กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Biocalm (ตัวยา Tolperisone)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไบโอคาล์ม (Biocalm) เป็นชื่อทางการค้าของยาโทลเพอริโซนไฮโดรคลอไรด์ (Tolperisone hydrochloride) ขนาด 50 มิลลิกรัม เป็นยาในกลุ่มคลายกล้ามเนื้อ ใช้รักษาภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ อาการสั่นจากโรคพาร์คินสัน และโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน (PVD)
  • ผู้ใหญ่ รับประทานหลังมื้ออาหาร ครั้งละ 1-3 เม็ด วันละ 3 ครั้ง แต่ยังไม่มีการระบุการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ เด็ก และผู้สูงอายุ จึงควรระมัดระวังการใช้ยาในคนกลุ่มนี้
  • ไบโอคาล์ม อาจก่อให้เกิดอาการตึงกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ ง่วงซึม เวียนศีรษะ ปวดท้อง หากเกิดอาการแพ้ยา เช่น ผื่นคัน หน้าแดง หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว หรือความดันโลหิตต่ำ ให้หยุดใช้ยา และไปพบแพทย์ทันที
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของตับ หรือไตรุนแรง
  • ไบโอคาล์ม เป็นยาอันตรายที่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

Biocalm คือยาอะไร?

ไบโอคาล์ม (Biocalm) เป็นชื่อการค้าของยาที่มีตัวยาสำคัญ คือ โทลเพอริโซนไฮโดรคลอไรด์ (Tolperisone hydrochloride) ขนาด 50 มิลลิกรัม เป็นยาในกลุ่มคลายกล้ามเนื้อ มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการที่เกี่ยวกับ

กลไกการออกฤทธิ์ของโทลเพอริโซนยังมีข้อมูลไม่แน่ชัด แต่คาดว่าออกฤทธิ์ต่อสมองและไขสันหลังให้ลดการส่งสัญญาณกระตุ้นประสาทที่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวและนำไปสู่การเกร็งของกล้ามเนื้อ การลดการส่งสัญญาณประสาทนี้ ทำให้เชื่อว่าโทลเพอริโซนมีฤทธิ์ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยังมียายี่ห้ออื่นที่มีองค์ประกอบแบบเดียวกันกับ Biocalm เช่น Mydocalm, Myoxan, Risocalm, Soneriper M, Usocalm เป็นต้น

Biocalm มีวางจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น เนื่องจากจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย

วิธีการใช้ยา Biocalm อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ตามเอกสารกำกับยาระบุว่า ขนาดการใช้ในผู้ใหญ่ รับประทานหลังมื้ออาหาร ครั้งละ 1-3 เม็ด วันละ 3 ครั้ง

ในแง่ความปลอดภัย เมื่อวิเคราะห์ประโยชน์ที่ได้รับต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแล้ว พบว่า ความเสี่ยงจากการแพ้ยา ซึ่งมีรายงานการพบอุบัติการณ์มีนัยสำคัญกว่าประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ (เนื่องจากข้อมูลประสิทธิผลทางคลินิกยังมีอยู่อย่างจำกัด) การใช้ยาชนิดนี้จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร

ผลข้างเคียงของยา Biocalm

Biocalm อาจก่อให้เกิดอาการตึงของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ ส่วนอาการที่พบได้น้อย ได้แก่ ง่วงซึม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียนศีรษะ ปวดท้อง และอาการแพ้ยา เช่น ผื่นคัน หน้าแดง หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ให้หยุดใช้ยา และรีบไปพบแพทย์ทันที

คนท้องรับประทานยา Biocalm ได้หรือไม่?

เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่อย่างจำกัด ในปัจจุบันจึงยังไม่มีการจำแนกกลุ่มยาโทลเพอริโซน ตามเกณฑ์การจำแนกผลิตภัณฑ์ยาสำหรับใช้ในสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยา รวมถึงข้อมูลการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ เด็ก และในผู้สูงอายุ จึงควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้

มีข้อห้ามใช้ของยานี้หรือไม่?

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis)
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้สำหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของตับหรือไตรุนแรง เนื่องจากพบความถี่ของการเกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ได้สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยปกติ

Biocalm เป็นยาอันตรายที่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามาใช้ด้วยตนเอง หากเกิดอาการแพ้ยา ให้หยุดยา และรีบไปพบแพทย์ทันที

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)