August 23, 2018 21:23
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ สำหรับอาการดังกล่าว ได้แก่ อาการหน้ามืด น้ำหนักลดลงผิดปกติ และเป็นลมบ่อย ควรจะต้องหาสาเหตุค่ะ
อาการหน้ามืดบ่อยๆ มีหลายสาเหตุค่ะ
ตั้งแต่
1.สาเหตุทางหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นเร็ว คนไข้อาจมีอาการหน้ามืด ใจสั่น เป็นลมได้บ่อยๆ หรือมีความดัยโลหิตสูง หรือต่ำมากกว่าปกติ ก็อาจทำให้มีอาการหน้ามืดได้เช่นกัน
2.สาเหตุทางระบบประสาท คนไข้อาจมีอาการปวดหัว ตามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือมีแขนขาอ่อนแรง ชาแขนขา เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ทีอาการชัก อาจเป็นชักเกร็งทั่งตัว ชักเหม่อ หมดสติ ก็เป็นได้ ซึ่ฝนอกจากต้องตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียดแล้ว อาจต้องตรวจตาด้วยค่ะ เช่น ไม่ได้มีภาวะตาเอียง ตาสั่นหรือยาว เป็นต้น
3.ระบบต่อมไร้ท่อ เช่น น้ำตาลต่ำ น้ำตาลสูงกว่าปกติ จากโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน คนไข้อาจมีอาการปัสสาวะบ่อยมากจนหน้าทืดเป็นลม ,ภาวะไทรอยด์สุง (hyperthyroid) ในกรณีของ Hyperthyroid คนไข้อาจมีปัญหาร่วม เช่น เหงื่อออกมาก ใจสั่น ถ้าจะให้ชัดเจน คนไข้อาจมีตาโปนมากขึ้น น้ำหนักลด ถ่ายเหลวบ่อย เป็นต้นค่ะ กรณีนี้แนะนำให้ไปตรวจร่างกายและไทรอยด์เพิ่มเติม
***ขอให้ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาด้วยนะคะ ถ้ามีการใช้ยาที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาลดน้ำหนัก มักผสมฮอร์โมนไทรอยด์ลงไป เพื่อหวังผลการลดน้ำหนัก อาจทำให้คนไข้มีอาการคล้ายๆไทรอยด์สุว ทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน อันตรายถึวชีวิตค่ะ
4. อาการโลหิตจางที่เป็นมากๆ อาจทำให้มีอาการหน้ามืดใจสั่นได้ค่ะ รวมถึง การเสียเลือดมากอื่นๆด้วย เช่น ประจำเดือนมามาก อุบัติเหตุที่ทำให้เลือดออกมากๆ ถ่ายเป็นเลือดมากๆ ทาลัสซีเมียที่เม็ดเลือดแดงแตกมาก เป็นต้น ดังนั้น หากมีอาการโลหิตจางแล้วมีอาการหน้าทืดใจสั่นร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเลือดเพิ่ทเติม และอาจต้องได้รับเลือดค่ะ ******
5.สาเหตุเกี่ยวกับหูผิดปกติ เช่น โรคหินปูนในหู โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน คนไข้อาจมีอาการวิงเวียนศรีษะ หน้ามืด คลื่นไส้อาเจียนได้ค้ะ
ซึ่งอาการของคนไข้ อาจจะต้องตรวจเพิ่มเติมค่ะ เช่น การตรวจเลือด การดูเอกเรย์ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้นค่ะ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ที่ รพ เมื่อพร้อมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
สุพิชชา แสงทองพราว (พญ.)
อาการหน้ามืด เกิดได้จากหลายสาเหตุมากค่ะ ทั้งที่อันตรายและไม่อันตราย ได้แก่
1. ความผิดปกติของหัวใจ ที่ทำให้การสูบฉีดเลือดผิดปกติไป และอาจมีผลกระทบต่อความดันโลหิต เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น
2. โรคโลหิตจาง หรือโรคซีด จากสาเหตุต่างๆ เช่นการเสียเลือดจากประจำเดือนที่มามากผิดปกติ หรือการถ่ายดำ มีแผลเลือดออกในกระเพาะอาหาร โลหิตจางแต่กำเนิด เช่นโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก หรือมีเม็ดเลือดแดงผิดปกติไป ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์พอขนส่งออกซิเจนให้กับร่างกายได้เพียงพอ จึงทำให้เกิดอาการหน้ามืด
3. โรคทางเมตาบอลิกต่างๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ก็ทำให้เกิดอาการได้เช่นกัน หากไม่เคยตรวจแนะนำว่าควรตรวจสุขภาพประจำปีร่วมด้วย
4. โรคเครียดวิตกกังวล ก็ทำให้มีอาการได้เช่นเดียวกัน
5. การพักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน
6. การเสียเหงื่อและน้ำในร่างกายมากเกินไป เช่นออกกำลังกายอย่างหนัก ท้องเสีย อากาศร้อน
7. การตั้งครรภ์ ในช่วงเดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะทำให้มีอาการเหล่านี้ได้ เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เหม็นเบื่ออาหาก เป็นต้น หากมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ หรือประจำเดือนขาด ควรตรวจทดสอบการตั้งครรภ์ร่วมด้วยค่ะ
แนะนำว่าควรไปตรวจกับแพทย์เพื่อหาสาเหตุค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ท่านอาหารปกติค่ะ แต่ว่าน้ำหนักลดลงเรื่อยๆ เป็นลมบ่อยมากค่ะ ไม่สามารถที่จะยื่นนานๆได้เพราะจะหน้ามืด อาการแบบนี้เกิดจากอะไรค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)