January 24, 2017 11:55
ตอบโดย
ฐิติพร ตั้งวิวัฒนาพานิช (พญ.)
อาหารเสริมประเภทไหนคะ ถ้าเป็นอาหารเสริมที่ขายตามในเน็ตประเภทสรรพคุณครอบจักรวาล ควรตรวจสอบฉลากให้ชัดเจนค่ะว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง หากเป็นประเภทสมุนไพรชื่อแปลกๆควรระมัดระวังและสังเกตความผิดปกติต่างๆหลังใช้ซักระยะหนึ่งค่ะ เพราะสมุนไพรบางประเภท ไม่ได้มีวิจัยแน่ชัดและเพียงพอเกี่ยวกับสรรพคุณและผลข้างเคียงต่างๆ หากใช้แล้วเกิดอาการใดผิดปกติควรหยุดใช้และพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันทีค่ะ ทั้งนี้แม้อาหารเสริมหลายชนิดจะอ้างมีเลข อย. แต่เป็นเพียงการจดทะเบียนชื่อและชนิดสินค้าเท่านั้น ทาง อย.ไม่ได้ตรวจแยกส่วนผสมว่าใส่ไปตามจริงตามฉลากหรือเปล่า ควรระมัดระวังในการใช้ หากเป็นอาหารเสริมประเภทวิตามิน เกลือแร่ สารอาหารต่างๆ ก็ควรตรวจสอบฉลากเช่นกันว่ามีส่วนประกอบเป็นวิตามินอะไรบ้าง ไม่ควรรับประทานหลายยี่ห้อซ้ำซ้อนกันเพราะอาจเกินความต้องการของร่างกายได้ เช่นแคลเซียมเสริม หากกินเกินอาจจะท้องผูก เกิดนิ่วจากแคลเซียมสะสมได้ค่ะ ส่วนปริมาณที่เหมาะสมสามารถค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บสถาบันโภชนาการและเว็บไซต์ทางการแพทย์นะคะ กรณีเริ่มเป็นโรคไตเสื่อมไม่ควรรับประทานอาหารเสริมที่แพทย์ไม่ได้เป็นผู้จ่ายหรือรับรองค่ะ เพราะอาหารเสริมบางชนิดหรือแม้กระทั่งยาแผนปัจจุบันบางตัวก็มีผลทำให้ไตเสื่อมมากขึ้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คนที่มีโรคประจำตัวคือโรคไต แต่ไม่ใช่ระยะที่ต้องฟอกไต สามารถทานอาหารเสริมบำรุงไตได้ไหม?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)