กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 2

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 2

มาถึงในเดือนที่ 2 นี้ ตัวอ่อนภายในครรภ์จะมีรูปร่างคล้ายมนุษย์มากขึ้น ถ้าวัดความยาวก็คงจะมีขนาดประมาณ 1.6 เซนติเมตรน้ำหนักประมาณ  1 กรัม ทารกในครรภ์เริ่มมีการเต้นของหัวใจ มีตา  หู  จมูก  ปาก  มีแขน ขา มีนิ้วมือนิ้วเท้า และเริ่มสร้างกระดูกขึ้นมาแล้ว

ในเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่คุณแม่เองสามารถรู้สึกได้ดังนี้

  • อ่อนเพลียง่าย และจะรู้สึกว่าตัวเองนอนนานมากขึ้น จากเดิมหลับ 6-8 ชั่วโมง ก็อาจจะเป็น 7-10 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายของคุณแม่แต่ละคน
  • ปัสสาวะบ่อยมากขึ้นจนสังเกตได้
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือน้ำลายสอในปาก เวลาได้กลิ่นอาหารอะไรก็ตาม
  • ท้องผูก
  • แสบท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืดเฟ้อ
  • บางคนเบื่ออาหาร บางคนอาจหิวบ่อย
  • คัดเต้านม เต้านมขยายใหญ่ขึ้น หัวนมขยายและมีสีคล้ำขึ้น มองเห็นเป็นเส้นเลือดเขียวๆ ที่บริเวณเต้านม
  • ปวดศีรษะ เหมือนกับอาการมึนศีรษะของคนที่กินยาคุมกำเนิด
  • เวียนศีรษะ เป็นลมบ่อย
  • รู้สึกอึดอัด คับตึงเอว เนื่องจากท้องเริ่มขยายใหญ่ขึ้น ท้องอืดง่าย
  • อารมณ์แปรปรวนอย่างเห็นได้ชัด คล้ายๆ ช่วงก่อนมีประจำเดือน เช่น รู้สึกหงุดหงิดง่ายมาก อาจร้องไห้บ่อย รู้สึกกลัว ตื่นเต้น ผสมปนเปกันไป

สิ่งที่แพทย์ที่ดูแลครรภ์จะให้คุณทำในเดือนนี้ได้แก่

  1. ชั่งน้ำหนัก วัดความดันเลือด
  2. ตรวจสอบน้ำตาลและสารไข่ขาวในปัสสาวะ
  3. ตรวจสอบอาการบวมและเส้นเลือดขอดบริเวณปลายเท้า
  4. ตรวจสอบอาการผิดปกติอื่นๆ (ถ้ามี)

ในเดือนนี้นอกจากอาการที่กล่าวไปแล้ว บางคนอาจมีสิวขึ้น บางคนอาจมีผิวแตกแห้งเป็นริ้วรอย เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงนั่นเอง วิธีปฏิบัติที่ดีคือ ดื่มน้ำให้มาก ล้างหน้าด้วยสบู่อ่อนๆ วันละ 2-3 ครั้ง ที่ต้องระวังคืออย่าซื้อยาใดๆ มาทานเอง โดยเฉพาะถ้าเป็นสิว ห้ามซื้อยามาทานหรือทาเองโดยเด็ดขาด เพราะยารักษาสิวบางชนิดเป็นผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ อาจทำให้แท้งหรือเด็กพิการได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
L. J. Salomon, 20 April 2007, Estimation of fetal weight: reference range at 20–36 weeks' gestation and comparison with actual birth‐weight reference range (https://obgyn.onlinelibrary.wi...)
Gabbe SG, Niebyl JR, Galan HL, Jauniaux ERM, Landon MB, Simpson JL, et al. Obstetrics: Normal and Problem Pregnancies. Elsevier Health Sciences; 2012.
DeCherney A, Nathan L, Goodwin TM, Laufer N. Current Diagnosis & Treatment Obstetrics & Gynecology 11/e. McGraw-Hill Companies,Incorporated; 2012.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป