กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาบางชนิดอาจทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศได้จริงหรือ ?

เผยแพร่ครั้งแรก 18 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาบางชนิดอาจทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศได้จริงหรือ ?

เห็นด้วยไหมคะว่า “ เซ็กส์  ” เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับชีวิตคู่มากทีเดียว และหากเซ็กส์มีปัญหา มันก็อาจกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณและคนรักได้เลยค่ะ ทั้งนี้หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เรื่องบนเตียงของหลายคู่สะดุดก็คือ การเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งมีงานวิจัยที่น่าสนใจพบว่า ยาบางชนิดอาจทำให้ผู้ชายตกอยู่ในภาวะดังกล่าว  และหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เราพบภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเมื่ออายุมากขึ้นก็คือ ผู้ชายสูงอายุมีแนวโน้มที่จะทานยาบางชนิดนั่นเอง

ยาบางชนิดทำให้เกิดภาวพหย่อนสมรรถภาพทางเพศจริงหรือ?

ทั้งนี้มีข้อมูลจาก Harvard Special Health Report ระบุว่า 25 % ของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นผลข้างเคียงของการทานยา ซึ่งประเภทของยาที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะนี้ประกอบไปด้วยยาต้านซึมเศร้า ยา anti-ulcer ยากล่อมประสาท และยาขับปัสสาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบด้วยว่ายา Propecia ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรคศีรษะล้านสามารถทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายที่ใช้ประมาณ 1.3 % สำหรับยาชนิดอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะดังกล่าว เช่น ยาต้านฮีสตามีน ยายับยั้งฮอร์โมนแอนโดรเจน ยากลุ่ม Anticholinergics (ใช้รักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง และโรคพาร์กินสัน ) และยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด

ยาชนิดใดที่พบมากที่สุดว่าอาจมีผลทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ?

อย่างไรก็ตาม ประเภทของยาที่พบมากที่สุดว่าอาจนำไปสู่ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศคือ ยารักษาความดันโลหิต ซึ่งภาวะดังกล่าวกับการเกิดความดันโลหิตสูงมักจะเกิดด้วยกัน ทั้งนี้มีงานวิจัยที่ได้ตรวจสอบบันทึกทางการแพทย์ของผู้ชายกว่า 1.9 ล้านคน พบว่าผู้ชายที่หย่อนสมรรถภาพทางเพศประมาณ 38% มีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูงกว่าผู้ชายทั่วไป ซึ่งความเชื่อมโยงนี้กลับไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ เพราะภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศมักเกิดขึ้นในผู้ชายที่สูบบุหรี่ หรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานของการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง

แม้ว่ายาช่วยรักษาความดันโลหิตสูงทุกชนิดอาจทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แต่ยาชนิดที่ดูเป็นปัญหามากกว่ายาตัวอื่นก็คือ ยาขับปัสสาวะ และยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า (Beta Blockers) ส่วนยาที่ทำให้เกิดผลลดหลั่นลงมาก็จะเป็นพวกยาแอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha Blockers) ยาเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) และยาแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ (Angiotensin-receptor Blockers)

ในบางครั้งความเชื่อมโยงระหว่างความดันโลหิตสูง และภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศก็เป็นเรื่องทางจิตวิทยา ซึ่งมันเป็นไปได้ว่า การตระหนักถึงผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศสามารถทำให้ผู้ชายตกอยู่ในภาวะเช่นนั้นได้ เพราะมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้เฝ้าสังเกตผู้ชายที่เพิ่งถูกตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจ แต่ไม่ได้หย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เพิ่งรักษาตัวด้วยยาทีนอร์มีน (Tenormin) ผลปรากฏว่า กลุ่มคนที่ทราบถึงผลข้างเคียงทางเพศของการทานยากว่า 1/3 ตกอยู่ในภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แต่กลุ่มคนที่ไม่ได้ทราบชื่อยาหรือผลข้างเคียงของยากลับมีเพียงแค่ 3% เท่านั้นที่เผชิญกับปัญหาดังกล่าว'

ควรทำอย่างไรหากหย่อนสมรรถภาพทางเพศจากการใช้ยา?

หากคุณกำลังทานยาชนิดใดก็ตาม คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อดูว่ายาชนิดนั้นๆ อาจมีความสัมพันธ์กับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และคุณต้องมั่นใจเช่นกันว่าได้แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาทุกชนิดที่คุณทานเป็นประจำ ทั้งยาชนิดที่จ่ายโดยแพทย์คนอื่น และยาที่ซื้อจากร้านขายยา หากยาเหล่านั้นเข้าข่ายที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว แพทย์ก็อาจเปลี่ยนยา หรือจำกัดปริมาณการทานค่ะ

ที่มา : https://www.health.harvard.edu...


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Erectile Dysfunction (ED): Symptoms, Diagnosis & Treatment. Urology Care Foundation. (Available via: https://www.urologyhealth.org/urologic-conditions/erectile-dysfunction(ed))
Drugs that may cause erection problems. Penn State Hershey Medical Center. (Available via: http://pennstatehershey.adam.com/content.aspx?productid=117&pid=1&gid=004024)
High blood pressure and sex: Overcome the challenges. Mayo Clinic. (Available via: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/in-depth/high-blood-pressure-and-sex/art-20044209)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รวมวิธีทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัว
รวมวิธีทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัว

น้องชายไม่สู้ ไม่แข็งตัว ปัญหาที่ผู้ชายหลายคนไม่กล้าบอกใคร แต่เรามีวิธีแก้ไขดีๆ มาบอก

อ่านเพิ่ม
อวัยวะเพศชายไม่แข็งตอนเช้า แปลกหรือไม่?
อวัยวะเพศชายไม่แข็งตอนเช้า แปลกหรือไม่?

ไขข้อข้องใจเรื่องน้องชายไม่แข็งตัวตอนเช้า ผิดปกติหรือไม่ แล้วแก้ไขได้อย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม