โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2

เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำคืออะไร?

โรคมะเร็งที่ย้อนกลับมาเป็นซ้ำ (recurrence/relapse) หมายถึง เมื่อเป็น โรคมะเร็งและได้รับการรักษาจนครบแล้ว แพทย์ได้ตรวจร่างกายและ/หรือตรวจ ทางเอกซเรย์ และอาจดูด/เจาะ/ตัดบริเวณที่เคยเป็นมะเร็ง (รอยโรค) หรือต่อมน้ำเหลือง ไปตรวจทางเซลล์วิทยา/พยาธิวิทยา แล้วไม่พบมะเร็ง แต่เมื่อติดตาม โรคไประยะหนึ่ง มักนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป กลับตรวจพบว่า ตรงตำแหน่งโรค และต่อมน้ำเหลืองใกล้กับรอยโรคเดิม กลับเกิดมะเร็งชนิดเดิมขึ้นมาอีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคมะเร็งชนิดที่ 2 (Second primary cancer) คืออะไร?

โรคมะเร็งชนิดที่ 2 หมายความว่า เมื่อ เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งแล้ว แพทย์ยังตรวจพบโรคมะเร็งอีกชนิด ซึ่งเป็นคนละชนิดกันและเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อ/อวัยวะอื่น ไม่ใช่เนื้อเยื่อ/อวัยวะ/รอยโรคเดิม 

จึงเรียกโรคมะเร็งที่ตรวจพบเพิ่มนี้ว่า โรคมะเร็งชนิดที่ 2 และเรียกโรคมะเร็งชนิด เดิมว่า โรคมะเร็งชนิดเดิม/ชนิดแรก/ชนิดที่ 1 (first primary cancer) ซึ่งใน ผู้ป่วยบางราย อาจเกิดโรคมะเร็งชนิดที่ 3 ชนิดที่ 4 และอีกหลายชนิด (มีโอกาส เกิดน้อยมาก)

โรคมะเร็งชนิดที่ 2 นี้ แพทย์อาจตรวจพบพร้อมกับโรคมะเร็งชนิดที่ 1 หรืออาจตรวจพบในภายหลัง กล่าวคือโรคไม่ได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน โดยมะเร็ง ชนิดที่ 2 จะเกิดภายหลังชนิดที่ 1 เมื่อไรก็ได้ อาจห่างกันเป็นเดือนหรือนานถึง 10-30 ปี หรือนานกว่านั้น

โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำเกิดจากอะไร พบได้บ่อยหรือไม่?

โรคมะเร็งทุกชนิดมีโอกาสเกิดย้อนกลับเป็นซ้ำได้อีก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่

  • การดื้อต่อยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาของเซลล์มะเร็ง ทำให้โอกาสเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำมีสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุด
  • ระยะของโรคมะเร็ง ระยะโรคยิ่งสูง โอกาสเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำก็มีมาก
  • การผ่าตัดเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกได้ไม่หมด ทำให้โอกาสเกิดโรคย้อน กลับเป็นซ้ำมีสูง
  • การที่ผู้ป่วยไม่หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งนั้นๆ เช่น สูบบุหรี่และเหล้า จึงมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำสูง
  • บ่อยครั้งแพทย์หาสาเหตุไม่ได้
  • การมีพันธุกรรมผิดปรกติบางชนิด ทั้งชนิดถ่ายทอดได้และชนิดไม่ ถ่ายทอด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้านมซึ่งเกิดจากพันธุกรรมผิดปรกติชนิดถ่ายทอดได้ เมื่อเป็นโรค มะเร็งชนิดที่ 1 แล้ว พันธุกรรมผิดปรกติที่ก่อโรคมะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยมีโอกาสเกิด โรคมะเร็งรังไข่ ซึ่งเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ 2 ได้อีก
  • ปัจจัยเสี่ยงเดิมของผู้ป่วย เช่นผู้ป่วยโรคมะเร็งคอหอยส่วนกล่องเสียง มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้คือ การดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยง เดียวกับการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร ดังนั้น ผู้ป่วย จึงมีโอกาสเกิดโรคมะเร็ง หลอดอาหาร เป็นโรคมะเร็งชนิดที่ 2
  • การที่ผู้ป่วยไม่หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เช่น การ สูบบุหรี่ การดื่มเหล้า เช่นผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งโพรงหลังจมูก แต่ยังคงสูบบุหรี่ และดื่มเหล้า ก็จะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียง เป็นโรคมะเร็งชนิดที่ 2 ได้ อีก ทั้งนี้ เพราะปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียงคือ การสูบบุหรี่และดื่มเหล้า
  • ผลข้างเคียง/แทรกซ้อนระยะยาว จากการรักษาด้วยรังสีรักษาหรือเคมี บำบัด ซึ่งการเกิดจากโรคมะเร็งชนิดที่ 2 สาเหตุนี้ มักเกิดภายหลังครบการรักษา ไปแล้ว นาน 10 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งในเด็ก มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งชนิดที่ 2 จากสาเหตุนี้ได้มากกว่าในผู้ใหญ่
  • การสอบถามประวัติอาการ
  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจทางเอกซเรย์
  • การตรวจเลือดดูค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ (tumor marker) ซึ่งใช้ ได้กับโรคมะเร็งบางชนิดเท่านั้น
  • การตรวจพิเศษอื่น ๆ ตามอาการของผู้ป่วยและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่นการส่องกล้องตรวจทวารหนัก เมื่อผู้ป่วยอุจจาระเป็นเลือด
  • การดูด เจาะ และการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อ/รอยโรค ไปตรวจทาง เซลล์วิทยาและพยาธิวิทยา

โรคมะเร็งชนิดที่ 2 เกิดจากอะไร พบได้บ่อยหรือไม่ ?

ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกราย เมื่อหายจากโรคแล้ว จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ 2 ได้ประมาณ ร้อยละ 5-10 โดยมีปัจจัยเสี่ยง เช่น

รู้ได้อย่างไรว่ามีโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ ? 

มะเร็งชนิดที่ 2 ? แพทย์วินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ หรือโรคมะเร็งชนิด ที่ 2 ด้วยวิธีการเดียวกัน ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2 มีการจัดระยะโรคอย่างไร ?

ในโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ หากตรวจไม่พบการแพร่กระจายของโรค แพทย์จะเรียกว่า “โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ” มักไม่มีการจัด ระยะโรคใหม่ แต่ถ้าพบว่ามีการแพร่กระจายของโรค แพทย์จะเรียกว่า “โรค มะเร็งระยะที่ 4 ร่วมกับมีการย้อนกลับเป็นซ้ำของโรค”

ส่วนโรคมะเร็งชนิดที่ 2 จะมีการแบ่งระยะโรค เช่นเดียวกับในโรคมะเร็ง ทั่วไป ตามแต่ชนิดของโรคมะเร็งนั้น ๆ

โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2 มีวิธีรักษาอย่างไร?

วิธีการรักษาหลักในโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำหรือโรคมะเร็งชนิดที่ก็เช่นเดียวกับการรักษาในครั้งแรกคือ การผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด ยารักษามะเร็งชนิดต่างๆ การรักษาบรรเทา/ประทั้งอาการ และการรักษา ประคับประคอง/พยุงอาการ/การรักษาทางอายุรกรรมทั่วไป ส่วนจะรักษาด้วยวิธี การใดก็ขึ้นอยู่กับระยะโรค การลุกลามของโรค ผลจากการรักษาและผลข้างเคียง/แทรกซ้อนจากวิธีการเดิมที่เคยรักษามาแล้ว อายุและสุขภาพของผู้ป่วยใน ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (เฉพาะบางราย ขึ้น กับอายุและสุขภาพของผู้ป่วย) อาจใช้การปลูกถ่ายไขกระดูก/สเต็มเซลล์หรือ ยารักษาตรงเป้า อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาดังกล่าว ยังมีค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่ ผู้ป่วยทุกคนจะเข้าถึงได้

ส่วนในโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ การใช้ยารักษาตรงเป้า การปลูกถ่ายไขกระดูก (สเต็มเซลล์ การปลูกถ่ายอวัยวะ หรือการรักษาวิธีอื่น ๆ ยังอยู่ในระหว่างการ ศึกษา

โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2 รักษาหายได้หรือไม่ ?

โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ จัดเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง โอกาสรักษาหายมีน้อย การรักษาส่วนใหญ่มักเป็นการรักษาบรรเทา/ประทั่ง อาการและ/หรือประคับประคอง/พยุงอาการ/การรักษาแบบทางอายุรกรรมทั่วไปเพื่อคงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่อย่างไรก็ตาม โอกาสรักษาหายขึ้นอยู่กับการ ลุกลาม/แพร่กระจายของโรคที่เกิดขึ้นใหม่ ผลข้างเคียง/แทรกซ้อนจากการ รักษาครั้งแรก อายุและสุขภาพของผู้ป่วย

ส่วนโรคมะเร็งชนิดที่ 2 มีโอกาสรักษาหายได้ตามธรรมชาติของโรคนั้นๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะโรค อายุและสุขภาพของผู้ป่วย และผลข้างเคียงแทรกซ้อน จากการรักษาโรคมะเร็งชนิดแรก (อ่านเพิ่มเติมในแต่ละบทของโรคมะเร็งชนิด ต่างๆ)

มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำหรือโรคมะเร็งชนิดที่ 2 หรือไม่?

 ภายหลังครบการรักษาโรคมะเร็ง แพทย์ผู้ให้การรักษาโรคมะเร็ง จะยังคงนัดตรวจผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ตามปัจจัยเสี่ยงของผู้ ป่วย เพื่อตรวจติดตามผลการรักษา ซึ่งก็เท่ากับเป็นการตรวจหาโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ และโรคมะเร็งชนิดที่ 2 นั่นเอง

มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2 หรือไม่?

ตอบ : วิธีป้องกันการเกิดโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ และการเกิดมะเร็งชนิดที่ 2 ที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของโรค มะเร็งดังที่กล่าวแล้วในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารก่อมะเร็ง โรคอ้วน การสำส่อนทางเพศและการไม่ออกกำลังกาย (อ่านเพิ่ม เติมในบทต่างๆ ของโรคมะเร็งชนิดต่างๆ)


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Treatment Choices for Endometrial Cancer, by Stage. American Cancer Society. (https://www.cancer.org/cancer/endometrial-cancer/treating/by-stage.html)
Recent Advances in Endometrial Cancer. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5288678/)
Targeted Therapies in Type II Endometrial Cancers: Too Little, but Not Too Late. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6121653/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สถิติของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งขั้นพื้นฐาน
สถิติของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งขั้นพื้นฐาน

ข้อเท็จจริงจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)

อ่านเพิ่ม
5 สถานที่ที่คุณสามารถหาวิกผมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษามะเร็ง
5 สถานที่ที่คุณสามารถหาวิกผมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษามะเร็ง

เคมีบำบัดนั้นต่อสู้กับมะเร็งแต่สามารถทำให้เกิดผมร่วงได้เช่นกัน

อ่านเพิ่ม
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การทำอาหารง่าย ๆ ที่มีโภชนาการที่เหมาะสมระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม