April 14, 2019 18:30
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
หากผู้ถามใช้ยาคุมชนิดที่ฉีดทุก 3 เดือน อาจพบผลข้างเคียงเป็นการมีเลือดออกกะปริบกะปรอย, ประจำเดือนไม่ปกติ หรือไม่มีประจำเดือน
อย่างไรก็ตาม เลือดกะปริบกะปรอยที่เป็นผลข้างเคียงจากยา ควรพบได้ทั่วไปโดยไม่เจาะจงเฉพาะหลังมีเพศสัมพันธ์นะคะ
ดังนั้น ในกรณีนี้แนะนำให้ไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมและพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
หากมีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก แม้จะแค่ครั้งเดียวก็ควรมาเช็กว่าสัญญาณนี้บอกความผิดปกติอะไรได้บ้างนะค่ะ
ฝ่ายหญิงยังไม่ทันมีอารมณ์ร่วม น้ำหล่อลื่นยังมีไม่มาก แต่ฝ่ายชายก็ใจร้อนบุกเข้าไปแล้ว กรณีนี้ก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บช่องคลอด หรือหากรุนแรงอาจมีเลือดออกหลังร่วมเพศได้ด้วย เพราะช่องคลอดแห้งเกินไป
ความเครียด การนอนดึก หรือความอ้วน เป็นสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน
ช่องคลอดมีการอักเสบหรือมีแผลบริเวณปากช่องคลอดก็เป็นได้ค่ะ
การติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์สตรีอาจส่งผลให้เกิดแผลในช่องคลอด และเมื่อเกิดการเสียดสีก็อาจส่งผลกระทบกับแผลและทำให้เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
ติ่งเนื้อบริเวณปากมดลูก
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
เส้นเลือดช่องคลอดฉีกขาด
มะเร็งปากมดลูก
จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ได้นะค่ะคุณคสรได้รับการตรวจโดยแพทย์สูตินารีเวชนะค่ะ ส่วยยาคุมมีผลข้างเคียงที่ทำให้เลือดออกกระปริบกระปรอยได้ค่ะ แต่ไม่ใช่ทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอนมีรัยกับเเฟนเเล้วมีเลือดออกมาด้วยจะเปนผลข้างเคียงจากการชีดยาคุมหรือป่าวเพราะว่าชีดยาคุมช่วงเเรกไม่มีเลือดออกค่ะเเต่พอมาประมาน2ปี เปนยุค่ะทุกครั่งที่มีรัยกับเเฟนเลือดจะออกมาตลอด
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)