เภสัชกรรีวิว: ยาเม็ดคุมกำเนิดฮอร์โมนโปรเจสติน ซีราเซท และอีนาฟ-150

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เภสัชกรรีวิว: ยาเม็ดคุมกำเนิดฮอร์โมนโปรเจสติน ซีราเซท และอีนาฟ-150

สำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดด้วยการใช้ฮอร์โมน แต่มีข้อจำกัดหรือทนผลข้างเคียงจากเอสโตรเจนไม่ได้ ก็ต้องใช้ยาคุมชนิดที่มีเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสตินนะคะ ซึ่งมีอยู่ในรูปแบบยาเม็ดคุมกำเนิดที่เรียกกันว่ายาคุมสูตรหญิงให้นมบุตร, ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดที่ฉีดทุก 3 เดือน, ยาฝังคุมกำเนิด และห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมน

วันนี้ขอนำยาเอาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว 2 รูปแบบ ได้แก่ยาเม็ดคุมกำเนิดยี่ห้อซีราเซท และยาฉีดคุมกำเนิดยี่ห้ออีนาฟ-150 มาเปรียบเทียบกันค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. รูปแบบและวิธีการใช้

    ยาแต่ละเม็ด มีตัวยา

    Desogestrel 0.075 มิลลิกรัม

    ยาแต่ละขวด มีตัวยา

    Medroxyprogesterone acetate 150 มิลลิกรัม

    ยาคุมซีราเซท จะต้องรับประทานยาวันละ 1 เม็ด ต่อเนื่องกันทุกวันนะคะ และห้ามรับประทานช้ากว่าเวลาปกติเกิน 12 ชั่วโมงเพราะจะทำให้ไม่มีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องได้ เมื่อรับประทานหมดแผงแล้วก็ให้ต่อยาคุมแผงใหม่ได้เลย

    ส่วนอีนาฟ-150 จะต้องมีการฉีดยาตามรอบทุก ๆ 3 เดือน ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) หรือ 13 สัปดาห์ ตามแนวทางของศูนย์ควบคุมโรค ประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC)

    ดังนั้น ยาฉีดคุมกำเนิด หรืออีนาฟ-150 จึงสะดวกสำหรับผู้ใช้มากกว่ายาเม็ดคุมกำเนิด หรือซีราเซท เพราะไม่ต้องบริหารยาบ่อย และไม่ต้องกังวลเรื่องการรับประทานให้ตรงเวลาทุกวันด้วยค่ะ

  2. ประสิทธิภาพ

    มีโอกาสตั้งครรภ์ 0.3 – 9%

    มีโอกาสตั้งครรภ์ 0.2 – 6%


    แม้จะเป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวเหมือนกัน แต่ยาฉีดมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดมากกว่ายาเม็ดรับประทานนะคะ และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดทางเทคนิคหรือการใช้ได้น้อยกว่าด้วย

    ดังนั้น ถ้ามีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นเดียวกัน ผู้ที่ฉีดคุมกำเนิดอีนาฟจะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าผู้ที่รับประทานยาคุมซีราเซทค่ะ

  3. ผลข้างเคียง

    • สิว หน้ามัน ขนดก : พบน้อยมาก
    • เลือดกะปริบกะปรอย ประจำเดือนไม่ปกติ หรือไม่มีประจำเดือน : พบมาก


    แม้ซีราเซทและอีนาฟ-150 จะใช้ตัวยาโปรเจสตินต่างรุ่น แต่ก็เป็นโปรเจสตินที่มีผลแอนโดรเจนต่ำมากหรือมีเล็กน้อยทั้งคู่ค่ะ จึงพบผลข้างเคียงเรื่องสิว, หน้ามัน และขนดกได้น้อย โดยพบในผู้ที่ใช้ซีราเซทน้อยกว่าอีนาฟ-150

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

    ผลข้างเคียงเกี่ยวกับการมีเลือดกะปริบกะปรอย, ประจำเดือนไม่ปกติ หรือไม่มีประจำเดือน ถือเป็นผลข้างเคียงเด่นของยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวนะคะ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบในระยะเวลาที่ใช้ยาเท่า ๆ กันระหว่างซีราเซทและอีนาฟ-150 พบสัดส่วนของการเกิดภาวะขาดประจำเดือนในผู้ใช้อีนาฟ-150 ได้มากกว่าผู้ใช้ซีราเซทค่ะ

    และผู้ที่ใช้ยาฉีดคุมกำเนิดชนิด 3 เดือน อาจพบว่ามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย ประมาณ 2.4 กิโลกรัมในปีแรก และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 3 - 6 กิโลกรัมภายใน 3 ปี อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นน้ำหนักมักจะคงที่ โดยพบค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 6.2 กิโลกรัมหลังใช้ยาต่อเนื่องกัน 6 ปี

    นอกจากนี้ ยังอาจพบอาการปวดศีรษะในผู้ที่ฉีดยาคุมชนิดนี้ได้เช่นกัน แต่พบน้อยกว่าการใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมค่ะ และไม่ถือเป็นข้อห้ามหรือข้อจำกัดการใช้ในผู้ป่วยไมเกรน

    การฉีดยาคุมชนิด 3 เดือนอาจส่งผลให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง แต่สามารถเพิ่มกลับมาเป็นปกติได้หลังหยุดใช้ โดยไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะกระดูกพรุนในอนาคต จึงไม่ต้องกังวลนะคะ

    แต่ผู้ที่เคยฉีดยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว มักจะใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะกลับมามีไข่ตกตามปกติหลังหยุดใช้ จึงใช้เวลานานกว่าวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ กว่าที่จะมีการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น สำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดต่อในระยะเวลาสั้น ๆ หรือวางแผนจะมีบุตรภายใน ½ - 1 ปีข้างหน้า การใช้ยาคุมชนิดรับประทานจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าค่ะ

    เมื่อเปรียบเทียบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงถือว่าซีราเซทมีผลข้างเคียงน้อยกว่าอีนาฟ-150 นะคะ

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  4. ราคา

    แผงละ 230 - 250 บาท

    เข็มละ 0 - 300 บาท (รวมค่าฉีด)


    ราคาของทั้งสองวิธีไม่แตกต่างกันมากค่ะ หากเทียบกับการฉีดยาคุมที่คลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน แต่เนื่องจากยาฉีดคุมกำเนิดชนิด 3 เดือน จัดอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ดังนั้น หากไปฉีดที่โรงพยาบาลรัฐตามสิทธิ์การรักษาในหลักประกันสุขภาพ ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายนะคะ

    เมื่อมองในภาพรวม จึงถือว่าการฉีดยาคุมอีนาฟ-150 (หรือยาฉีดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวยี่ห้ออื่น ๆ ที่มีในสถานบริการ) มีแนวโน้มจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรับประทานยาคุมซีราเซทค่ะ

    จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า การฉีดยาคุมอีนาฟ-150 มีจุดเด่นที่มีความสะดวกในการใช้มากกว่า มีประสิทธิภาพเหนือกว่า (เล็กน้อย) และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า (หากไปรับบริการในโรงพยาบาลตามสิทธิ์) แต่ก็มีจุดด้อยในเรื่องของผลข้างเคียงที่มากกว่าและยาวนานกว่าการรับประทานยาคุมซีราเซท

    ดังนั้น ผู้ใช้จึงควรพิจารณาว่ายอมรับผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ หากยอมรับได้ การฉีดยาคุมอีนาฟ-150 ก็เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ

    แต่ถ้ายอมรับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากยาคุมชนิดฉีดทุก 3 เดือนไม่ได้ การรับประทานยาคุมซีราเซทก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่านะคะ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What should I do if I miss a pill (progestogen-only pill)?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/miss-progestogen-only-pill/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด

วิกผม หมวกมีปีก หมวกไหมพรม และผ้าพันคอที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม

มันไม่เหมือนการขับรถหรอกนะ : คุณไม่จำเป็นต้องได้รับใบรับรองหรอก

อ่านเพิ่ม