ภาวะบวมน้ำเหลืองมีอยู่ 2 ชนิด คือ ภาวะบวมน้ำเหลืองปฐมภูมิ (primary lymphoedema) และภาวะบวมน้ำเหลืองทุติยภูมิ (secondary lymphoedema) ซึ่งมีสาเหตุของการเกิดแตกต่างกัน
สาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลืองปฐมภูมิ และภาวะบวมน้ำเหลืองทุติยภูมิ มีรายละเอียดดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ภาวะบวมน้ำเหลืองปฐมภูมิ (Primary lymphoedema)
ภาวะบวมน้ำเหลืองปฐมภูมิ มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลง (การกลายพันธุ์) ของยีนที่ควบคุมการพัฒนาระบบน้ำเหลืองในร่างกาย (ระบบน้ำเหลืองคือระบบที่ประกอบไปด้วยท่อและต่อมน้ำเหลืองที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย มีหน้าที่ช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อและช่วยกำจัดของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย)
ความผิดปกติของยีนจะทำให้ระบบน้ำเหลืองบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการระบายของเหลวไม่พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น หรือไม่ทำงานตามปกติอย่างที่ควร
ภาวะบวมน้ำเหลืองปฐมภูมิ มักพบในบุคคลในครอบครัวเดียวกัน แต่ไม่ใช่เด็กที่เกิดจากผู้ที่มีภาวะบวมน้ำเหลืองทุกคนจะต้องเป็นภาวะบวมน้ำเหลือง
ภาวะบวมน้ำเหลืองทุติยภูมิ (secondary lymphoedema)
ภาวะบวมน้ำเหลืองทุติยภูมิจะเกิดขึ้นในคนที่มีระบบน้ำเหลืองเป็นปกติดีอยู่ก่อน
สาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลืองทุติยภูมิมีหลายสาเหตุ สาเหตุบางส่วนที่พบได้บ่อย มีดังนี้:
การผ่าตัดมะเร็ง
เซลล์มะเร็งสามารถแพร่ไปบริเวณต่างๆ ของร่างกายรวมถึงระบบน้ำเหลือง ดังนั้นในการรักษามะเร็งด้วยการผ่าตัด อาจมีการตัดส่วนของระบบน้ำเหลืองบริเวณนั้นออกไปด้วย เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีเซลล์มะเร็งอยู่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อย่างไรก็ตามแพทย์ผู้ผ่าตัดจะพยายามจำกัดการทำลายระบบน้ำเหลืองให้มากที่สุด แต่ก็ไม่สามารถทำได้เสมอไป
จะพบภาวะบวมน้ำเหลืองได้บ่อยจากการรักษามะเร็ง:
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (โรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังที่ชื่อว่า melanocyte)
- มะเร็งนรีเวช เช่น มะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งอวัยวะเพศหญิง
- มะเร็งของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือ มะเร็งอวัยวะเพศชาย
การฉายรังสี (radiotherapy)
การฉายรังสี คือการใช้รังสีพลังงานสูงฉายเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย แต่รังสีนี้สามารถทำลายเซลล์ปกติของร่างกายได้ด้วย
ถ้ามีความจำเป็นต้องฉายรังสีเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งในระบบน้ำเหลือง จะทำให้มีความเสี่ยงที่ระบบน้ำเหลืองจะเสียหายถาวรและไม่สามารถกำจัดของเหลวออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม
การติดเชื้อ
ในผู้ป่วยบางราย การติดเชื้อสามารถเป็นสาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลืองได้
การติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่ออย่างเฉียบพลัน (cellulitis) คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง และเป็นสาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลืองได้ การติดเชื้ออย่างรุนแรงจะทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ ระบบน้ำเหลืองได้รับความเสียหาย และทำให้เกิดแผลเป็นขึ้นได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การติดเชื้ออื่นๆ ที่พบได้และเป็นสาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลืองคือการติดเชื้อพยาธิ ได้แก่ โรคเท้าช้าง ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลืองที่พบได้บ่อยทั่วโลก
การอักเสบ
สภาวะที่ทำให้เนื้อเยื่อภายในร่างกายมีการอักเสบ คือมีอาการบวมและแดง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายของระบบน้ำเหลืองถาวร สภาวะทางการแพทย์ที่เป็นสาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลือง ได้แก่:
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis): เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดและบวมที่ข้อ
- ผื่นผิวหนังอักเสบ (eczema): ผิวหนังจะมีอาการคัน แดง แห้ง และผิวหนังแตก
โรคที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดดำ (Venous diseases)
โรคที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของเลือดที่หลอดเลือดดำสามารถทำให้เกิดภาวะบวมน้ำเหลืองได้ในบางราย ความผิดปกติของเส้นเลือดดำ หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดดำ จะทำให้ของเหลวในเลือดรั่วออกจากหลอดเลือดเข้าสู่ที่ว่างของเนื้อเยื่อรอบๆ ซึ่งมากเกินกว่ากำลังของระบบน้ำเหลืองในการกำจัดของเหลวส่วนเกินนี้
โรคที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดดำบางโรคที่ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำเหลือง ได้แก่:
- โรคลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep vein thrombosis: DVT): คือโรคที่มีการอุดตันของเลือดที่เส้นเลือดดำส่วนลึกของร่างกาย
- เส้นเลือดขอด (varicose veins): คือมีการบวมและขยายของเส้นเลือดดำ ซึ่งการระบายของเลือดในเส้นเลือดดำจะแย่กว่าปกติ ทำให้เกิดแรงดันสูงในเส้นเลือดดำ และดันน้ำออกจากเส้นเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ
อ้วน
ในคนที่อ้วน โดยเฉพาะคนที่อ้วนอย่างรุนแรง จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะบวมน้ำเหลือง แต่ยังไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แต่คาดว่าอาจเกิดขึ้นจากไขมันส่วนเกินส่งผลต่อระบบท่อน้ำเหลืองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทำให้ลดการระบายของเหลวผ่านท่อเหล่านั้น
ในกรณีนี้ การลดน้ำหนักคือสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษา แม้เพียงเริ่มต้นการลดน้ำหนัก ก็จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
อุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
มีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่เกิดภาวะบวมน้ำเหลืองจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต่อระบบน้ำเหลือง ตัวอย่างเช่น อาจเกิดภาวะบวมน้ำเหลืองขึ้นหลังการสูญเสียเนื้อเยื่ออ่อนเป็นบริเวณกว้าง หรือมีการฟกช้ำของเนื้อเยื่อ
การขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย
การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกายจะช่วยระบายน้ำเหลืองในร่างกาย เพราะกล้ามเนื้อรอบๆ ท่อน้ำเหลืองจะช่วยออกแรงส่งน้ำเหลืองผ่านท่อเพื่อระบายน้ำเหลืองได้ ดังนั้นหากขาดการเคลื่อนไหวร่างกายจะทำให้เกิดภาวะบวมน้ำเหลืองขึ้นได้ เนื่องจากน้ำเหลืองไม่สามารถเคลื่อนที่ในระบบน้ำเหลืองได้ดีพอ ทำให้เกิดการคั่งและบวมขึ้น
ตัวอย่างเช่น ในผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน เช่นได้รับการผ่าตัดหรือป่วยเป็นโรคที่ต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะบวมน้ำเหลือง
การวินิจฉัย
ถ้าคุณกำลังได้รับการรักษาโรคมะเร็งและมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะบวมน้ำเหลือง คุณจะได้รับการติดตามจากแพทย์ถึงการเกิดภาวะดังกล่าว หรือถ้าหากคุณมีอาการบวมเกิดขึ้น ให้ไปพบแพทย์
ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะบวมน้ำเหลืองได้จาก:
- การซักประวัติเกี่ยวกับอาการและประวัติทางการแพทย์
- ตรวจร่างกายตามส่วนต่างๆ ที่มีอาการบวม เพื่อวัดขนาดการบวมที่เกิดขึ้น
การตรวจเพิ่มเติม
แม้ว่าจะไม่จำเป็นในผู้ป่วยส่วนใหญ่ แต่การตรวจเพิ่มเติมอาจจำเป็นในบางครั้ง เพื่อใช้ในการประเมินและติดตามอาการของคุณ โดยการตรวจเพิ่มเติมมีดังนี้
การวัดปริมาตรของแขนขา
ในบางกรณี แพทย์จะทำการคำนวณปริมาตรของแขนขาที่เกิดอาการ ดังนี้
- ใช้เทปเพื่อวัดเส้นรอบวงที่บริเวณแขนขา เพื่อคำนวณเป็นปริมาตร
- ทดสอบการแทนที่น้ำ: นำแขนขาที่มีอาการจุ่มลงในแทงก์น้ำ และวัดปริมาณน้ำที่ถูกแทนที่ และนำไปคำนวณเป็นปริมาตรแขนขา
- Perometry: เป็นการใช้แสงอินฟราเรดวัดเค้าโครงของบริเวณแขนขาที่มีอาการ และคำนวณออกมาเป็นปริมาตร
การวัดองค์ประกอบของร่างกายจากความต้านทานไฟฟ้า (Bioimpedance testing)
ระหว่างการวัดองค์ประกอบของร่างกายจากความต้านทานไฟฟ้า คุณจะได้รับการวางขั้วไฟฟ้า (แผ่นโลหะขนาดเล็ก) ที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย ขั้วไฟฟ้าจะปล่อยประจุไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยและไม่เจ็บปวด ซึ่งสามารถวัดโดยอุปกรณ์ที่ถืออยู่ในมือผู้ตรวจ การเปลี่ยนแปลงความแรงของกระแสไฟฟ้าสามารถบ่งบอกถึงการมีของเหลวในเนื้อเยื่อของคุณ
การถ่ายภาพทางการแพทย์ (Imaging tests)
การถ่ายภาพทางการแพทย์อาจถูกใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยและติดตามอาการของภาวะบวมน้ำเหลือง มีรายละเอียดดังนี้:
- Lymphoscintigraphy: การตรวจนี้คุณจะได้รับการฉีดสีกัมมันตภาพรังสี (radioactive dye) ซึ่งจะช่วยให้ติดตามได้ผ่านการใช้เครื่องสแกนชนิดพิเศษ โดยจะมองเห็นการเคลื่อนที่ของสีไปที่บริเวณต่างๆ ของระบบน้ำเหลือง และช่วยบอกได้ว่าบริเวณไหนบ้างที่มีการอุดตันของทางเดินน้ำเหลือง
- การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging (MRI) scan): การถ่ายภาพนี้จะใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยในการถ่ายภาพ เพื่อแสดงรายละเอียดของสิ่งที่อยู่ภายในร่างกายคุณ
- การอัลตราซาวด์: เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อสร้างภาพของสิ่งที่อยู่ภายในร่างกาย
- การใช้เครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (computerised tomography (CT) scan): เป็นการใช้รังสีเอกซ์ร่วมกับคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างรายละเอียดภาพของต่อมน้ำเหลือง
การตรวจสแกนต่างๆ ข้างต้นจะช่วยให้เห็นภาพของบริเวณที่เกิดภาวะบวมน้ำเหลืองอย่างชัดเจน
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/lymphoedema#causes
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/lymphoedema#diagnosis