October 29, 2019 13:22
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามานั้นหมอคิดว่ามีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้น้อยมากครับ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยนั้นถ้าหากใช้ได้อย่างถูกต้องแล้วก็จะมีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้เพียง 2% เท่านั้น ทั้งนี้ก็ควรประเมินด้วยว่าการตรวจการตั้งครรภ์ที่ผ่านมานั้นได้ตรวจไปในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ คือ การตรวจการตั้งครรภ์ที่จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้นั้นจะต้องเป็นการตรวจที่ห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ ก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ
ถ้าหากที่ผ่านมายังตรวจการตั้งครรภ์เร็วเกินไป หมอก็แนะนำว่าควรลองตรวจในเวลาที่เหมาะสมอีกครั้งครับ แต่ถ้าหากได้ตรวจการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องแล้วประจำเดือนก็อาจมาช่าได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น
- ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ภาวะมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
เป็นต้น
ซึ่งในกรณีนี้ก็อาจรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้อีกระยะหนึ่ง แต่ถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือนหรือมีปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมออยู่บ่อยๆก็ควรไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจหาสาเหตุครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เพิ่งตรวจเมื่อวานค่ะ แต่ไม่ได้ตรวจตอนเช้า ตรวจตอนเย็นแบบไม่ได้กินน้ำเลย รอจนปวดปัสสาวะแล้วก็ตรวจอ่ะค่ะ แบบนี้ได้ไหมคะ
เดือนที่แล้วประจำเดือนมาวันที่29 (ก.ย) มีพสพ.วันที่6ต.ค. ใส่ถุงยางป้องกันตลอดการมีพสพ. แต่วันนี้( 29 ต.ค. ) ประจำเดือนยังไม่มี เมื่อวานมีอาการปวดท้องน้อย มีเมือกนิดหน่อย และมีน้ำใสๆไหลออกจากช่องคลอดค่ะ นี่เป็นอาการของก่อนมีประจำเดือนไหมคะ (ซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจ2ครั้งแล้วได้1ขีด) (ประจำเดือนมาไม่ค่อยตรงคาดเคลื่อดเล็กน้อยไม่นานมาก)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)