ผู้เชี่ยวชาญกำลังศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นมีบทบาทในการช่วยรักษาโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวลได้หรือไม่
ขณะนี้ต่างมีข่าวน่าสนใจมากมายเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในร่างกายมนุษย์ (เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์ เช่น ทางเดินอาหาร ผิวหนัง และปอด) ซึ่งปัจจุบันเราศึกษาได้แล้วว่ามีเซลล์ของเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้มากกว่าเซลล์มนุษย์ในร่างกายเราถึงสิบเท่า โดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ตามทางเดินอาหาร มีหน้าที่ช่วยย่อยอาหาร สร้างวิตามินบางชนิด และช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน นักวิจัยต่างกำลังศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน หรือ โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ได้หรือไม่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
มันมีความเชื่อมโยงระหว่างสมองและทางเดินอาหารหรือไม่
สิ่งที่น่าสนใจตอนนี้คือเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมองและทางเดินอาหาร โดยได้มีการยืนยันแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นมีผลต่อภาวะทางอาการประสาทจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล หรือ โรคซึมเศร้า โดยในทางเดินอาหารนั้นก็มีส่วนของระบบประสาทของตัวเอง และมีการสร้างสารสื่อประสาทประเภทเดียวกับที่สมองสร้าง (ได้แก่ acetylcholine และ serotonin) ซึ่งสารสื่อประสาทเหล่านี้ต่างมีความสำคัญในการช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ หากทำงานมากไปหรือน้อยไปก็จะทำให้เกิดท้องผูกหรือท้องเสียได้ ดังนั้นด้วยที่เราเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างระบบสมองและทางเดินอาหาร จึงทำให้อาการของโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้าสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดท้อง หรืออาการทางระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ ได้ และยังเป็นไปได้อีกว่า ภาวะทางระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ เช่น ภาวะปวดท้องเรื้อรัง หรือ ท้องผูก อาจจะเป็นผลมาจากโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า
โพรไบโอติคส์จะสามารถช่วยรักษาโรคเรื้อรังทั้งทางกายและทางจิตได้หรือไม่
ถ้าอิงตามทฤษฏีแล้ว เชื้อจุลินทรีย์มีผลต่อโรคเรื้อรังต่าง ๆ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงเชื้อพวกนี้ในลำไส้โดยใช้โพรไบติคส์ (เชื้อจุลินทรีย์ตัวดี) ก็อาจจะสามารถช่วยรักษาโรคเรื้อรังเหล่านี้ได้ โพรไบโอติคส์ได้มีการนำมาใช้ในหลายประเทศ เช่น จีนและญี่ปุ่นมานานนับสิบปีแล้วในรูปแบบนมเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมในสัตว์ทดลองพบว่า โพรไบโอติคส์สสามารถช่วยบรรเทาอาการในภาวะบางอย่างได้ เช่น ท้องเสีย หรือ ลำไส้อักเสบ แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีการศึกษาที่แสดงผลถึงการนำโพรไบโอติคส์มาใช้รักษาโรคในมนุษย์
มีหัวข้อวิจัยใหม่ ๆ ในวารสารสุขภาพจิต (Annals of General Psychiatry) ได้มีการศึกษาถึงบทบาทของการใช้โพรไบโอติคส์ในการรักษาโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า แพทย์ได้รวบรวมการศึกษา 10 งานที่มีคุณภาพ (มีการปกปิด (blinded) และควบคุมด้วยยาหลอก (placebo-controlled)) และศึกษางานวิจัยเหล่านั้นลงเบื้องลึกพบว่า กลุ่มจำนวนผู้ป่วยนั้นมีน้อยเกินไป (ตั้งแต่ 42 ถึง 124) และผลการศึกษานั้นหลากหลาย บางการศึกษาสรุปว่าอาจมีประโยชน์เล็กน้อยในการใช้โพรไบโอติคส์หากคุณมีโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า แต่ในบางการศึกษาก็สรุปว่าไม่มีผลประโยชน์เลยแม้แต่น้อย อย่างไรก็ตามโดยสรุปแล้ว ผลของการใช้โพรไบโอติคส์ในการรักษาโรคสุขภาพจิตยังคงต้องการศึกษาต่อไป
โดยสรุปแล้ว
แม้ขณะนี้การที่จะนำโพรไบโอติคส์นั้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้านั้นดูน่าสนใจมากแล้ว ในเวลานี้ก็ยังไม่มีบทสรุปแน่ชัดว่าจะมีประโยชน์ในการรักษาจริง แต่เพราะโพรไบโอติคส์ส่วนใหญ่แล้วนั้นค่อนข้างปลอดภัย ดังนั้นการทานจะอยู่ในแง่ไม่ได้เป็นอันตรายและอาจจะช่วยรักษา อย่างไรก็ตามโพรไบโอติคส์ยังไม่ควรนำไปใช้แทนการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy) หรือ ยาที่ได้รับการรับรองแล้วในการใช้รักษาโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวล สำหรับการใช้ไพรไบโอติคส์นั้นยังต้องการการศึกษาอีกมากในอนาคตที่จะสามารถชี้เฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ได้แน่ชัดว่าจะมีประสิทธิภาพสูงสุด และขนาดการใช้ที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาโรคเหล่านี้ต่อไป