กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Cellulitis (เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

Cellulitis (เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ) เป็นการติดเชื้อที่ผิวหนัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า สเตรปโตคอกคัส (Staphylococcus) แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นผื่นสีแดงบวมที่ผิวหนัง มักจะเกิดที่บริเวณขา หรือแขน ทำให้รู้สึกแสบร้อน ผื่นที่เกิดขึ้นสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า การรับประทานยาปฏิชีวนะสามารถช่วยรักษาการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใน 10-14 วัน 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด Cellulitis

การอักเสบของเซลล์เนื้อเยื่อ เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล หรือรอยแตกของผิวหนัง ซึ่งผู้ที่มีภาวะต่อไปนี้จะมีความเสี่ยงต่อโรค Cellulitis มากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • มีรอยบาด รอยขีดข่วน หรือแมลงกัดต่อย
  • มีเชื้อราหรือการติดเชื้อไวรัสที่ผิวหนัง รวมทั้งโรคน้ำกัดเท้าและอีสุกอีใส
  • มีโรคทางผิวหนังเรื้อรัง เช่น กลาก 
  • กำลังใช้ยาที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาเคมีบำบัด
  • เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากโรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ หรือภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากการรักษาด้วยการฉายรังสี
  • เคยมีอาการบวมน้ำ เป็นโรคหัวใจ หรือเคยผ่าตัดเพื่อเอาต่อมน้ำเหลืองออก
  • เคยมีอาการเซลล์เนื้อเยื่อติดเชื้อมาก่อน

อาการของโรค Cellulitis

อาการของโรค Cellulitis มีดังนี้

  • มีผื่นขึ้นบนผิวหนังในทันทีทันใด และกระจายไปยังส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง
  • บริเวณผิวที่อักเสบเป็นสีแดงมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • รู้สึกปวดบริเวณที่ติดเชื้อ
  • ผิวตึงและแตก
  • มีไข้

ถ้าบริเวณที่เป็นเกิดการติดเชื้อ อาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่

การวินิจฉัยโรค Cellulitis

แพทย์จะตรวจบริเวณที่เป็นผื่นเพื่อดูว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นเซลล์เนื้อเยื่อติดเชื้อหรือไม่ ซึ่งแพทย์อาจใช้ปากกาทำเครื่องหมายบริเวณผื่นเพื่อติดตามการแพร่กระจายของการติดเชื้อ รวมทั้งอาจต้องตรวจดูต่อมน้ำเหลืองเพื่อหาสัญญาณของการติดเชื้อ และทำการทดสอบสารเหลวต่างๆ ที่สะสมอยู่บริเวณที่เป็นผื่น 

อาจต้องตรวจเลือดเพื่อตัดความเป็นไปได้ของการเป็นลิ่มเลือด เนื่องจากลิ่มเลือดกับเซลล์เนื้อเยื่อติดเชื้อจะมีอาการคล้ายคลึงกัน ซึ่งอาจตรวจด้วยวิธีการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อดูว่า จำนวนเม็ดเลือดขาวสูงหรือไม่ ซึ่งจะบ่งชี้ว่าเกิดการติดเชื้อขึ้น

การป้องกันโรค Cellulitis

เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์เนื้อเยื่อติดเชื้อ คุณควรรักษารอยขีดข่วนและบาดแผลใดๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม โดยล้างแผลด้วยสบู่และน้ำอุ่นอยู่เสมอ ทาขี้ผึ้งต้านแบคทีเรีย และปิดแผลด้วยผ้าก๊อซเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด รวมถึงสังเกตบาดแผลว่า มีอาการแดง ปวด มีของเหลวไหลออกมา หรือมีสัญญาณอื่นๆ ที่แสดงถึงการติดเชื้อหรือไม่

นอกจากนี้ควรป้องกันการได้รับบาดเจ็บหรือบาดแผลตามคำแนะนำต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • สวมอุปกรณ์ป้องกันตัวที่เหมาะสมเมื่อเล่นกีฬาหรือทำงาน
  • สวมถุงมือในฤดูหนาว รวมถึงตอนล้างจานหรือตอนทำความสะอาดเพื่อปกป้องมือของคุณ 
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดตัว มีดโกน ร่วมกับผู้อื่น
  • หากเป็นโรคเบาหวานหรือมีโรคอื่นๆ ที่ส่งผลให้การไหลเวียนในร่างกายไม่ดี ควรทาโลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวเป็นประจำทุกวัน
  • ตรวจสุขภาพเท้าเป็นประจำเพื่อดูว่า มีรอยหรือบาดแผลหรือไม่ หากเป็นโรคน้ำกัดเท้าควรรักษาในทันที และตัดเล็บอยู่เสมอเพื่อไม่ให้ไปขีดข่วนผิวหนังจนเกิดรอย

การรักษาโรค Cellulitis

Cellulitis สามารถรักษาให้หายได้โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 10-14 วัน อาการจะเริ่มดีขึ้นประมาณ 3 วันให้หลัง แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องรับประทานยาให้หมด เพราะแบคทีเรียอาจยังคงอยู่แม้จะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม

หากมีอาการที่รุนแรง แพทย์อาจให้รับประทานยาแก้ปวด หรือแนะนำยาบรรเทาปวดตามร้านขายยาให้ หากอาการยังไม่ดีขึ้น แย่ลง หรือมีไข้ขึ้นสูง ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจแสดงว่า อาการอักเสบของเซลล์เนื้อเยื่อไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน และคุณอาจต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อรับยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำ หากคุณป่วยเรื้อรังหรือมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ภาวะแทรกซ้อนของโรค Cellulitis

การรักษาอาการติดเชื้อของเนื้อเยื่อในทันทีจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เพราะหากแบคทีเรียแพร่กระจายไปที่ชั้นผิวหนังชั้นลึกลงไป เชื้ออาจเข้าไปในกระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลืองได้ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่อันตรายมาก เช่นเดียวกับคนที่เกิดการติดเชื้อซ้ำ ที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบไหลเวียนของน้ำเหลืองได้ และอาจนำไปสู่อาการบวมที่รุนแรงด้วย

ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จากภาวะ Cellulitis ที่ต้องระวัง มีดังนี้

Perianal Streptococcal Cellulitis 

เป็นภาวะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส และทำให้เกิดการอักเสบของทวารหนักได้ มักจะพบมากที่สุดในเด็ก และมักเกิดพร้อมกับโรคเจ็บคอ (Strep throat) คอหอยอักเสบ (Pharyngitis) หรือโรคพุพอง (Impetigo

เบ้าตาอักเสบ (Orbital Cellulitis) 

เกิดจากการที่แบคทีเรียเข้าไปในตา ซึ่งอาจเป็นตอนที่ตาได้รับบาดเจ็บหรือขณะเกิดการติดเชื้อไซนัส ซึ่งมักเกิดกับเด็กเป็นส่วนใหญ่ อาการของเบ้าตาอักเสบ ได้แก่ ปวด บวม สีของเปลือกตาเปลี่ยนไป มองเห็นไม่ชัด ขยับตาลำบาก และมีไข้ ซึ่งถ้าไม่รีบรักษา อาการเบ้าตาอักเสบจะรุนแรงขึ้น และอาจทำให้สูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดเลยทีเดียว ฉะนั้นเมื่อมีอาการดังกล่าวนี้ ผู้ป่วยจึงมักต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ส่วนการรักษาโดยทั่วไปก็คือการใช้ยาปฏิชีวนะและการผ่าตัด

โรคแบคทีเรียกินเนื้อ (Necrotizing Fasciitis

แม้จะพบอาการนี้ได้ยาก แต่โรคแบคทีเรียกินเนื้อเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อที่อักเสบลุกลามไปยังเนื้อเยื่ออ่อนชั้นลึกๆ ลงไป (Fascial lining) ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดอย่างรุนแรง
  • มีอาการบวม
  • บริเวณที่ติดเชื้อเป็นสีแดง
  • มีจุดด่างดำ
  • เป็นแผลพุพอง
  • เป็นแผลมีหนอง
  • มีไข้สูง
  • สัญญาณของอาการอักเสบอื่นๆ

ที่เรียกว่า "โรคแบคทีเรียกินเนื้อ" เพราะการติดเชื้อนี้อาจเติบโตได้อย่างรวดเร็วและทำให้เสียชีวิตได้ หากคุณมีอาการคล้ายกับที่กล่าวมาข้างต้น ต้องไปพบแพทย์ทันที ซึ่งการรักษาทำได้ด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะเข้าหลอดเลือดดำ ต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล และตัดเอาเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกไป


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Yvette Brazier, What you need to know about cellulitis (https://www.medicalnewstoday.com/articles/152663.php), August 19, 2019
Bree Normandin and Stephanie Watson, Everything You Need to Know About Cellulitis (https://www.healthline.com/health/cellulitis), May 14, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)