กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

โรคชิคุนกุนยาคืออะไร?

โรคชิคุนกุนยา หรือที่เรียกว่า “โรคไข้ปวดข้อยุงลาย” คือ โรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายในมนุษย์โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เชื้อไวรัสที่ถูกแพร่กระจายโดยยุงนั้นจะทำให้เกิดอาการปวดข้ออย่างรุนแรง ข้อติดขัด และมีไข้สูงเฉียบพลัน

ชื่อของโรคชิคุนกุนยานั้น มาจากคำในภาษา Makonde หรือเรียกว่า “Kimakonde” ของแอฟริกาใต้ แปลว่า "การก้มตัวงอระหว่างเดิน" เพื่ออธิบายลักษณะการก้มตัวลงของคนที่ทุกข์ทรมานจากอาการปวดข้ออย่างรุนแรงนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปกติแล้ว หลังจากที่ถูกยุงลายที่เป็นหาหะนำโรคกัด เชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1-12 วัน แต่โดยทั่วไปจะเริ่มแสดงอาการประมาณ 3-7 วันหลังได้รับเชื้อ ระหว่างนี้หากผู้ได้รับเชื้อถูกยุงกัด ยุงก็จะเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

อาการของโรคชิคุนกุนยา

  • มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และอาจมีอาการคันร่วมด้วย
  • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • มีไข้สูงเฉียบพลัน
  • ปวดตามข้อ และข้ออักเสบ ส่วนใหญ่จะปวดบริเวณข้อมือ และข้อเท้า ระยะเวลาปวดประมาณ 12 สัปดาห์ – 1 ปี แต่ส่วนมากอาการจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์

คนส่วนมากหลังจากฟื้นตัวจากโรคชิคุนกุนยาแล้ว จะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ไปตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม อาการปวดอาจจะคงอยู่หลายสัปดาห์ หรือกลับมาเป็นซ้ำหลังจากนั้นเป็นเดือนๆ ได้

หากมีอาการข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยา

  1. เข้าใจผิดว่า โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคไข้เลือดออก: ถึงแม้ว่า โรคชิคุนกุนยามีอาการคล้ายไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะไม่มีอาการปวดข้อ ส่วนโรคชิคุนกุนยาก็จะไม่มีพลาสม่าหรือน้ำเลือดรั่วออกนอกเส้นเลือด จึงไม่ทำให้ผู้ป่วยช็อค
    อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า คุณจะได้รับเชื้อของโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกในเวลาเดียวกัน
  2. เข้าใจผิดว่า โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์: เนื่องจากมีอาการปวดข้อที่คล้ายกัน แต่การตรวจเลือดจะสามารถบอกได้ว่า ผู้ป่วยเป็นโรคอะไร

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้เมื่อเป็นโรคชิคุนกุนยา

หากโรคนี้เกิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ หรือมีภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น ความดันในเลือดสูง เบาหวาน หรือโรคหัวใจ โรคเหล่านี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงกว่าเดิม และอาจทำให้เสียชีวิตได้

นอกจากนี้โรคชิคุนกุนยาสามารถทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงบนผิวหนัง ดวงตา ไต หัวใจ หรือระบบประสาทได้ แต่พบได้น้อยมาก

สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา

  • ถูกยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยากัด โดยชนิดยุงที่แพร่กระจายไวรัส ได้แก่ ยุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti)
  • ผู้ป่วยสามารถกระจายไวรัสไปสู่คนอื่นถ้าหากโดนยุงกัดประมาณ 2-6 วันระหว่างที่กำลังป่วย

วิธีการวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยา

หากสงสัยว่า ผู้ป่วยอาจติดเชื้อไวรัสชิคุณกุนยา แพทย์จะซักประวัติในเบื้องต้นว่า ผู้ป่วยได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หรืออยู่ในพื้นที่ที่มียุงจำนวนมากหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยแพทย์จะต้องแยกความแตกต่างของการติดเชื้อจากโรคที่โดนยุงกัดที่คล้ายๆ กัน เช่น โรคไข้เลือดออก หรือโรคมาลาเรีย และอาจจะต้องแยกโรคออกจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไข้ฉี่หนู (ติดเชื้อจากการสัมผัสกับสัตว์) หรือภาวะแพ้ภูมิตนเองที่มีอาการคล้ายๆ กัน เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โดยวิธีการตรวจมีดังนี้

  • การเพาะเชื้อจุลินทรีย์เพื่อแยกไวรัสออกจากเลือด: การเพาะเชื้อจุลินทรีย์สามารถทำได้ระหว่างช่วงวันแรกๆ ของการติดเชื้อ แต่ต้องใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ จึงจะทราบผล
  • ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (RT-PCR): สามารถใช้เพื่อตรวจยีนชิคุนกุนยาในเลือดได้ โดยการตรวจสามารถทำภายใน 8 วันแรกของการติดโรค และใช้เวลา 1-2 วันจึงจะทราบผล
  • การตรวจเลือด: เพื่อตรวจหาแอนติบอดีของชิคุนกุนยา

การรักษาโรคชิคุนกุนยา

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดสำหรับโรคนี้ และไม่มีวัคซีนป้องกันด้วยเช่นกัน วิธีการรักษานี้ จะใช้หลักการเดียวกันกับโรคไข้เลือดออก คือ การรักษาแบบประคับประคอง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน ร่วมกับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสชิคุณกุนยา ได้แก่

  • การให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

การฟื้นตัวจากโรคชิคุนกุนยา

  • คนส่วนมากจะมีอาการของโรคชิคุนกุนยาประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้น จะฟื้นตัวจากโรคจนหายดี
  • บางคนอาการปวดข้อยังคงอยู่ หรือกลับมาเป็นซ้ำในระยะเวลาแรมเดือน ตามด้วยอาการของโรคที่เฉียบพลัน
  • ในกรณีที่หายากมากๆ อาการปวด และอาการอื่นๆ อาจเป็นเรื้อรัง และดำรงอยู่เป็นเดือนๆ หรืออาจยาวเป็นปี ๆ

วิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยา

การป้องกันและควบคุมโรคชิคุนกุนยาจะเน้นที่การลดจำนวนยุงในพื้นที่ และป้องกันการโดนยุงกัด โดยการลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงจะสามารถลดประชากรยุงได้เป็นอย่างมาก วิธีการง่ายๆ ที่สามารถทำได้ มีดังนี้

  • เทน้ำออกจากภาชนะ เช่น จานรองใต้ไม้กระถาง แจกัน กาละมัง และรางน้ำฝน
  • คลุมภาชนะใส่น้ำที่ไม่สามารถเทน้ำทิ้งได้ เช่น แทงค์น้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ สำหรับการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน
  • กำจัดยางรถยนต์เก่าๆ ที่อาจถูกทิ้งไว้ข้างนอก
  • ทิ้งขยะในถุงพลาสติกแบบปิด และในภาชนะแบบปิด
  • ใช้ยาฆ่าแมลง เพื่อฆ่ายุงที่โตเต็มที่ หรือตัวอ่อนที่ยังไม่สมบูรณ์ บางเขตชุมชน และเมืองต่างๆ อาจมีการพ่นยาฆ่าแมลงด้วยเช่นกัน
  • ยุงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของโรคชิคุนกุนยา โดยส่วนมากมักจะเป็นยุงที่กัดตอนกลางวัน ซึ่งคนมักถูกกัดมากในช่วงใกล้ค่ำ แต่ยุงพวกนี้ยังมีการกัดในช่วงเวลากลางคืนเช่นเดียวกัน

แนะนำวิธีหลีกเลี่ยงการโดนยุงกัด

  • ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือเสื้อผ้าที่ไม่เปิดเผยผิวหนัง
  • ใช้ยาทากันยุงบนผิวหนังหรือบนเสื้อผ้า
  • มีการติดตั้งอุปกรณ์ หรือฉากกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงบินเข้ามาในตัวอาคาร
  • เมื่อนอนกลางวัน ควรนอนในมุ้งที่เคลือบด้วยยากันยุง
  • ใส่มุ้งกันยุงรอบหน้าและคอของคุณของจากถุงมือหรือทายากันยุงถ้าคุณใช้เวลามากในพื้นที่กลางแจ้งในพื้นที่ที่มียุงชุม
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่มีประสบกับ การระบาด ของโรคชิคุนกุนยา
  • หากคุณเป็นโรคชิคุนกุนยา ควรป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัด เพราะเลือดของคุณสามารถทำให้ยุงติดเชื้อ และสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
  • คนที่ติดเชื้อโรคชิคุนกุนยาจะมีความเสี่ยงสูงภายในสัปดาห์แรกของอาการป่วย

16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chikungunya. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/chikungunya.html)
Chikungunya Virus: Background, Pathophysiology, Etiology. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/2225687-overview)
Chikungunya. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chikungunya)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)
ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)