ระวัง ! 8 สาเหตุที่ทำให้คุณแก่เร็วขึ้น

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ระวัง ! 8 สาเหตุที่ทำให้คุณแก่เร็วขึ้น

แม้ว่าความแก่เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ใครๆ ก็อยากดูเด็กกว่าวัยกันทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเราอายุมากขึ้น แน่นอนว่าอวัยวะต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณรู้ไหมว่า นอกจากเป็นเพราะอายุแล้ว มันก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คุณแก่เร็วขึ้น โดยที่คุณอาจนึกไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ แต่จะเกิดจากอะไรได้บ้าง เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

1. แสงอาทิตย์

แสงอาทิตย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณดูแก่กว่าวัย ซึ่งมันเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดจุดด่างดำ ริ้วรอย ทำให้ผิวยืดหยุ่นน้อยลง และหย่อนคล้อย ความจริงแล้ว 70% ของกระบวนการเสื่อมสภาพของผิว ขึ้นอยู่กับปริมาณของแสงแดดที่ร่างกายได้สัมผัสตลอดชีวิต ซึ่งรังสียูวีจะไปเร่งให้คอลลาเจนใต้ผิวเสื่อมสภาพเร็วขึ้น สุดท้ายแล้วผิวของคุณก็จะหย่อนคล้อย และดูแก่กว่าวัย

2. สูบบุหรี่

การสูบบุหรี่สามารถทำให้เกิดริ้วรอยบางๆ ก่อนวัย ซึ่งมักปรากฏบริเวณผิวที่บอบบางมากเป็นพิเศษ เช่น ข้างๆ ดวงตา และเหนือริมฝีปาก อย่างไรก็ดี ริ้วรอยที่เกิดจากการสูบบุหรี่อาจปรากฏเร็วกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 10-15 ปี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า การสูบบุหรี่จะทำให้ระดับของวิตามินซีในเลือดลดลงโดยเฉลี่ย 60% เมื่อเทียบกับระดับเลือดของคนที่ไม่ได้สูบ อย่างไรก็ตาม วิตามินซีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้ผิวของเรายืดหยุ่น ดูอ่อนเยาว์ และสุขภาพดี หากขาดวิตามินชนิดนี้ มันก็จะส่งผลต่อการผลิตคอลลาเจนค่ะ

3. ทานอาหารที่่มีโปรตีนต่ำ และทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง

อาหารที่มีน้ำตาลเชิงเดี่ยวมาก สามารถทำให้ผิวสูญเสียความยืดหยุ่น ส่วนโปรตีนถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการมีผิวที่สดชื่น เพราะมันเป็นหนึ่งในโครงสร้างสำคัญของคอลลาเจนและอิลาสติน ดังนั้นการทานอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอ จึงสามารถทำให้ผิวของคุณดูเหี่ยวได้นั่นเอง

4. ทานผลไม้และผักน้อย

การสัมผัสกับแสงแดด การสูบบุหรี่ การสัมผัสมลพิษ หรือการเป็นโรคเรื้อรังสามารถไปเร่งให้เกิดกระบวนการออกซิเดชั่นในร่างกาย แต่การทานผักและผลไม้สามารถช่วยให้คุณรับมือกับปัญหาผิวที่จะเกิดจากกระบวนการดังกล่าวได้ค่ะ โดยเฉพาะการทานผัก และผลไม้ที่่มีสารไลโคปีน ลูทีน เบต้าแคโรทีน และสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้คุณยังได้รับวิตามินซี ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างคอลลาเจน

5. ความเครียด

การสะสมความเครียดไว้กับตัวมากเกินไป สามารถทำให้ฮอร์โมนแห่งความเครียดอย่าง คอร์ติซอล และอะดรีนาลีนถูกหลั่งออกมามากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะไปเร่งกระบวนการชราภาพมากมาย เช่น ไปยับยั้งการผลิตเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำให้หน้าอ้วน มวลกระดูกลดลงจนนำไปสู่การเปลี่ยนโครงสร้าง ฯลฯ

6. นอนไม่เพียงพอ

ในช่วงที่เรานอนหลับลึก ต่อมใต้สมองจะทำการหลั่งโกรทฮอร์โมน ซึ่งเจ้าฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนสำคัญต่อการรักษาเนื้อเยื่อหลายส่วนของร่างกาย และการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ดังนั้นการนอนไม่เพียงพอเป็นเวลานาน จะทำให้หลักฐานแห่งความชราปรากฏบนใบหน้าเร็วขึ้น รวมถึงทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา

7. ดื่มแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์ทำให้เกิดอันตรายต่อผิว รวมถึงมีผลเสียต่อเบ้าตา ทั้งนี้การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถทำให้ตาบวม และมีผลต่อผิวพรรณ เพราะการสะสมของสารพิษจะทำให้ชั้นผิวด้านในเสื่อมสภาพ ซึ่งมันจะทำให้เส้นเลือดฝอยและรอยแดงปรากฏบนแก้มและดั้งจมูก

8. เป็นโรคซึมเศร้า

มีการค้นพบว่า การจมอยู่กับความเศร้า หรือความสิ้นหวังนานเกินไปสามารถทำให้เทโลเมียร์ ซึ่งเป็นส่วนปลายของโครโมโซมสั้นลง สิ่งที่จะตามมาคือ เซลล์จะหยุดแบ่งตัว และทำให้เซลล์ตายก่อนกำหนด โดยมักเห็นได้ชัดในเนื้อเยื่อที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วอย่างเนื้อเยื่อผิวหนังและเส้นผม

เมื่อรู้แล้วว่าปัจจัยใดที่สามารถทำให้คุณแก่ก่อนวัย คุณก็ควรหลีกเลี่ยง และพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเสียใหม่ เพื่อช่วยยืดเวลาให้คุณดูอ่อนกว่าวัยค่ะ

ที่มา : https://www.healthyandnaturalw...

 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Risks of Tanning. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/radiation-emitting-products/tanning/risks-tanning)
Aging changes in the bones - muscles - joints. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/004015.htm)
Steps to Reverse the Aging Process. WebMD. (https://www.webmd.com/healthy-aging/features/promote-the-aging-process)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีเลิกสูบบุหรี่
วิธีเลิกสูบบุหรี่

อยากเลิกบุหรี่ มีวิธีไหนบ้าง?

อ่านเพิ่ม
นิโคติน
นิโคติน

วิธีรับมือกับการขาดนิโคติน

อ่านเพิ่ม