July 22, 2019 10:03
สวัสดีค่ะ คำถามของคุณอาจกว้างเกินไป ทำให้คุณหมอไม่สามารถให้ความเห็นได้ กรุณาอธิบายอาการอย่างละเอียดว่าเป็นอย่างไร บริเวณไหน เป็นมานานและถี่แค่ไหน รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณ เช่น เพศ อายุ ยาหรืออาหารเสริมที่ทานอยู่ เป็นต้น หรือคุณอาจค้นหาคำตอบคุณหมอ และกว่า 5,000 บทความสุขภาพในเว็บของเรา หากคุณถามเกี่ยวกับโรงพยาบาล คุณสามารถค้นหาข้อมูลติดต่อของโรงพยาบาลได้ที่นี่ หรือส่งอีเมลมาที่ [email protected] ค่ะ ขอบคุณค่ะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
เเนะนำหาเวลาไปตรวจเเผนกกุมารเวชกรรมครับ
ถ้าไปโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา สามสิบบาท ประกันสังคม ก็เบิกได้ครับ ( เช็คสิทธิที่สายด่วน สปสช.1330 )
หรือ
http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
ถ้าเป็นข้าราชการก็เบิกได้ทุก โรงพยาบาลรัฐครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอบพระคุณมากค่ะ..คือลูกมีอาการไม่นิ่งเวลาเรียนชอบลุกเดิน..เรียนแบบได้หน้าลืมหลัง..(ครูบอก)..ลูกอายุ 8 ปีค่ะ ไม่เล่นโทรศัพท์ ตั้งแต่ขึ้นชั้นป.1 ตอนนี้อยู่ป.2 ค่ะ พูดเก่ง ชอบวาดภาพ ชอบต่อเลโก้ค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การที่เด็กเล่นมือถือเป็นเวลานาน อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดภาวะสมาธิสั้นได้นะคะ
อาการสมาธิสั้น จะแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1.เหม่อลอย เฉื่อยช้า ไม่รอบคอบ ขี้ลืม ทำของหายบ่อยๆ
2.ซน ยุกยิก ไม่นิ่ง ชอบปีนป่าย ทำอะไรได้ไม่นาน พูดมาก
3.หุนหันพลันแล่น วู่วาม ใจร้อน อดทนรอคอยไม่ได้ หงุดหงิดก้าวร้าว ดื้อต่อต้าน
โดยจะต้องมีอาการทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีอาการมากเกินเด็กปกติ ส่งผลกระทบต่อการเรียน การเข้าสังคม ความรับผิดชอบหน้าที่ของตน แบบนี้อาจเข้าข่ายภาวะสมาธิสั้นก็เป็นได้นะคะ
การรักษา มีทั้งการรักษาด้วยยาเพื่อช่วยควบคุมให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับการเรียน นิ่งได้นานขึ้น รู้จักควบคุมยับยั้งได้ดีขึ้น
นอกจากนั้นต้องอาศัยการปรับพฤติกรรม หรือจัดสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนไปพร้อมกันด้วย
ดังนั้น ในกรณีที่สงสัยว่าเด็กอาจมีภาวะสมาธิสั้น ควรปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นนะคะ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสม จะช่วยให้อาการดีขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อยากพาลูกตรวจ.สมาธิสั้นต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)