุงกัดที่คล้ายๆ กัน เช่น โรคไข้เลือดออก หรือโรคมาลาเรีย และอาจจะต้องแยกโรคออกจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไข้ฉี่หนู (ติดเชื้อจากการสัมผัสกับสัตว์) หรือภาวะแพ้ภูมิตนเองที่มีอาการคล้ายๆ กัน เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โดยวิธีการตรวจมีดังนี้
- การเพาะเชื้อจุลินทรีย์เพื่อแยกไวรัสออกจากเลือด: การเพาะเชื้อจุลินทรีย์สามารถทำได้ระหว่างช่วงวันแรกๆ ของการติดเชื้อ แต่ต้องใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ จึงจะทราบผล
- ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (RT-PCR): สามารถใช้เพื่อตรวจยีนชิคุนกุนยาในเลือดได้ โดยการตรวจสามารถทำภายใน 8 วันแรกของการติดโรค และใช้เวลา 1-2 วันจึงจะทราบผล
- การตรวจเลือด: เพื่อตรวจหาแอนติบอดีของชิคุนกุนยา
การรักษาโรคชิคุนกุนยา
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดสำหรับโรคนี้ และไม่มีวัคซีนป้องกันด้วยเช่นกัน วิธีการรักษานี้ จะใช้หลักการเดียวกันกับโรคไข้เลือดออก คือ การรักษาแบบประคับประคอง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน ร่วมกับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสชิคุณกุนยา ได้แก่
- การให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ
- ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
การฟื้นตัวจากโรคชิคุนกุนยา
- คนส่วนมากจะมีอาการของโรคชิคุนกุนยาประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้น จะฟื้นตัวจากโรคจนหายดี
- บางคนอาการปวดข้อยังคงอยู่ หรือกลับมาเป็นซ้ำในระยะเวลาแรมเดือน ตามด้วยอาการของโรคที่เฉียบพลัน
- ในกรณีที่หายากมากๆ อาการปวด และอาการอื่นๆ อาจเป็นเรื้อรัง และดำรงอยู่เป็นเดือนๆ หรืออาจยาวเป็นปี ๆ
วิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยา
การป้องกันและควบคุมโรคชิคุนกุนยาจะเน้นที่การลดจำนวนยุงในพื้นที่ และป้องกันการโดนยุงกัด โดยการลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงจะสามารถลดประชากรยุงได้เป็นอย่างมาก วิธีการง่ายๆ ที่สามารถทำได้ มีดังนี้
- เทน้ำออกจากภาชนะ เช่น จานรองใต้ไม้กระถาง แจกัน กาละมัง และรางน้ำฝน
- คลุมภาชนะใส่น้ำที่ไม่สามารถเทน้ำทิ้งได้ เช่น แทงค์น้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ สำหรับการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน
- กำจัดยางรถยนต์เก่าๆ ที่อาจถูกทิ้งไว้ข้างนอก
- ทิ้งขยะในถุงพลาสติกแบบปิด และในภาชนะแบบปิด
- ใช้ยาฆ่าแมลง เพื่อฆ่ายุงที่โตเต็มที่ หรือตัวอ่อนที่ยังไม่สมบูรณ์ บางเขตชุมชน และเมืองต่างๆ อาจมีการพ่นยาฆ่าแมลงด้วยเช่นกัน
- ยุงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของโรคชิคุนกุนยา โดยส่วนมากมักจะเป็นยุงที่กัดตอนกลางวัน ซึ่งคนมักถูกกัดมากในช่วงใกล้ค่ำ แต่ยุงพวกนี้ยังมีการกัดในช่วงเวลากลางคืนเช่นเดียวกัน
แนะนำวิธีหลีกเลี่ยงการโดนยุงกัด
- ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือเสื้อผ้าที่ไม่เปิดเผยผิวหนัง
- ใช้ยาทากันยุงบนผิวหนังหรือบนเสื้อผ้า
- มีการติดตั้งอุปกรณ์ หรือฉากกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงบินเข้ามาในตัวอาคาร
- เมื่อนอนกลางวัน ควรนอนในมุ้งที่เคลือบด้วยยากันยุง
- ใส่มุ้งกันยุงรอบหน้าและคอของคุณของจากถุงมือหรือทายากันยุงถ้าคุณใช้เวลามากในพื้นที่กลางแจ้งในพื้นที่ที่มียุงชุม
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่มีประสบกับ การระบาด ของโรคชิคุนกุนยา
- หากคุณเป็นโรคชิคุนกุนยา ควรป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัด เพราะเลือดของคุณสามารถทำให้ยุงติดเชื้อ และสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
- คนที่ติดเชื้อโรคชิคุนกุนยาจะมีความเสี่ยงสูงภายในสัปดาห์แรกของอาการป่วย
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ