งานวิจัยเผย ความเครียดจากเรื่องงานอาจทำให้สุขภาพจิตพัง

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
งานวิจัยเผย ความเครียดจากเรื่องงานอาจทำให้สุขภาพจิตพัง

ปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตอาจเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด ทั้งนี้ The National Institutes of Mental Health (NIMH) ได้ประมาณการว่า คนในประเทศสหรัฐอเมริกากว่า 16.2 ล้านคน เป็นโรคซึมเศร้าอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าถือเป็นสาเหตุสำคัญของการขาดงานในแดนมะกัน ตลอดจนเป็นสาเหตุของการไร้สมรรถภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลก

นอกจากนี้โรควิตกกังวลก็นับว่าเป็นปัญหาทางจิตที่พบได้ทั่วไป ซึ่งมีการประมาณไว้ว่า มากกว่า 19% ของประชากรทั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นโรควิตกกังวลในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งนี้มีบางงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ความเครียดที่เกิดจากการทำงานเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเครียดในประเทศสหรัฐอเมริกา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยิ่งไปกว่านั้น มีงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ถูกเผยแพร่ใน Journal Lancet Psychiatry ที่ทำโดย Samuel Harvey ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก The Black Dog Institute ได้ลองหาผลกระทบของความเครียดที่เกิดจากการทำงานที่มีต่อสุขภาพจิต โดยพบว่า งานที่มีความเครียดสูงทำให้เราเสี่ยงต่อการมีปัญหากับสุขภาพจิต

Harvey และเพื่อนร่วมงานได้วิเคราะห์ข้อมูลของผู้เข้าร่วมทดลองจำนวน 6,870 คน ซึ่งนักวิจัยได้โฟกัสว่าคนที่ทำงานที่มีระดับความเครียดสูงตอนอายุ 45 ปี จะมีปัญหากับสุขภาพจิตตอนอายุ 50 ปีหรือไม่ โดยให้ผู้เข้าร่วมทดลองตอบคำถามเกี่ยวกับความสามารถในการตัดสินใจในที่ทำงาน ความสามารถในการใช้ทักษะกับดุลยพินิจของตัวเอง คำถามเกี่ยวกับปริมาณงาน สถานที่ทำงาน และความต้องการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับงาน

นอกจากนี้พวกเขายังสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อผลลัพธ์ เช่น การไม่ได้อยู่ร่วมกับคู่สมรส ความเครียดด้านการเงิน การเสียชีวิตของคนในครอบครัว หรือปัญหาสุขภาพ อย่างไรก็ดี ไอคิว การศึกษา และประวัติปัญหาทางจิตของผู้เข้าร่วมทดลองก็ยังถูกนำมาพิจารณา เมื่ออายุ 50 ปี นักวิจัยจะประเมินสุขภาพจิตของผู้เข้าร่วมทดลองโดยใช้Malaise Inventory questionnaire

ผลปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมทดลองที่มีอายุ 50 ปีในภาพรวมที่ทำงานประเภทต้องใช้ความเครียดสูงมีแนวโน้มที่จะป่วยทางจิตประมาณ 14% งานวิจัยดังกล่าวทำให้เห็นว่าองค์กรสามารถทำให้พนักงานมีความสุขมากกว่าเดิมโดยปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงานเพื่อให้พนักงานมีสุขภาพจิตดีขึ้น การหาทางเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของพนักงานมักเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ดี นอกจากนี้พนักงานควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mental health problems in the workplace. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/mental-health-problems-in-the-workplace)
Mental health in the workplace. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/mental_health/in_the_workplace/en/)
Going to work after mental health issues. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/stress-anxiety-depression/returning-to-work-after-mental-health-issues/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
แค่ยิ้มและหัวเราะ ก็ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สุขภาพจิตดีขึ้น
แค่ยิ้มและหัวเราะ ก็ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สุขภาพจิตดีขึ้น

ประโยชน์ของการยิ้มและหัวเราะ ที่ไม่ใช่แค่ดีต่อสุขภาพใจ และมีผลต่อสุขภาพกายแบบพิสูจน์ได้!

อ่านเพิ่ม
คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะนั่งสมาธิ
คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะนั่งสมาธิ

หลักสูตร 4 สัปดาห์เกี่ยวกับการนั่งสมาธิเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม