May 29, 2019 22:38
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการปวดศีรษะนั้นเป็นอาการที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการวินิจฉัยค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องอาศัยการสอบถามถึงลักษณะการปวดโดยละเอียด ร่วมกับการตรวจร่างกายเพื่อแยกให้ได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากความผิดปกติภายในสมองครับ
ตัวอย่างของสาเหตุของอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อย เช่น
- อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อบีบเกร็ง อาการปวดมักมีลักษณะปวดบีบที่ศีรษะ 2 ข้าง อาการปวดมักสัมพันธ์กับความเครียดหรือการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
- ไมเกรน อาการปวดศีรษะมักปวดแค่ข้างเดียว แต่อาจปวดสลับข้างได้ในแต่ละครั้ง จะปวดในลักษณะปวดตุ้บๆอย่างรุนแรง มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย อาการมักเป็นมากขึ้นถ้าเห็นแสงสว่างจ้าๆหรือได้ยินเสียงดังๆ
- อาการปวดศีรษะแบบเป็นชุด (Cluster headache) อาการปวดศีรษะมักเป็นแบบปวดรุนแรงเฉียบพลันขึ้นมาแล้วหายไปเป็นพักๆ ร่วมกับมีอาการตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหล
ในกรณีที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังมานาน หมอก็แนะนำว่าควรไปพบแพทย์อายุรกรรมเพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมโดยละเอียดก่อน เมื่อทราบสาเหตุที่แน่ชัดแล้วจะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการปวดหัว อาจเกิดได้จากสาเหตุจากโรคทางร่างกายและทางด้านจิตใจ
ในกรณีนี้หากมีอาการปวดหัวบ่อยๆ นานเกิน 1-2 เดือน แนะนำพบแพทยื ตรวจหาสาเหตุทางร่างกายให้แน่ชัด แต่หากไม่พบความผิดปกติทางด้านร่างกาย แสดงว่าอาการปวดดังกล่าว เกิดจากสภาวะทางด้านจิตใจ ได้แก่ ความเครียด วิตกกังวล เป็นต้น
อาการที่บ่งถึงโรคเครียด สามารถเช็คอาการด้วยการทำแบบประเมินความเครียดด้วยตัวเอง ดังนี้
แบบเมินความเครียดด้วยตนเอง
โดยสำรวจจากอาการภายใน 1-2 เดือน ว่ามีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน โดยให้คะแนนตามระดับความรุนแรงของอาการดังนี้
ไม่เคยเลย 0 คะแนน
ครั้งคราว 1 คะแนน
บ่อยๆ 2 คะแนน
ประจำ 3 คะแนน
1. นอนไม่หลับ เพราะมีเรื่องกังวลใจหรือคิดมาก
2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
3. ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะประสาทตึงเครียด
4. รู้สึกวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ไม่มีความสุข รู้สึกเศร้าหมอง
7. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับ 2 ข้าง
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไร้คุณค่า
10. กระวนกระวายตลอดเวลา
11. ขาดสมาธิ
12. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำอะไร
13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร
14. ใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น มือสั่นเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
17. ปวดเกร็งบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
19. มึนงง วิงเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง ขาดความใส่ใจในการดูแลตัวเอง
หากรวมคะแนนได้มากกว่า 17 คะแนน หมายความว่ามีความเครียดในระดับที่สูงกว่าปกติ ควรหาเวลาผ่อนคลายความเครียด ด้วยการออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ พูดคุยปรึกษากับคนที่ไว้วางใจ หากลองปรับแล้วอาการไม่ดีขึ้นก้ต้องพบจิตแพทยื ประเมินอาการเพิ่มเติม รับการรักษาด้วยยา หรือวิธีที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตั้งแต่เข้าฤดูร้อนก็มีอาการปวดหัวข้างเดียวมานิดๆหน่อยไม่ถึงกับรำคาญ แต่ช่วงนี้ตอนใกล้มหาลัยเริ่มเครียด อาการกลายเป็นปวดหัวจนรำคาญและก็ปวดต้นคอมากขึ้น แต่พอกินน้ำอาการที่ปวดหัวก็จะเบาขึ้นมานิดนึงแต่ไม่หายขาด แต่ก็ยังทำอะไรได้ปกติหมดเลยครับแต่แค่ปวดหัวกับปวดต้นคอ อยากทราบว่า ผมปวดหัวจากความเครียดใช้มั้ยครับ ปล.ผมนั่งหน้าคอมวันละ6-8ชั่วโมง แต่ก็มีพักเป็นช่วงๆช่วงละ1-2ชั่วโมง ปล2.ตอนแรกมันก็ไม่เครียดแต่พอเริ่มปวดตอนเรื่องมหาลัย ผมเริ่มเครียดกับเรื่องปวดกว่าเดิม ปล3.ผมเป็นผู้ชาย อายุ 18ปีย่าง19 น้ำหนัก90
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)