สาเหตุและการวินิจฉัยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
สาเหตุและการวินิจฉัยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้ามักเกิดจากการกดทับเส้นประสาทโดยเส้นเลือด หรือภาวะอื่น ๆที่กดทับหรือทำลายเส้นประสาทเส้นดังกล่าว และจะได้รับการวินิจฉัยจากลักษณะอาการเจ็บปวดของคุณร่วมกับการตัดภาวะอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้องออก

สาเหตุของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

ถึงแม้ว่าสาเหตุของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าที่แท้จริงจะไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการกดทับเส้นประสาทที่เลี้ยงบริเวณใบหน้า หรือภาวะทางการแพทย์ที่มีผลต่อเส้นประสาทนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal nerve)

เส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทไตรเจมินอลหรือเส้นประสาทคู่ที่ห้านั้นเป็นเส้นประสาทที่ใหญ่ที่สุดภายในกะโหลกศีรษะ คุณมีเส้นประสาทแบบนี้อยู่สองเส้นวิ่งอยู่คนละฝั่งของใบหน้า โดยแขนงเส้นประสาทขนาดเล็กจากส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าจะรวมตัวกันเข้ามาเป็นสาขาเส้นประสาทที่สำคัญสามเส้นด้วยกัน สาขาเส้นประสาทเหล่าทั้งสามนั้น ได้แก่:

  • เส้นประสาทสาขาบน (Opthalmic branch) - ซึ่งนำข้อมูลประสาทสัมผัสจากผิวหนังเหนือดวงตา บริเวณหน้าผาก และด้านหน้าของศีรษะไปยังสมอง
  • เส้นประสาทสาขากลาง (Maxillary branch) - ซึ่งนำข้อมูลประสาทสัมผัสจากผิวหนังด้านแก้มทั้งสองข้าง ผิวหนังข้างจมูก ขากรรไกรบน ฟันบนและเหงือกโดยรอบไปยังสมอง
  • เส้นประสาทสาขาล่าง (Mandibular branch) - ซึ่งนำข้อมูลประสาทสัมผัสจากผิวหนังในขากรรไกรล่าง ฟันล่างและเหงือกโดยรอบไปยังสมอง

สาขาเส้นประสาทเหล่านี้จะเข้าสู่กะโหลกศีรษะผ่านช่องทางที่แตกต่างกันสามช่อง และจากนั้นก็จะรวมกันในจุดที่เรียกว่าปมประสาท (Gasserian ganglion) ก่อนที่จะเชื่อมต่อกับส่วนก้านสมองในบริเวณกะโหลกศีรษะที่เรียกว่าแอ่งด้านหลัง (Posterior fossa)

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าอาจเกิดขึ้นกับสาขาเส้นประสาทเพียงสาขาเดียวหนึ่งหรือหลายสาขาก็ได้  โดยทั่วไปสาขาเส้นประสาทส่วนกลางและส่วนล่างจะได้รับผลกระทบมากที่สุด และสาขาเส้นประสาทส่วนบนมักไม่ค่อยได้รับผลกระทบ

แรงกดบนเส้นประสาทใบหน้า

มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าใน 95% ของกรณีผู้ป่วยนั้นสาเหตุของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า เกิดจากแรงกดดันบนเส้นประสาทใบหน้าใกล้กับบริเวณที่เส้นประสาทดังกล่าวเข้าสู่ก้านสมอง ซึ่งส่วนต่ำสุดของสมองที่เชื่อมผสานกับเส้นประสาทไขสันหลังผ่านปมประสาท Gasserian

ส่วนใหญ่แรงกดนั้นมักเกิดจากเส้นเลือดแดงหรือเส้นเลือดดำซึ่งกดลงบนเส้นประสาท ใบหน้าแม้ว่าจะไม่ทราบว่าทำไมถึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น

ยังไม่มีเหตุผลชัดเจนว่าทำไมแรงกดนั้นถึงสามารถทำให้เกิดอาการปวดกำเริบเนื่องจากไม่ใช่ทุกคนเส้นประสาทใบหน้าถูกกดจะเกิดอาการเจ็บปวดกำเริบเสมอไป อาจเป็นไปได้ว่าในบางคน แรงกดดันนั้นรุนแรงจนชั้นเยื่อไมอีลินซึ่งห่อหุ้มปกป้องเส้นประสาทอยู่หลุดลอกออกและอาจทำให้เกิดอาการปวดที่ไม่สามารถควบคุมได้เดินทางไปตามแนวเส้นประสาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีดังกล่าวไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า ทำไมจึงมีเวลาที่อาการนั้นบรรเทาหรือเกิดช่วงระยะเวลาไม่มีอาการขึ้นได้รวมถึงคำถามที่ว่าทำไมอาการปวดจึงบรรเทาทันทีหลังจากการผ่าตัดเพื่อเคลื่อนย้ายหลอดเลือดออกจากแนวเส้นประสาท

สาเหตุอื่น ๆ

สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดแรงกดลงบนเส้นประสาทใบหน้าหรือทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทใบหน้านั้น ได้แก่:

  • เนื้องอก
  • ถุงน้ำหรือที่เรียกว่าซีสต์
  • โรคเอวีเอ็ม หรือรูปของเส้นเลือดดำและแดงผิดปกติ
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis - MS) ซึ่งเป็นความผิดปกติเรื้อรังที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทั้งสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง

การวินิจฉัยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

เนื่องจากความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคปวดเส้นประสาทใบหน้านั้นมักพบในขากรรไกร ฟัน หรือเหงือกจึงเป็นเรื่องปกติที่ครั้งแรกผู้ป่วยจะเข้าพบทันตแพทย์แทนที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการ

หากคุณเข้าพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษาอาการ พวกเขาจะซักถามคำถามเกี่ยวกับอาการปวดของคุณและตรวจสอบอาการปวดบริเวณใบหน้าเพิ่มเติมโดยอาจถ่ายภาพรังสีทันตกรรม การตรวจช่องปากและวิธีอื่น ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุอื่นที่เป็นไปได้จากในช่องปากซึ่งพบได้บ่อยกว่า เช่น ฟันผุทะลุโพรงประสาท การติดเชื้อทางทันตกรรม หรือฟันแตก เป็นต้น

หากทันตแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุจากในช่องปากได้ สิ่งสำคัญคือไม่ควรกดดันให้ทันตแพทย์ทำการรักษาทางทันตกรรมโดยไม่จำเป็น เช่น การรักษาคลองรากฟันหรือการถอนฟัน แม้ว่าคุณเชื่อว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับฟันจริง ๆ หากทันตแพทย์ไม่พบสิ่งผิดปกติอย่าพยายามโน้มน้าวให้พวกเขาถอนฟัน  เนื่องจากจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้และจะสูญเสียฟันไปโดยเสียเปล่า

บ่อยครั้งที่การวินิจฉัยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าจะทำโดยทันตแพทย์ แต่ถ้าคุณได้พบทันตแพทย์ของคุณแล้วและพวกเขายังไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนของอาการปวดได้ โปรดเข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ขั้นตอนการตรวจโดยแพทย์สำหรับโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

ไม่มีการทดสอบที่จำเพาะสำหรับโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า ดังนั้นการวินิจฉัยส่วนใหญ่จึงขึ้นอยู่กับอาการของคุณ และคำอธิบายของความเจ็บปวดของคุณ

หากคุณประสบกับอาการปวดบนใบหน้า แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะถามคำถามเกี่ยวกับอาการของคุณ เช่น ความถี่ที่เกิดขึ้น ความเจ็บปวดจากอาการปวดกำเริบรอบสุดท้ายนานเท่าใด และบริเวณใบหน้าส่วนใดของคุณที่ได้รับผลกระทบ ยิ่งให้รายละเอียดได้มากเท่าใดก็ยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น

แพทย์ประจำตัวของคุณจะพิจารณาสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ ของอาการปวดของคุณและอาจตรวจบริเวณศีรษะและขากรรไกรของคุณเพื่อระบุว่าส่วนใดที่เกิดอาการเจ็บปวด

การตัดสภาวะที่เป็นไปได้อื่น ๆ

ส่วนสำคัญของกระบวนการวินิจฉัยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า คือการตัดวินิจฉัยภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและอาจทำให้เกิดอาการปวดบนใบหน้าคล้ายกัน

แพทย์จะทำการซักถามเกี่ยวกับอาการของคุณและการตรวจร่างกาย จากนั้นแพทย์ของคุณจึงจะสามารถตัดภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ออกไปได้ เช่น:

  • อาการปวดหัวไมเกรน
  • อาการปวดข้อต่อขากรรไกร
  • โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ (Gaint cell arteritis / temporal arteritis) - ความผิดปกติที่หลอดเลือดแดงขนาดกลางและขนาดใหญ่ในบริเวณศีรษะและลำคอเกิดการอักเสบและทำให้เกิดอาการปวดในบริเวณขากรรไกรและขมับ
  • การบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับเส้นประสาทใบหน้าเส้นใดเส้นหนึ่ง

ประวัติทางการแพทย์ ประวัติส่วนบุคคล และประวัติครอบครัวของคุณจะต้องถูกนำมาพิจารณาเพื่อพิจารณาถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ของการเจ็บปวดของคุณ

ตัวอย่างเช่น โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าจะมีโอกาสเกิดน้อยกว่าหากคุณมีอายุต่ำกว่า 40 ปี และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis) นั้นอาจมีโอกาสเกิดได้มากขึ้นหากคุณมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคดังกล่าว หรือถ้าคุณมีอาการอื่นที่ใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม โรคปวดเส้นประสาทใบหน้านั้นมักไม่ใช่อาการแสดงแรกของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI scans)

หากแพทย์ประจำตัวของคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับการวินิจฉัยของคุณ หรือถ้าคุณมีอาการที่ผิดปกติ พวกเขาอาจจะส่งคุณตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณศีรษะของคุณ

การตรวจดังกล่าวใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความถี่สูงเพื่อทำให้เกิดภาพที่แสดงรายละเอียดภายในศีรษะของคุณและสามารถช่วยแพทย์ระบุถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ของการปวดบริเวณใบหน้า เช่น โพรงอากาศข้างจมูกอักเสบ เนื้องอกบนเส้นประสาทใบหน้า หรือความเสียหายของเส้นประสาทที่เกิดจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นต้น

บางครั้งการสแกนเอ็มอาร์ไอสามารถตรวจจับได้ว่าเส้นเลือดที่อยู่ในหัวของคุณกำลังกดบีบสาขาใดสาขาหนึ่งของเส้นประสาทใบหน้าหรือไม่ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า อย่างไรก็ตามการสแกนเอ็มอาร์ไออาจจำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเพื่อให้เห็นข้อมูลอย่างถูกต้อง แม้ว่าการตรวจที่ซับซ้อนนี้อาจจะไม่จำเป็นว่าจะได้ประโยชน์ก็ตามเพราะไม่ใช่ทุกคนที่มีแรงบีบกดบนเส้นประสาทใบหน้าจะเกิดอาการปวดเส้นประสาทขึ้น

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/trigeminal-neuralgia#diagnosis


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bell's Palsy (Facial Nerve Problems): Symptoms, Treatment & Contagious. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/facial_nerve_problems/article.htm)
Trigeminal neuralgia: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/160252)
Facial Paralysis: Causes, Symptoms, & Diagnosis. Healthline. (https://www.healthline.com/health/facial-paralysis)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป