สาเหตุของโรคต่อมไทรอยด์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สาเหตุของโรคต่อมไทรอยด์

สาเหตุของโรคต่อมไทรอยด์มีได้หลายสาเหตุ เช่น ร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันมาทำลายต่อมไทรอยด์ของตนเอง, การได้รับยาบางชนิด, ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์แต่กำเนิด, การสูญเสียเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์, เนื้องอกหรือมะเร็ง, โรคบางชนิด รวมไปถึงการได้รับธาตุไอโอดีนไม่เพียงพอ

สาเหตุของโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism causes)

  • การสูญเสียเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์: ในผู้ที่ได้รับการรักษาโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปด้วยการให้กัมมันตรังสีไอโอดีน (radioactive iodine) เพื่อทำลายเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ หรือการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ออก สามารถทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปแทนได้
  • แอนติบอดี้ต่อต่อมไทรอยด์ (Antithyroid antibodies): สารภูมิคุ้มกันต่อต่อมไทรอยด์ หรือแอนติบอดี้ต่อต่อมไทรอยด์นี้อาจพบได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1, โรคลูปัส (lupus), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis), โรคตับอักเสบเรื้อรัง, หรือโรค Sjogren's syndrome โดยสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้นี้เป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นและอาจส่งผลลดการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนเพราะมีการทำลายของต่อมไทรอยด์เกิดขึ้น
  • ความผิดปกติของการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital defects in the production of thyroid hormone): ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปสามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่จะต้องตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดทุกรายว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่เกิดหรือไม่ หากร่างกายมีขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมนผิดปกติไป จะทำให้การสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนลดลง และทำให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมน TSH สูงตามมา การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน TSH จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคอพอก (คือการขยายขนาดของต่อมไทรอยด์ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยจะมีการบวมที่ส่วนหน้าของคอ) หากความบกพร่องนี้เป็นในระดับรุนแรง จะทำให้ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำตั้งแต่แรกเกิด ส่งผลให้เด็กมีสติปัญหาด้อย, เป็นคอพอก และการเจริญเติบโตช้า ขาสั้น (hypothyroid cretinsim)
  • สาเหตุจากยา: ยาบางชนิดโดยเฉพาะลิเทียม (lithium) อาจเป็นสาเหตุของโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปได้ (drug-induced hypothyroidism)

โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ Hashimoto’s (Hashimoto's thyroiditis) เป็นสาเหตุหลักของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปในผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายมาทำลายต่อมไทรอยด์ของตนเอง ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนลดลง และมีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน TSH

สาเหตุของโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism causes)

  • โรคเกรฟ (Graves' disease): โรคนี้จัดเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (autoimmune) โดยเกิดจากการกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติโดยสารที่อยู่ในเลือดชื่อว่า thyroid stimulating immunoglobulin (TSI) ซึ่งเป็นสารภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น สาร TSI จะกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์มากเกินไป ทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นเป็นคอพอก และทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางตา (Grave's eye disease) ได้แก่ ตาโปน และตาจ้องดุ  โดยสามารถเป็นมากขึ้นจนมีอาการปวดตาอย่างรุนแรง หรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำให้มีน้ำตาไหลและมองเห็นภาพซ้อนได้ ในกรณีที่เป็นรุนแรง การบวมของตาและเนื้อเยื่อข้างเคียงอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ และโรคนี้ยังทำให้มีอาการผิวหนังหนาบริเวณขา หน้าแข้ง หรือส่วนบนของเท้า
  • คอพอกเป็นพิษชนิดหลายปุ่ม (หลายก้อนเล็กๆ) (Toxic multinodular goiter): ภาวะนี้เกิดจากก้อนของต่อมไทรอยด์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาอย่างต่อเนื่องด้วยตัวเองโดยไม่ขึ้นกับระดับการกระตุ้นของฮอร์โมน TSH ภาวะนี้มักพบในผู้ที่เป็นคอพอกมานาน มักพบในผู้สูงอายุ คอพอกเป็นพิษชนิดนี้ต่างจากโรคเกรฟ เนื่องจากจะไม่มีอาการแทรกซ้อนทางตา และอาการแสดงของโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปจะรุนแรงน้อยกว่า
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute thyroiditis):  ความผิดปกตินี้คือการอักเสบของต่อมไทรอยด์แบบชั่วคราว เช่น de Quervain's thyroiditis หรือ ต่อมไทรอยด์อักเสบกึ่งเฉียบพลันหลังคลอด โดยภาวะนี้จะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายมีการหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้นจากการอักเสบ ทำให้มีไทรอยด์ฮอร์โมนในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น ภายหลังจากไทรอยด์ฮอร์โมนทั้งหมดหลุดออกจากเนื้อเยื่อที่เสียหายแล้ว จะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปขึ้นชั่วคราว และจะมีอาการประมาณ 2-4 เดือน โดยทั่วไป 90% ของผู้ที่มีภาวะนี้ ต่อมไทรอยด์จะกลับมาทำงานเป็นปกติได้โดยไม่ต้องรักษา
  • เนื้องอกของต่อมใต้สมอง (Pituitary adenoma): เนื้องอกที่ต่อมใต้สมองเป็นสาเหตุให้ร่างกายสร้างฮอร์โมน TSH อย่างอิสระ ขาดการควบคุม ทำให้ไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์มากเกินไป
  • เกิดจากยาบางชนิด (Drug-induced hyperthyroidism): โดยทั่วไปมักพับจากยารักษาโรคหัวใจชื่อ อะมิโอดาโรน (amiodarone)

สาเหตุของคอพอกหรือก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Goiter or Nodules Causes)

  • โดยส่วนใหญ่แล้ว ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (nodules )หรือคอพอก (goiters) จะไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ บางคนที่มีอาการคอพอกเกิดขึ้นเป็นเพราะมีการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไป หรือสร้างน้อยเกินไปก็ได้ ส่วนก้อนที่ต่อมไทรอยด์ถูกพบโดยตัวเองหรือแพทย์ที่สังเกตเห็นหรือสัมผัสแล้วรู้สึกว่ามีก้อนที่คอ  หากคอพอกมีขนาดใหญ่มาก ผู้ป่วยจะรู้สึกมีแรงดันเกิดขึ้นที่ส่วนหน้าของคอขณะกำลังกลืนอาหารแข็ง หรือเนื้อแน่น เช่น เนื้อสัตว์ โดยแรงดันที่เกิดขึ้นอาจทำให้มีอาการไอแห้งเรื้อรังเล็กน้อย มันเป็นเรื่องยากที่ต่อมไทรอยด์จะโตมากจนปิดกั้นการกลืนหรือการหายใจอย่างสมบูรณ์ 
  • ก้อนที่ต่อมไทรอยด์โตหลายก้อนเล็ก ๆ (หลายปุ่ม) (multinodular goiter):  ภาวะนี้คือต่อมไทรอยด์มีการโตเป็นหลายก้อนเล็ก ๆ (หลายปุ่ม) โดยมีสาเหตุจาก 2 สาเหตุเท่านั้นที่ทำให้ต่อมไทรอยด์โตเป็นก้อนเล็กๆ 1) การสัมผัสกับรังสีภายนอก หรือ 2) การขาดธาตุไอโอดีน และบ่อยครั้งที่จะพบว่ามีหลายๆ คนในครอบครัวมีก้อนหรือคอพอกของต่อมไทรอยด์ เพราะภาวะนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer): มะเร็งต่อมไทรอยด์แบ่งเป็นชนิดย่อยๆ ได้อีกหลายชนิด แต่ชนิดที่พบได้บ่อยคือ papillary thyroid carcinoma โดยพบได้มากถึง 85% ของมะเร็งต่อมไทรอยด์ทั้งหมด โดยมะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดจากการสัมผัสกับรังสีในวัยเด็กหรือวัยรุ่น ซึ่งรวมไปถึงการสัมผัสกับรังสีที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งอื่น หรือ เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น เหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เซอร์โนบิลระเบิด (Chernobyl) แต่ส่วนใหญ่แล้วเรามักไม่ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ 

29 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Common Thyroid Gland Diseases and Problems to Watch For. Healthline. (https://www.healthline.com/health/common-thyroid-disorders)
Thyroid Disorders: Types, Symptoms, Treatment, Causes & Curable. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/thyroid_disorders/article.htm)
Thyroid Problems & Disease - Types & Causes. WebMD. (https://www.webmd.com/women/guide/understanding-thyroid-problems-basics#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร

รู้หรือไม่ว่า Sofia Vergara นักแสดงสาวที่มีชื่อเสียงจากเรื่อง Modern Family เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มาก่อน

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ควรรับประทานหรือระวังอะไรหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

อ่านเพิ่ม