ลองเช็คดู...ว่าประจำเดือนของคุณ “ปกติ” หรือไม่?

ประจำเดือน เป็นตัวชี้วัดสุขภาพอย่างหนึ่ง หากมีความผิดปกติขึ้น อาจทำให้ประจำเดือนมาน้อย มามาก หรือมีปริมาณมากกว่าปกติ ลองเช็คดูว่าประจำเดือนของคุณผิดปกติหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ลองเช็คดู...ว่าประจำเดือนของคุณ “ปกติ” หรือไม่?

ประจำเดือน เกิดจากการหลุดลอกของผนังเยื่อบุมดลูก (Endometrium) ทำให้เนื้อเยื่อมดลูกไหลออกมาสู่ปากมดลูก (Cervix) และช่องคลอด (Vagina) โดยวันแรกที่มีประจำเดือนจะถูกนับว่าเป็นวันแรกของรอบเดือน หรือรอบประจำเดือน (Menstrual Cycle)

ปกติแล้วการมีประจำเดือนแต่ละรอบ จะอยู่ในระยะเวลาระหว่าง 3-7 วัน ส่วนการมีประจำเดือนสั้น หรือมีประจำเดือนยาวนาน จัดเป็นความผิดปกติของประจำเดือน ที่อาจเกิดจากภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ เช่น โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ เนื้องอก และติ่งเนื้อโพรงมดลูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนการระบุปริมาณของประจำเดือนนั้น ถือเป็นเรื่องยากที่จะทำการวัด เว้นแต่ในกรณีที่ใช้ถ้วยอนามัย (Menstrual Cup) ที่มีหน่วยวัดปริมาณอยู่ข้างถ้วย ก็จะช่วยวัดปริมาณของเลือดที่เสียไปได้ หากมีปริมาณของเหลวออกมามากทุกๆ 2 ชั่วโมง ก็นับว่ามีประจำเดือนมามาก และควรเข้าปรึกษาประเด็นนี้กับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

ระยะเวลา และปริมาณปกติของประจำเดือน สำหรับผู้ที่ไม่ได้คุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน

ระยะเวลาปกติของประจำเดือนของผู้ที่ไม่ได้คุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน สามารถแบ่งออกตามช่วงวัยได้ดังนี้

  • ระยะเวลาประจำเดือนของผู้ใหญ่ : ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนหรือสวมห่วงอนามัย จะมีระยะเวลาประจำเดือนมากที่สุด คือ 8 วัน และอาจมีปริมาณประจำเดือนออกมาระหว่าง 5-80 mL (หรือประมาณ 6 ช้อนชา) โดยสองวันแรกของประจำเดือนจะมามากที่สุด และจะลดลงไปเรื่อยๆ ตามวันที่ผ่านไป
  • ระยะเวลาประจำเดือนของวัยรุ่น หรือวัยเจริญพันธุ์ : เด็กในช่วงวัยที่ใกล้กับการมีประจำเดือนครั้งแรก (Menarche) จะมีรอบเดือนห่างกันอย่างไม่สม่ำเสมอในช่วง 1-2 ปีแรก และมักมีปริมาณมากน้อยไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นจึงยากที่จะกำหนดได้ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ แต่โดยทั่วไปแล้วระยะเวลาประจำเดือนของวัยรุ่นมักอยู่ระหว่าง 2-7 วัน แต่ก็อาจเกิดขึ้นยาวนานหรือสั้นกว่านี้ก็ได้

ระยะเวลา และปริมาณปกติของประจำเดือน สำหรับผู้ที่คุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน

ระยะเวลาและปริมาณปกติของประจำเดือน ตามรูปแบบของการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด แบ่งออกได้ดังนี้

  • ผู้ที่ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วย Progestin : แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    • มินิพิล (Mini Pill) : เมื่อใช้ยา Progestin ชนิดนี้ อาจไม่มีรอบประจำเดือนตามปกติ เพราะยาจะเข้าไปกดกระบวนการตกไข่ลง แต่ส่วนมากแล้วจะพบว่ามีเลือดออกไม่สม่ำเสมอ มีเลือดออกน้อยลง มีระยะเวลาน้อยลง หรือขาดประจำเดือนไปเลย (Amenorrhea)
    • การฉีดและการฝัง Progestin : วิธีคุมกำเนิดด้วยวิธีฉีดและฝังเพื่อกดการตกไข่ จะทำให้คนส่วนมากประจำเดือนสั้น มีประจำเดือนน้อย หรือขาดประจำเดือนไปเลยเช่นกัน

  • ผู้ที่ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัย (Intrauterine Devices (IUDs)) : แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    • IUD ที่หลั่งฮอร์โมน : เมื่อใช้งาน IUD ที่มีการปล่อยฮอร์โมน (Hormonal IUD) ส่วนใหญ่จะพบการมีเลือดออกไม่สม่ำเสมอหรือเลือดออกน้อย บางคนอาจไม่มีเลือดออกมาเลยก็ได้ เหมือนกันกับการคุมกำเนิดด้วย Progestin แค่ต่างวิธีการเท่านั้น
    • IUD ชนิดทองแดง : IUD ชนิดทองแดง คือห่วงคุมกำเนิดที่ไม่มีการปล่อยฮอร์โมน ทำให้ความผันแปรของ Estrogen กับ Progesterone ในรอบเดือนเป็นไปตามปกติ แต่ผู้ที่ใช้ห่วงประเภทนี้มักจะพบการเพิ่มขึ้นของปริมาณและระยะเวลาของประจำเดือน โดยเฉพาะในช่วงเริ่มใช้ 6-12 เดือนแรก ซึ่งอาจเกิดจากความเสียหายที่หลอดเลือดและการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนโลหิตภายในมดลูก

หากพบว่ามีเลือดออกระหว่างการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนจะเรียกว่า ประจำเดือนหลังหยุดยา (Withdrawal Bleeding) เกิดจากการขาดฮอร์โมนสืบพันธุ์ในร่างกายในช่วงวันที่ไม่ได้รับประทานยา หรือในระหว่างเปลี่ยนห่วงอนามัย ซึ่งจะไม่มีการนับภาวะนี้ว่าเป็นประจำเดือนตามปกติ

การมีเลือดออกกะปริดกะปรอย ถือว่าผิดปกติหรือไม่?

หากพบว่าตัวเองมีเลือดออกนอกเหนือจากประจำเดือน หรือที่เรียกว่าเลือดออกกะปริดกะปรอยหรือ (Spotting) และอาจเป็นผลมาจากหลายๆ สาเหตุ เช่น เนื้องอกมดลูก (Uterine Fibroids) การติดเชื้อ หรืออาจจะเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์สัปดาห์แรก เป็นต้น ดังนั้นจึงควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ หากมีปริมาณประจำเดือนมากกว่า 80 mL มีประจำเดือนนานกว่า 8 วันติดกัน หรือหากคุณมีประจำเดือนมามากจนทำต้อเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2 ชั่วโมง ถือว่ามีภาวะประจำเดือนมาหนักมาก (Heavy Menstrual Bleeding) ควรเข้าปรึกษากับแพทย์ทันที เพราะการเลือดออกหนักเกินเช่นนี้ อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง (Anemia) ได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

ที่มาของข้อมูล

What’s “normal”?: period length (https://helloclue.com/articles/cycle-a-z/what's-normal-period-length), 9 พฤษภาคม 2018.

What’s “normal”?: period volume and heaviness (https://helloclue.com/articles/cycle-a-z/what's-normal-period-volume-and-heaviness), 29 พฤษภาคม 2018.


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Early period: Causes and when to see a doctor. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/early-period)
Periods. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/periods/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป