โรคมะเร็งในวัยเด็กและเยาวชน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
โรคมะเร็งในวัยเด็กและเยาวชน

แม้จะพบได้ยากกว่าในวัยผู้ใหญ่ แต่โรคมะเร็งในวัยเด็กและเยาวชนก็สามารถทำให้เกิดอาการและอาการแสดงซึ่งกระทบต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ต้องได้รับการรักษาและอาจเกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้เช่นกัน

บทนำ

โดยทั่วไป การเกิดโรคมะเร็งในวัยเด็กและเยาวชนนั้นเป็นเรื่องที่พบได้ยาก โดยวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นก็สามารถพัฒนาโรคมะเร็งชนิดที่พบได้บ่อยในวัยเด็กได้เช่นกัน แม้ว่าโรคมะเร็งดังกล่าวนั้น บางครั้งจะพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ได้มากกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของโรคมะเร็งในวัยเด็กและเยาวชน

เมื่อเด็กหรือเยาวชนเกิดอาการแสดงต่างๆที่อาจมาจากมะเร็ง พวกเขาควรเข้าตรวจที่โรงพยาบาลโดยแพทย์ประจำตัวเพื่อทำการตรวจทดสอบภาวะต่าง ๆ โดยแต่ละคนจะมีอาการและอาการแสดงที่แตกต่างกัน แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ว่าหากเกิดอาการดังต่อไปนี้ขึ้น ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องเป็นมะเร็งเสมอไป

อาการและอาการแสดงหลักของโรคมะเร็งที่ควรระวังในวัยเด็ก ได้แก่:

  • อาการปวดที่ไม่หายไป หรือไม่ทุเลาอย่างรวดเร็ว
  • ก้อนเนื้อหรือเกิดการบวม
  • เหงื่อออกมากขึ้นกว่าปกติ
  • ปวดศีรษะ หรือวิงเวียนศีรษะอยู่เสมอ
  • น้ำหนักลดอย่างกะทันหัน
  • ความเมื่อยล้าอ่อนเพลีย
  • ช้ำตามตัวหรือเลือดออกโดยไม่มีสาเหตุ

หากคุณหรือบุตรหลานของคุณกำลังประสบกับอาการใด ๆ ดังกล่าว สิ่งแรกที่ควรทำคือพาพวกเขาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณซึ่งอาจตัดสินใจที่จะทำการตรวจแบบต่าง ๆ เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้เพื่อตรวจหาว่ามะเร็งมีอยู่ในร่างกายหรือไม่ และหากเป็นก็เพื่อทราบว่ามะเร็งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นมะเร็งชนิดใด

การตรวจที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง ได้แก่:

  • การตรวจชิ้นเนื้อ (biopsy) ซึ่งเนื้อเยื่อเล็ก ๆ จะถูกตัดหรือหยิบออกจากร่างกายและนำมาตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์
  • การตรวจเลือด
  • การสแกนชนิดต่าง ๆ เช่น การสแกนกระดูก (Bone scan) การสแกนอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
  • การเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) ซึ่งทำโดยการดูดเอาที่ตัวอย่างของเหลวรอบ ๆ ไขสันหลังมาตรวจ
  • การถ่ายภาพรังสีเอกซ์เรย์

การรักษาโรคมะเร็งในเด็กและเยาวชน

ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ จะทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้การดูแลที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการรักษาหลายอย่างทั้งหมดในโรงพยาบาลเดียวกัน ขณะที่ผู้ป่วยรายอื่น ๆ อาจได้รับการดูแลจากโรงพยาบาลมากกว่าหนึ่งแห่งขึ้นอยู่กับว่าต้องการการรักษาอะไรบ้างสำหรับสภาวะโรคของพวกเขา

การรักษาโรคมะเร็งมีหลายรูปแบบ โดยการรักษาที่คุณจะได้รับมักขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งที่คุณมีและอยู่ในร่างกาย วัยรุ่นบางคนหรือคนหนุ่มสาวที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งบางชนิดสามารถตอบสนองต่อการรักษาซึ่งออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยอายุน้อยได้ดีกว่าการรักษาอื่นที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใหญ่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณจะได้รับการรักษาอย่างน้อยในรูปแบบหนึ่งรูปแบบหนึ่ง เช่น  การผ่าตัด หรือคุณอาจได้รับการรักษามากกว่าหนึ่งประเภทสำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งของคุณ เช่น การผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษา แพทย์ของคุณจะปรึกษาและชี้แจงเกี่ยวกับแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณและสภาวะร่างกายของคุณ

ประเภทการรักษามะเร็งหลัก ๆ ได้แก่:

  • การผ่าตัด - กระบวนการเพื่อกำจัดบางส่วนของมะเร็ง หรือกำจัดมะเร็งออกทั้งหมด
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy) - เป็นการใช้สารเคมีหรือยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  • รังสีรักษา (Radiotherapy) - เป็นการรักษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้รังสีที่มีพลังงานสูง
  • การฝังแร่กัมมันตรังสี (Brachytherapy) - เป็นชนิดหนึ่งของรังสีรักษาฝังภายในร่างกาย
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplant) - เป็นการทดแทนความเสียหายต่อไขกระดูกด้วยไขกระดูกที่มีสุขภาพดีและทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการฟื้นฟูเซลล์เม็ดเลือดของผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
  • การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) - เป็นการขัดขวางการทำงานของโมเลกุลเฉพาะที่ควบคุมการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

การเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหรือรักษามะเร็ง

การไปโรงพยาบาลอาจเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ซึ่งรับผิดชอบในการดูแลคุณจะคอยแจ้งข้อมูล พูดคุย และตอบคำถามต่าง ๆ ให้กับคุณและครอบครัวของคุณรวมถึงหารือเกี่ยวกับแผนการรักษากับคุณตลอดจนข้อกังวลอื่น ๆ ที่คุณมี ขึ้นอยู่กับการรักษาที่คุณต้องการคุณอาจมีผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลของคุณ

ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งคุณถูกส่งตัวไปซึ่งสามารถช่วยบรรเทาผลข้างเคียงของโรคและการรักษา เช่น:

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดและภาษา (Speech and language therapist) เป็น ผู้เชี่ยวชาญที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหาด้านภาษาพูดและการสื่อสาร
  • นักกิจกรรมบำบัด (Occupational therapist) ซึ่งช่วยผู้ป่วยโดยการคิดวิธีหรือกลยุทธ์เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น การทานอาหาร หรือการดื่มน้ำ
  • นักกายภาพบำบัด (Physiotherapist) ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถทางกายภาพ หรือแรงกายที่เหมาะสมโดยการให้การฟื้นฟูสมรรถภาพ ฝึกการออกกำลังกาย ให้คำแนะนำและการสนับสนุนที่เฉพาะเจาะจงกับภาวะของผู้ป่วย

ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งในเด็กและเยาวชน

เด็กและเยาวชนสามารถได้รับผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งได้เช่นกัน โดยปกติ อาการข้างเคียงดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่นานและหายไปหลังจากการรักษาสิ้นสุดลง แม้หนุ่มสาวบางคนก็ยังอาจได้รับผลกระทบระยะยาว (Late effects) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่สามารถกินเวลาได้หลายเดือนหรือหลายปีหลังจากการรักษาสิ้นสุดลง

ปัญหาด้านร่างกายและอารมณ์ในผู้ป่วยมะเร็งวัยเด็กและเยาวชน

โรคมะเร็งอาจส่งผลกระทบต่อเด็ก วัยรุ่นและเยาวชนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ปัญหาทางจิตวิทยา และปัญหาในเรื่องความคิดและการตัดสินใจ การวินิจฉัยโรคมะเร็งสามารถทำให้เกิดความกังวล เกิดความเครียด และอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ทั้งในกลุ่มเด็กและเยาวชน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีใครบางคนรับฟังหรือคอยให้คำแนะนำเมื่อประสบกับความวิตกกังวล หรือความเครียด ซึ่งอาจเป็นเพื่อนของคุณ ครอบครัว หรือแพทย์ประจำตัวของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วัยเด็กนั้นมักต้องการการดูแลและสนับสนุนที่แตกต่างกับวัยรุ่นและเยาวชน ความรู้สึกแย่ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเช่น ความวิตกกังวล หรือความโดดเดี่ยวสามารถช่วยได้ด้วยบุคคลหรือวิธีการดังต่อไปนี้:

  • พยาบาลเชี่ยวชาญด้านคลินิกซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งในวัยเด็กและสามารถช่วยอธิบายว่าควรคาดหวังอะไรเมื่อทำการสแกนหรือรักษาต่าง ๆ
  • แพทย์และพยาบาลซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะของโรค การรักษาที่เหมาะสม และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นของการรักษา
  • ผู้เชี่ยวชาญกิจกรรมเด็ก (Play specialist) ซึ่งทำงานในหอผู้ป่วยและแผนกผู้ป่วยเด็กคอยสนับสนุนเด็ก และกระตุ้นให้พวกเขาเกิดกลไกการเผชิญปัญหาซึ่งช่วยในการบรรเทาความกลัว และความกังวลของพวกเขาลง
  • ครอบครัวเป็นพื้นฐานที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ซึ่งสมาชิกในครอบครัวควรเข้มแข็ง อบอุ่น มองโลกในแง่ดี และสนับสนุนผู้ป่วยอย่างเต็มที่ พี่น้องมักมีบทบาทสำคัญในการลดความวิตกกังวลที่รู้สึกโดยพี่ชายหรือน้องสาวซึ่งป่วยอยู่
  • นำของเล่นที่พวกเขาชื่นชอบ หนังหรือการ์ตูนที่ชอบ หรือคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตไปพร้อมกับการนัดหมายหรือเวลาต้องนอนในโรงพยาบาล

แจ้งโรงเรียนเกี่ยวกับโรคเพื่อชดเชยการขาดเรียน

แจ้งครูใหญ่หรือครูประจำชั้นของโรงเรียนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานร่วมกับโรงพยาบาลหาทางให้เด็กและวัยรุ่นสามารถเรียนรู้จากโรงเรียนเท่าที่สามารถทำได้ โรงพยาบาลเด็กบางแห่งมีครูของตัวเองที่สามารถช่วยในการทำการบ้าน เพื่อนในชั้นเรียนอาจสามารถมาเยี่ยมและสอนการบ้านให้กับผู้ป่วยเด็กได้เช่นกัน

พนักงานให้ความช่วยเหลือด้านเยาวชนและนักสังคมสงเคราะห์ที่ทำงานภายในโรงพยาบาลสามารถช่วยให้ข้อมูล คำแนะนำ และการสนับสนุนแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ป่วยอาจได้รับประโยชน์มากขึ้นจากข้อมูลด้านการเงิน ผลประโยชน์ การดูแลเด็ก ที่อยู่อาศัย และมูลนิธิการกุศลต่าง ๆ เพื่อผู้ป่วยเด็กและเยาวชนจากแผนกดังกล่าว

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/cancer-in-children-and-young-people


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cancer Prevention During Early Life. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/cancer/dcpc/prevention/childhood.htm)
Cancer Prevention Starts in Childhood Feature. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/cancer/dcpc/resources/features/cancerandchildren/index.htm)
Cancer in Childhood and Youth. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1902941/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การทำอาหารง่าย ๆ ที่มีโภชนาการที่เหมาะสมระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการซื้อสินค้าเพื่อการต่อต้านภัยมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?
มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

คำตอบต่อคำถามทางสุขภาพที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม