เวลาแรกเริ่ม ให้อาหารเสริมแก่เด็ก ควรให้ลูกกินอาหารเสริมเมื่อไหร่?

ความเร่งรีบที่ไม่จำเป็น กับการให้อาหารเสริมลูกน้อยเร็วเกินไป
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เวลาแรกเริ่ม ให้อาหารเสริมแก่เด็ก ควรให้ลูกกินอาหารเสริมเมื่อไหร่?

เรื่องกินอยู่หลับนอนของลูกเป็นหัวข้อสนทนาสำคัญที่พ่อแม่หลายคนมักหยิบยกขึ้นมาคุยกันได้อย่างไม่รู้จบ เมื่อลูกกินมาก นอนหลับ ก็เป็นสิ่งน่าชื่นชมที่พ่อแม่หลายคนอยากบอกต่อ หรือถ้ายังกินนมเพียงอย่างเดียว จำนวนขวด จำนวนครั้ง ตลอดจนจำนวนกระป๋องที่กินก็เป็นสิ่งที่ยกมาอวดกันได้เช่นกัน

พอลูกเริ่มกินอาหารที่เรียกว่าอาหารเสริม เช่น ข้าว ไข่ กล้วยหรือเนื้อสัตว์ พ่อแม่ก็จะเริ่มอวดกันว่าลูกกินอะไรได้บ้าง กินได้มากน้อยเพียงไร และเริ่มกินได้เมื่อไหร่ ... ลูกของใครกินไม่ได้เท่าลูกคนอื่นก็กลายเป็นเรื่องน่าร้อนใจ ที่พ่อแม่จะต้องตะเกียกตะกายขวนขวายให้ลูกของตนกินได้เท่าเทียมเหมือนกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อันที่จริงเด็กแต่ละคนมีอัตราการพัฒนาต่างกัน ถึงจะโตช้าหรือกินช้ากว่าเด็กคนอื่นก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หรือน่าจะวิตกกังวลเสมอไป หากเด็กไม่เจ็บไข้ได้ป่วย มีการเติบโตไปตามอัตรากำลังของตัว ก็ยังจัดได้ว่าเป็นเด็กที่มีสุขภาพดี ไม่ได้ยิ่งหย่อนกว่าเด็กที่โตล่วงหน้าไปก่อนเลย

นอกจากนี้การให้กินอาหารมาก หรือการเริ่มให้อาหารเสริมกับเด็กเร็วเกินไป ไม่ใช่เรื่องที่น่าชื่นชมนัก เด็กยังอาจจะไม่พร้อม อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร รูปร่างเด็กอาจอ้วนเกินไปและมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินมาตรฐานได้เมื่อเขาโตขึ้น ซึ่งปัญหานี้มักแก้ไขไม่ได้ และทำให้เด็กกลายเป็นคนอ้วนไปตลอดชีวิต

ในบางท้องถิ่นจะปล่อยให้เด็กกินนมแม่แต่อย่างเดียว เด็กหลายคนอายุครบขวบแล้วก็ยังไม่ได้กินอาหารอื่นเลย พ่อแม่บางคนมีความเชื่อผิด ๆ ด้วยว่าหากเด็กยังไม่อดนม ก็ไม่ควรให้กินข้าว เด็กบางคนโตจนเดินและวิ่งได้แล้วแต่ยังไม่อดนมก็มี ในขณะนั้นปริมาณนมแม่ก็ไม่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของเด็กเสียแล้ว มีเด็กไทยจำนวนมากที่เป็นโรคขาดสารอาหารเพราะสาเหตุนี้

สำหรับพ่อแม่สมัยใหม่

พ่อแม่สมัยใหม่นิยมเร่งรัดให้เด็กกินอาหารเสริมโดยเร็วที่สุด ทารกในอายุเพียง 1 หรือ 2 เดือนก็เริ่มหัดให้กินกล้วยหรือกินข้าวกันแล้ว หากลูกกินอาหารได้มากก็เป็นที่ภาคภูมิใจของพ่อแม่ บางคนเชื่อว่าการที่เด็กกินอาหารอื่นได้จะทำให้อยู่ท้อง อิ่มทนกว่านมเพียงอย่างเดียว ทำให้เด็กนอนหลับนานขึ้น จากที่เคยตื่นคืนละหลายหน ก็เปลี่ยนเป็นนอนหลับตลอดทั้งคืน ความเชื่อเช่นนี้จึงกระตุ้นให้พ่อแม่หลายคนพยายามพากเพียร คะยั้นคะยอป้อนอาหารให้ลูกมากที่สุด

แต่ไม่นานมานี้ นักโภชนาการกลับมีความเห็นเกี่ยวกับเวลาแรกสำหรับให้อาหารเสริมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันว่า การเร่งให้อาหารเสริมแก่เด็กอ่อนนั้น ไม่มีคุณประโยชน์ในแง่โภชนาการ

ทารกต้องการอาหารเสริมก็ต่อเมื่อ สารอาหารที่ได้รับจากน้ำนมไม่เพียงพอ ในเดือนแรกของชีวิต นมมีสารอาหารที่เด็กต้องการอย่างครบถ้วนอยู่แล้ว ซึ่งต่อมาเด็กก็จะต้องการเหล็ก และวิตามินบางตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปริมาณที่อยู่ในนมธรรมชาติ แต่ถ้าเด็กคนนั้นอยู่ในความดูแลของแพทย์ แพทย์จะสั่งให้กินวิตามินเสริมประจำวัน นมผสมหลายชนิดที่เติมเหล็กและวิตามินเพิ่มขึ้นจนเพียงพอ เท่ากับได้สารอาหารเพิ่มอีกต่อหนึ่ง หลังจากนั้นความอยากอาหารของเด็กที่เพิ่มขึ้นตามวัยก็จะทำให้เด็กกินนมมากขึ้น จึงพลอยให้เด็กได้รับพลังงานและโปรตีนเพิ่มขึ้นตามส่วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่ต้องเร่งให้เด็กกินอาหารเสริม โดยเฉพาะอาหารเสริมอย่างแข็ง เช่น ข้าว ผัก ผลไม้หรือเนื้อสัตว์ก่อนที่เด็กจะมีอายุครบ 6 เดือน ถึงแม้ลูกของคนอื่นจะกินอาหารเหล่านั้นได้แล้ว แต่ถ้าลูกของเรายังไม่พร้อม นั่นคือระบบการย่อยอาหารยังทำงานไม่ได้เต็มที่ ก็ยังไม่ควรเริ่มต้น

เมื่อเด็กอายุครบ 6 เดือน กินได้นอนหลับ แข็งแรงดีแล้วจึงค่อยเริ่มต้น ลองป้อนทีละอย่างและทีละน้อย ลองของง่าย ๆ ก่อน เช่น กล้วย หรือข้าวต้มบดละเอียด ครั้งแรกเพียงคำเล็ก ๆ คำเดียวก็พอ คอยสังเกตการย่อยและการขับถ่ายของเด็กด้วย หากเด็กไม่ปวดท้อง ท้องไม่อืด หรือท้องไม่เสียจึงค่อยเพิ่มขึ้น เมื่อเด็กเคยชินแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนไปลองอาหารอื่น ในไม่ช้าเด็กก็จะกินอาหารได้หลายอย่าง

ความแตกต่างของอาหารเสริมสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย

สำหรับวัยทารก นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุด แม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน  เมื่อหลัง 6 เดือนขึ้นไป ทารกควรได้รับอาหารตามวัย ควบคู่ไปกับการได้รับนมแม่ จนถึงอายุ1½ - 2 ปี  โดยเตรียมอาหารที่ปรุงสุกและสะอาดแก่ทารกทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคอุจจาระร่วง  

เมื่อเด็กอายุ 3-5 ปี เริ่มมีความต้องการพลังงานและสารอาหารต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโปรตีน แคลเซียม วิตามินเอ ธาตุเหล็ก และไอโอดีน เด็กควรได้รับอาหารหลัก 3 มื้อ และอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อต่อวัน

นอกจากนี้ พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กกินผักและผลไม้จนเป็นนิสัยด้วย และให้เด็กได้ดื่มนมรสจืดทุกวัน วันละ 2-3 แก้ว ไม่ให้ขนมกรุบกรอบ ขนมหวาน และน้ำหวานทุกชนิดแก่เด็กก่อนมื้ออาหารหลัก เพื่อป้องกันฟันผุ ไม่ประกอบอาหารรสชาติจัดหรือเติมสารปรุงแต่งใดๆ ในอาหารเด็ก


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คณะอนุกรรมการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับผู้บริโภค ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงด้านอาหาร และโภชนาการ สู่คุณภาพชีวิตที่ดี (ชุดที่ 3) คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ, องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย (http://www.inmu.mahidol.ac.th/th/freebook_01.pdf)
คู่มืออาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก (http://www.tmwa.or.th/new/lib/file/20170121162528.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป