วิธีดูแลสภาพจิตใจสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
วิธีดูแลสภาพจิตใจสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม

สุขภาพจิต แนะวิธีดูแลสภาพจิตใจสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยต้องนอนหลับให้เพียงพอ พยายามลดความเครียด ลงมือทำ ช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ

นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ ส่งผลให้ผู้ประสบภัยเกิดความเครียดกันมากขึ้น ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้จัดทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย หรือทีม MCATT (Mental Health Crisis Assessment  and Treatment Team) ทีมีครอบคลุมอยู่ทุกอำเภอ ทำงานเชิงรุกร่วมกับทีมช่วยเหลือทางกาย เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือและฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว

ทั้งนี้ ทีม MCATT จะให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจเบื้องต้น ให้การปรึกษาเพื่อลดภาวะความเครียด การฝึกผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง การให้กำลังใจ สร้างแรงใจให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ และหากพบผู้ประสบภัยมีความเครียดสูง มีภาวะซึมเศร้า เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ซึ่งสังเกตได้จากเดิมที่เคยเป็นคนร่าเริง กลายเป็นซึมมาก ๆ และบ่นท้อแท้ หดหู่ใจ หรือบ่นถึงความตายบ่อย ๆ จะรีบเข้าไปช่วยเหลือ พูดคุย ให้กำลังใจ ช่วยลดความเครียดลง 

สำหรับรายที่มีอาการนอนไม่หลับอย่างรุนแรง ท้อแท้ หรือเครียดมาก ๆ จนถึงขั้นกระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ อาจต้องให้ยาคลายความเศร้า หรือยาคลายความเครียดที่จะทำให้การนอนหลับดีขึ้นร่วมด้วย โดยจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องต่อไปเป็นระยะเวลา 3 เดือน &n

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Coping with a Disaster or Traumatic Event. Emergency Preparedness and Response | CDC. (https://emergency.cdc.gov/coping/index.asp)
Disaster Management: Mental Health Perspective. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4649821/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป