การขาดวิตามินบี 9 และ 12 สามารถทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้

รับประทานวิตามินบี 9 และ 12 ให้เพียงพอต่อวัน ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
เผยแพร่ครั้งแรก 30 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การขาดวิตามินบี 9 และ 12 สามารถทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้

วิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิค (Folic acid) และวิตามินบี 12 หรือโคบาลามิน (Cobalamin) เป็นวิตามินที่มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการระดับเซลล์ การขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือขาดทั้งคู่สามารถส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจางจากขนาดเม็ดเลือดแดงใหญ่กว่าปกติได้ (Megaloblastic anemia)

สาเหตุที่เม็ดเลือดมีขนาดใหญ่กว่าปกตินั้น เกิดจากการยับยั้งการสังเคราะห์ดีเอนเอ (DNA) ส่งผลต่อการเติบโตที่ผิดปกติระหว่างนิวเคลียส (Nucleus) และไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) ของเซลล์ สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่พบมากในผู้สูงอายุ อาการแสดงส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับระบบประสาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิตามินบี 9 กับการเกิดโรคโลหิตจาง

วิตามินบี 9 มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงเซอรีน-ไกลซีน (Serine-glycine) กระบวนการสลายฮีสทิดีน (Histidine) การสังเคราะห์พิวรีน (Purine) และมีหน้าที่สำคัญคือ การสังเคราะห์ไธมิดิเลท (Thymidilate) และเมไธโอนีน (Methionine) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารสำคัญอื่นๆ ในร่างกาย และหากขาดสารดังกล่าวไปจะทำให้กระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงลดน้อยลง

โครงสร้างที่พร้อมทำงานของวิตามินบี 9 จะอยู่ในรูปของกรดเตตระไฮโดรโฟลิค (Tetrahydrofolic acid)

ปริมาณวิตามินบี 9 ที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

ปกติแล้วปริมาณวิตามินบี 9 ที่คนทั่วไปต้องการต่อวันอยู่ในช่วง 180-200 ไมโครกรัม แต่ในหญิงตั้งครรภ์แนะนำให้รับประทานในปริมาณ 2 เท่าคือ 400 ไมโครกรัม และในหญิงให้นมบุตร 260-280 ไมโครกรัม เนื่องจากจำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กทารก ช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคท่อระบบประสาทผิดปกติในเด็กทารกได้

แหล่งของวิตามินบี 9

วิตามินบี 9 พบได้ในผักใบเขียว เช่น ผักโขม หน่อไม่ฝรั่ง บรอกโคลี ผักกาดหอม ในผลไม้ เช่น มะนาว ส้ม กล้วย ในซีเรียล ธัญพืช ถั่ว และในเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อปลา และตับ การเก็บรักษาอาหารเป็นระยะเวลานาน และการปรุงให้สุกในน้ำมากเกินไป สามารถทำลายวิตามินบี 9 ในอาหารได้

การรักษาผู้ป่วยภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 9

ผู้ป่วยจะถูกพิจารณาว่า มีการขาดของวิตามินบี 12 ร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากถ้ามีอาการขาดวิตามินบี 12 จะมีปัญหาต่อการเปลี่ยนโครงสร้างของวิตามินบี 9 ให้อยู่ในรูปที่พร้อมทำงาน โดยปกติจะรักษาโดยการให้รับประทานวิตามินบี 9 ในขนาดสูงคือ 1-5 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 3-4 เดือน

วิตามินบี 12 กับการเกิดโรคโลหิตจาง

วิตามินบี 12 ที่อยู่ในรูปพร้อมทำงาน มี 2 โครงสร้าง คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. เมธิลโคบาลามิน (Methylcobalamin) เป็นโคเอนไซม์ของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์เมไธโอนีน และเตตระไฮโดรโฟลิค ซึ่งเป็นรูปพร้อมทำงานของวิตามินบี 9 หากร่างกายขาดวิตามินบี 9 จึงต้องพิจารณาในการเสริมวิตามินบี 12 ก่อน

2. อะดีโนซิลโคบาลามีน (Adenosylcobalamin) เป็นโคเอนไซม์ของเมธิลมาโลนิล-โคเอ เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดซักซินิก (Succinic acid) ที่มีบทบาทในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ การขาดวิตามินบี 12 จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ดีเอนเอไปสู่การสร้างฮีโมโกลบินที่ผิดปกตินั่นเอง

ปริมาณวิตามินบี 12 ที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

ปกติแล้วปริมาณวิตามินบี 12 ที่คนทั่วไปต้องการต่อวันคือ 2 ไมโครกรัม ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรคือ 2.6 ไมโครกรัม

สาเหตุของการขาดวิตามินบี 12

สาเหตุหลักของการขาดวิตามินบี 12 ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ประกอบด้วยผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ (เนื่องจากวิตามินบี 12 พบได้ในเนื้อสัตว์เท่านั้น) ในทารกที่ขาดสารอาหาร และในหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดสารอาหาร

นอกจากนี้ บางสภาวะของร่างกายยังเป็นอุปสรรคต่อการดูดซึมวิตามินบี 12 ได้แก่ การติดแอลกอฮอล์เรื้อรัง โรคโครห์น (Crohn’s disease) โรคแพ้กลูเตน (Coeliac Disease) หรือผู้ที่ใช้ยาลดกรด หรือยารักษาโรคกรดไหลย้อนเป็นระยะเวลานาน

แหล่งของวิตามินบี 12 ที่แนะนำ

วิตามินบี 12 พบได้ในเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว ตับ เนื้อปลา ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม อาหารที่มาจากพืชนั้นไม่มีองค์ประกอบของวิตามินบี 12 ดังนั้นในกลุ่มของผู้รับประทานมังสวิรัติจึงควรรับประทานวิตามินบี 12 จากอาหารเสริม หรือวิตามินเสริมร่วมด้วย

การรักษาผู้ป่วยภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12

ปกติแล้วจะรักษาโดยการให้วิตามินบี 12 ในรูปของไซยาโนโคบาลามีน (Cyanocobalamin) ในขนาด 1,000 ถึง 2,000 ไมโครกรัมต่อวัน รูปแบบยารับประทาน เนื่องจากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย

หลังจากนั้นจะได้รับต่อในขนาด 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน จนกระทั่งค่าวิตามินบี 12 ในกระแสเลือดกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หรือไม่มีอาการของการขาดวิตามินบี 12 

ถ้าต้องการให้ในรูปของยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะรักษาโดยใช้ไซยาโนโคบาลามีน ขนาด 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นเปลี่ยนมาให้เป็นขนาด 1,000 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ จนกว่าค่าวิตามินบี 12 ในกระแสเลือดกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หรือไม่มีอาการของการขาดวิตามินบี 12


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Folate deficiency anemia: Symptoms, complications, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325310)
Folic Acid Deficiency Anemia (Low Folate): Causes, Symptoms, Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/folic-acid-deficiency-anemia#1)
Folic Acid Deficiency Anemia. Healthline. (https://www.healthline.com/health/folate-deficiency-anemia)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย

รับประทานวิตามินเพื่อการชะลอวัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม