สาเหตุของการปวดท้อง

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สาเหตุของการปวดท้อง

โรคลำไส้แปรปรวน: อาการปวดท้องส่วนล่าง

หากคุณมีอาการปวดท้องร่วมกับท้องอืด มีแก๊ซและมีการขับถ่ายที่ผิดปกติไม่ว่าจะเป็นท้องผูกหรือท้องเสีย มันอาจจะเป็นอาการของโรคลำไส้แปรปรวน โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยในหมู่โรคทางระบบทางเดินอาหาร และถึงแม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค แต่มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่าผู้ที่เป็นโรคนี้นั้นมีลำไส้ที่ไวต่อสิ่งต่างๆ มากกว่าปกติ โรคนี้ไม่ทำให้มีน้ำหนักลดหรือมีเลือดออกทาวทวารหนัก ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวแสดงว่าน่าจะเกิดจากโรคอื่น

โรคลำไส้อักเสบ: อาการปวดท้องแบบบีบๆ ร่วมกับการถ่ายเป็นเลือด

อาการปวดลักษณะนี้มักแสดงว่าเป็นอาการของกลุ่มโรคลำไส้อักเสบซึ่งประกอบไปด้วย Crohn’s disease และ ulcerative colitis ทั้ง 2 โรคนี้มีอาการที่คล้ายคลึงกันทำให้แยกออกจากกันได้ยาก แต่อย่าเพิ่งสับสนกับโรคลำไส้แปรปรวน โรคลำไส้อักเสบนั้นพบได้น้อยกว่ามากและมีอาการที่รุนแรงกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการแสบร้อนกลางหน้าอก

หากคุณมักมีอาการนี้หลังจากรับประทานอาหารมื้อใหญ่ที่มีไขมันมาก มันจะเกิดจากภาวะกระไหลย้อนขึ้นมาตามหลอดอาหารและคอหอยและทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอก การมีอาการเป็นบางครั้งนั้นเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องกังวลแต่ถ้าหากมีอาการเรื้อรังจะแสดงว่าเป็นโรคซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเรื้อรังได้หากไม่ได้รับการรักษา

นิ่วในถุงน้ำดี

หากอาการปวดท้องนั้นเกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ และเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมันๆ อาจแสดงว่าเกิดจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี โดยเฉพาะหากคุณเป็นผู้หญิง อายุมากกว่า 40 ปีและมีลูก ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้นเนื่องจากการมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ซึ่งมักพบในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นอาจทำให้เกิดนิ่วได้ นิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ ได้หลายปี ยกเว้นเมื่อพวกมันทำให้ท่อน้ำดีอุดตัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดเป็นๆ หายๆ

แผลในทางเดินอาหาร : อาการปวดท้องที่ดีขึ้นหลังจากกินยาลดกรด

อาการเหล่านี้เป็นอาการที่เป็นลักษณะของโรคแผลในกระเพาะอาหาร ร่วมกับอาการท้องอืด เรอ เบื่ออาหารและน้ำหนักลด แผลในทางเดินอาหารนั้นอาจเกิดที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนบนก็ได้ แผลเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากความเครียด แต่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Helicobacter pylori (H. Pylori) ซึ่งทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร หรือการใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่นแอสไพรินหรือ ibuprofen มากเกินไป การตรวจเลือดนั้นสามารถตรวจได้ว่ามีแบคทีเรียอยู่หรือไม่

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ: อาการปวดแบบฉับพลันที่บริเวณท้องด้านล่างซ้าย

หากคุณมีอาการปวดขึ้นมาอย่างฉับพลันร่วมกับการมีแก๊ซในท้อง อาจแสดงว่าคุณเป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคนี้เป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่มีเพียง 10-20% ของผู้ที่มีถุงผนังลำไส้ใหญ่ยื่นออกไปเท่านั้นที่จะเกิดการอักเสบและมีอาการเช่นท้องอืด ปวดท้อง มวนท้องและท้องผูก โรคนี้มักเกิดจากการรับประทานเส้นใยอาหารที่น้อยเกินไป

ไส้ติ่งอักเสบ : อาการปวดอย่างรุนแรงฉับพลันที่ท้างด้านขวาล่าง 

อาการปวดลักษณะนี้อาจแสดงว่าคุณกำลังเป็นไส้ติ่งอักเสบ โดยเฉพาะหากคุณมีไข้ต่ำๆ แน่นท้อง รู้สึกท้องผูกหรือท้องเสีย หากคุณเป็นไส้ติ่งอักเสบจริง อาการปวดนั้นมักจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนคุณอยู่นิ่งๆ ไม่ได้ และจะปวดมากขึ้นหากทำกิจกรรมที่เพิ่มความดันไปที่บริเวณดังกล่าวเช่นหายใจลึกๆ ไอ หรือคัดจมูก ไส้ติ่งที่อักเสบนี้มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและจัดเป็หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการผ่าตัดฉุกเฉินบ่อยที่สุด ไส้ติ่งที่อักเสบนั้นควรจะถูกตัดออกก่อนที่จะแตก


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Abdominal pain: Common and uncommon causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318286)
William C. Shiel Jr., MD, FACP, FACR, Abdominal Pain (https://www.medicinenet.com/abdominal_pain/symptoms.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป