อาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง Borderline Personality Disorder (BPD) Symptoms

เข้าใจถึงอาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder (BPD))
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง Borderline Personality Disorder (BPD) Symptoms

อาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder (BPD)) หมายรวมถึงการไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม และความรู้สึกของตัวเอง การไม่สามารถรักษาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล มักมีอารมณ์รุนแรง  อาการเหล่านี้เริ่มต้นในวัยหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่ตอนต้น และมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปในอายุที่มากขึ้น

อาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder (BPD) Symptoms)

มีความหวาดระแวงต่อการถูกทอดทิ้ง (Abandonment Sensitivity)

ผู้ป่วย BPD จะกลัวการถูกทอดทิ้งจากคนรักและเพื่อน มักจะเข้าใจผู้อื่นผิดและคิดว่าเพื่อนๆกำลังจากไป มักจะทำให้ตนเองดูน่าสงสารเพื่อไม่ให้ถูกทอดทิ้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มีความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคง (Unstable Relationships)

•มักมีสัมพันธภาพที่ตึงเครียด ขัดแย้ง (บ่อยครั้ง) และ แตกหัก ทั้งกับเพื่อน หรือแฟน

อารมณ์แปรปรวนขึ้นๆลงๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เปลี่ยนใจง่าย มีการแสดงไม่ตรงความรู้สึก เช่นต้องการใกล้ชิดแต่พยายามทำตัวห่างไกลจากเขาหรือเธอ

•มักรู้สึกผิดหวัง หรือเกลียดชังง่ายกับคนรัก

มีมุมมองชีวิตที่บิดเบือนไป (Identity Disturbance)

•เปลี่ยนแปลงมุมมองต่อชีวิตบ่อยๆ เช่นช่วงเวลาหนึ่งอาจคิดว่าตนเองเป็นคนดีในอุดมคติ แต่บางวันก็จะกลายเป็นคนที่แย่ที่สุด

•ความรู้สึกไม่แน่ใจเกี่ยวกับตัวเอง (เหมือนไม่ทราบว่าตัวเองเป็นใครกันแน่และมีความเชื่อแบบไหน)

•รู้สึกเหมือนไม่มีตัวตนในโลก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อารมณ์รุนแรง (Impulsivity)

•มีพฤติกรรมที่เกินเลยและรุนแรง เช่นการสนุกสนานกับการใช้จ่าย สำส่อนทางเพศ ขับรถโดยประมาท ติดยาเสพติดหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำสิ่งผิดกฎหมาย

พฤติกรรมการฆ่าตัวตายหรือเป็นทำร้ายตัวเอง (Suicidal Behaviors or Self-Harm)

•การพยายามฆ่าตัวตาย หรือมีพฤติกรรมส่อไปทางฆ่าตัวตาย

•การขู่ว่าจะฆ่าตัวตายเพื่อสื่อถึงความเจ็บปวดทางอารมณ์ หรือเพื่อดูว่ามีคนสนใจไหม

•ทำร้ายตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจจะฆ่าตัวตาย (ตัวอย่างเช่นการใช้มีดกรีดหรือจุดไฟเผาตัวเอง)

อารมณ์แปรปรวน ไม่มั่นคง (Emotional Stability)

•มีความรู้สึกเชิงลบรุนแรง จากประสบการณ์การใช้ชีวิตประจำวัน

•ความรู้สึกโศกเศร้ารุนแรง หงุดหงิดหรือโกรธอยู่นานหลายชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

•มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์บ่อย (เช่นจากความรู้สึกดีๆเปลี่ยนเป็นหมดหวังโดยสิ้นเชิงภายในไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง)

ความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว (Chronic Feeling of Emptiness)

•มักจะรู้สึกว่างเปล่า

•ภาวะไร้อารมณ์หรือรู้สึกเหมือนไม่มีอะไรอยู่เลย

การแสดงออกทางอารมณ์ที่เกิดกว่าเหตุ (Inappropriate Anger)

•โกรธรุนแรงเกินสถานการณ์จริง

•ควบคุมความโกรธไม่ได้ (เช่นมักจะตะโกนใส่คนอื่น ๆ ชอบเหน็บแนม ทำลายข้าวของ ใช้กำลังเข้าต่อสู้)

หวาดระแวงมากเกินเนื่องจากความเครียด (Stress-induced Paranoia or Dissociation

ความเครียดทำให้เกิดการหวาดระแวง

•รู้สึกว่าคนอื่นจะมาจับหรือพยายามทำให้เป็นอันตราย

•มีความรู้สึกว่าคนอื่นเสแสร้ง "ไม่จริงใจ" หรือเคยเจอสภาวะ "ส่วนเกิน" หรือ "เย็นชา"

•เหมือนคนตายแล้ว

การวินิจฉัย

อาการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการที่พบในคนจำนวนมากในระยะเวลาหลายชั่วคน คนที่มีภาวะ BPD จะมีอาการเหล่านี้ ทุกวันหรือเกือบทุกวัน นานหลายปี ในบริบทที่แตกต่างกัน เช่นอาจจะปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับหลายคน ไม่ใช่หนึ่งหรือสองคน การวินิจฉัยภาวะ BPD ต้องมีอาการ อย่างน้อย 5 ใน 9 อาการที่ระบุไว้ข้างต้น และอาการเหล่านี้ต้องมีการเริ่มต้นในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น กรณีมีภาวะ BPD ควรปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญจิตเวช ที่สามารถฟังข้อกังวลของคุณ และให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, Overview - Borderline personality disorder (https://www.nhs.uk/conditions/borderline-personality-disorder/) 17 July 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
จะช่วยเพื่อนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder; BPD) ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร
จะช่วยเพื่อนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder; BPD) ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร

การเป็นเพื่อนที่ดีของคนที่มีอาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder; BPD)

อ่านเพิ่ม
อะไรคือภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดผสม (Mixed Personality Disorder)?
อะไรคือภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดผสม (Mixed Personality Disorder)?

ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติและวิธีการวินิจฉัย

อ่านเพิ่ม
สาเหตุของความเครียด ปัจจัยหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ
สาเหตุของความเครียด ปัจจัยหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ

รู้จักความเครีด สิ่งที่ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของใครหลายๆ คน

อ่านเพิ่ม