January 25, 2017 17:19
ตอบโดย
ชมชนัท ทับเจริญ (พญ.)
แบบไม่ผ่าตัด กรณีข้อเข่ายังเสื่อมไม่มาก 1.การปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ ไม่นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิคุกเข่า ควรนอนเตียงสูงระดับเข่า ไม่นอนกับพื้น ใช้ไม้ถูพื้น แทนการนั่งลงไปถูหรือขัดพื้น ใช้ห้องน้ำแบบชักโครกแทนนั่งยอง 2. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไปและการออกกำลังกาย เช่น การรับประทาน อาหารจำพวกผักผลไม้ ลดอาหารจำพวกแป้ง - น้ำตาล และงดไขมันทรานส์ได้แก่ อาหารทอด กะทิ เนย ครีม 3. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรงเพื่อช่วยรองรับแรงกระแทกต่อเข่า 4. การเล่นกีฬาเพื่อให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรงและกล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น แต่ต้องไม่มีการกระแทก หรือบิดหมุนข้อเข่า "แบบไม่ผ่าตัด กรณีข้อเข่ายังเสื่อมไม่มาก
1.การปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ ไม่นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิคุกเข่า ควรนอนเตียงสูงระดับเข่า ไม่นอนกับพื้น ใช้ไม้ถูพื้น แทนการนั่งลงไปถูหรือขัดพื้น ใช้ห้องน้ำแบบชักโครกแทนนั่งยอง
2. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไปและการออกกำลังกาย เช่น การรับประทาน อาหารจำพวกผักผลไม้ ลดอาหารจำพวกแป้ง - น้ำตาล และงดไขมันทรานส์ได้แก่ อาหารทอด กะทิ เนย ครีม
3. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรงเพื่อช่วยรองรับแรงกระแทกต่อเข่า
4. การเล่นกีฬาเพื่อให้สุขภาพโดยรวม แข็งแรงและกล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น แต่ต้องไม่มีการกระแทก หรือบิดหมุนข้อเข่า
5.การใช้อุปกรณ์ชนิดต่างๆเพื่อบรรเทาอาการปวด
5.1 การประคบเย็น เมื่อมีอาการปวด บวมร้อน
ช่องอักเสบใช้ถุงน้ำแข็.หรือเจลเย็นวาง 15 - 20 นาที/ครั้ง ำวันละ 2-3 ครั้ง
5.2 การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงในผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม และออกกำลังต้นขา เพื่อสร้างความแข็งแรงของข้อเข่าด้วย
5.3 การใช้ไม้พยุงช่วยลดแรงกระทำต่อเข่า 25% และถือตรงข้ามเข่าที่ปวด
5.4 การใช้ยาแก้ปวด ยานวด ยาต้านการอักเสบยาคลายกล้ามเนื้อ ตามที่แพทย์แนะนำ"
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
Danuchar Chaichuen (พว.)
ขอแนะนำการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่า ในโรคข้อเข่าเสื่อมค่ะ
1) เดินเร็วในนํ้า
การฝึกเดินเร็วในนํ้านั้นสามารถบริหารกล้ามเนื้อบริเวณเข่าให้แข็งแรงได้ ระดับความสูงของนํ้าต้องไม่สูงเกินระดับเอ็วขึ้นไปนะครับ หรือที่เหมาะสมที่สุดคือ ระดับนํ้าประมาณหัวเข่า เมื่อเดินด้วยความเร็วไปได้สักระยะนั้น สิ่งแรกที่เราจะรับรู้ได้เลย คือ จะรู้สึกหนืด เดินได้ช้าเมื่อเทียบกับบนบก เนื่องจากนํ้าเป็นตัวต้านทานการเคลื่อนไหวของเรา เราจึงต้องออกแรงขามากขึ้นโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าขาเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ ถ้าได้ทำอย่างเป็นประจำสมํ่าเสมอ ครั้งละ 20-30 นาที 3-4 วันต่อสัปดาห์ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ และที่สำคัญคือ นํ้านอกจากมีความหนืดที่สร้างแรงเสียดทานให้เราขณะเดิน มันยังมีแรงลอยตัว ซึ่งช่วยลดแรงกระแทกจากพื้นที่สะเทือนถึงเข่าได้ขณะเดินในนํ้านั้นเอง จึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเข่าเสื่อมร่วมกับมีอาการปวดมาก
2) ปั่นจักรยาน
ปั่นจักรยาน โดยจะปั่นจักรยานแบบมีล้อทั่วไปที่เห็นได้ตามท้องถนน หรือจะเป็นเครื่องปั่นจักรยานออกกำลังกายที่อยู่ตาม fitness ก็ได้ระยะเวลาที่แนะนำคือ 30-40 นาที แต่ในกรณีที่เป็นขาใหม่ เบื้องต้นคือ ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้จนรู้สึกล้าและดูเวลาว่าใช้เวลากี่นาที เช่น ครั้งแรกใช้ 10 นาที ก็แนะนำให้อาทิตย์นั้นทั้งอาทิตย์ปั่นไม่เกิน 10 นาที จนอาทิตย์ถัดไปให้เพิ่มอีก 5 นาที เป็น 15 นาที ค่อยๆเพิ่มอาทิตย์ละ 5 นาทีไปเรื่อยๆเพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการปรับตัวและป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้
3)ใช้เก้าอี้ช่วย
นำเก้าอี้มาประยุกต์ใช้กันง่ายๆเองที่บ้าน โดยการนำถุงทรายขนาด 1-2 kg มารัดถ่วงไว้ที่ข้อเท้า นั่งเก้าอี้ที่สูงพอจนทำให้ขาลอยจากพื้น จากนั้นเตะขาขึ้นช้าๆค้างไว้ 5 วินาที แล้วลง นับเป็น 1 ครั้ง ทำวนกันแบบนี้จำนวน 10 ครั้ง 5 เซ็ตนะ เพื่อเสริมสร้างกำลังกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง แต่ในกรณีที่ไม่มีถุงทราย แนะนำให้นำหนังยางมาร้อยกันเป็นเส้นยาวๆแล้วนำปลายข้างนึงมัดที่ขาโต๊ะปลายอีกข้างมัดกับข้อเท้าที่เราออกกำลังกายก็สามารถใช้แทนกันได้
4)นอนควํ่างอเข่า
อันนี้เป็นท่าเบสิกมากๆพบเห็นได้ตามโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งท่านี้เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการงอเข่าได้ไม่เต็มช่วง ซึ่งอาจจะเกิดจากเข่าติดหรือกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังอ่อนแรง โดยการงอเข่าแนะนำให้ใช้ถุงทรายนํ้าหนัก 1-2 kg มาถ่วงไว้ด้วย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
5) ใช้เข่าหนีบลูกบอลแล้วย่อเข่าลง
ในบรรดาท่าออกกำลังกายทั้งหมดที่แนะนำมานั้น ท่านี้ถือว่าใช้แรงเยอะและเป็นท่าที่อันตรายสุดสำหรับผู้ป่วยเข่าเสื่อมเลยนะ ถ้าผู้ป่วยกล้ามเนื้อต้นขายังไม่แข็งแรงพอ แล้วมาออกกำลังกายท่านี้อาจจะทำให้เกิดอาการปวดเข่าและอาจทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้นด้วย แต่ข้อดีคือเป็นท่าที่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและกระชับต้นขาได้ดีมากๆ
วิธีการออกกำลังกายคือ ให้นำลูกบอลมาหนีบไว้ที่ระหว่างขาตรงเข่าทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ขาแบะออกขณะที่ย่อเข่า จากนั้นให้ย่อเข่าลงมาช้าๆเท่าที่ลงได้จนสุดแล้วขึ้นทันทีช้าๆเช่นกัน ขณะที่ขึ้นและลงนั้นต้องให้หลังตรงตลอดนะคะไม่ก้มหลัง ทำจำนวน 10 ครั้งต่อเซ็ต 4 เซ็ตต่อวัน ทำเป็นประจำอย่างสมํ่าเสมอติดต่อกันเฉลี่ย 3 เดือน คุณจะรู้สึกได้เลยว่าอาการปวดเข่าเบาลงจนรู้สึกได้ด้วยตนเองเลย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
การดูแลตัวเองเมื่อเป็นข้อเข่าเสื่อม
1. ควบคุมน้ำหนัก การที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรืออ้วน เพราะยิ่งน้ำหนักตัว มากเท่าไร ข้อต่าง ๆ ในร่างกายก็ยิ่งต้องรับภาระมากเท่านั้น โดยเฉพาะข้อเข่า สะโพก และ หลัง ที่เป็นกำลังหลักในการรับน้ำหนักของร่างกาย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการควบคุมน้ำหนักจึงเป็นการทนุถนอมข้อกระดูกทางหนึ่ง โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ช่วยเผาผลาญพลังงานได้เป็นอย่างดี แต่หากผู้ป่วยกังวล ว่าการออกกำลังกายจะเป็นอันตรายต่อข้อกระดูก ก็ควรเลือกประเภทของการออกกำลังกายที่ข้อไม่ต้องแบกรับภาระมากนัก เช่น ว่ายน้ำ การเดินในน้ำ เดิน หรือปั่นจักรยาน
2.ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ
“น้ำหนักน้อยก็ใช่ว่าจะไม่เป็นโรคข้อ หากทำอะไรที่ผิดท่า ไม่ว่าจะชอบนั่งยอง ๆ นั่งกับพื้น ผุดลุกผุดนั่งบ่อย ๆ หรือการขึ้นบันไดเป็นประจำ เหล่านี้ก็ทำให้ข้อเข่าเสียได้บางคนชอบยืนทิ้งน้ำหนักข้างเดียวซึ่งเป็นการสร้างภาระให้กับข้อข้างนั้นแทนที่จะลงน้ำหนักสองขาเท่า ๆ กัน
การนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน เช่น นั่งหลังงอและก้มคอทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันหลายชั่วโมงก็เป็นผลเสียต่อข้อต่อบริเวณคอ และกระดูกสันหลังส่วนเอวเช่นกัน ควรนั่งให้ถูกต้องโดยการนั่งพิงพนักเก้าอี้ และไม่ควรก้มคอนาน ๆ นอกจากนั้นทางที่ดี ควรหาโอกาสขยับตัว โดยลุกขึ้นมาเดินบ้าง ยืดแขนยืดขาบ้างเพื่อเป็นการบริหารข้อต่อ
3. เสริมสร้างกล้ามเนื้อ การป้องกันโรคข้อเสื่อมจากการออกกำลังกายสามารถทำได้โดยการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อเป็นส่วนสำคัญในการแบ่งเบาภาระต่าง ๆ ของข้อต่อเมื่อร่างกายเคลื่อนไหวรุนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณเอ็นข้อต่อซึ่งเป็นจุดสำคัญของการออกกำลังแทบทุกประเภท นอกจากนี้ การมีกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังที่ดีจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังรับภาระน้อยลง ซึ่งลดความเสี่ยงต่อความเสื่อมได้มาก อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มฝึกกล้ามเนื้อใด ๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อไม่ให้การ ฝึกฝนนั้นไปสร้างภาระให้กับข้อกระดูก
4. อาหารและยา การรับประทานยาจำพวก กลูโคซามีน และคอนโดรอิทีน ซึ่งเชื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างน้ำไขข้อและกระดูกอ่อนเคลือบผิวข้อได้ แต่ไม่ยืนยันว่าได้ประโยชน์มากเท่าใด ทั้งนี้ต้องใช้ในกรณีที่ข้อเสื่อมอยู่ในระยะแรกๆ เท่านั้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ข้อเข่าเสื่อมควรดูแลอย่างไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)