จะเลือกอาหารเสริมให้ลูกวัยแรกเกิดถึง 1 ปีอย่างไร

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับทารกแรกเกิด เพื่อการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
จะเลือกอาหารเสริมให้ลูกวัยแรกเกิดถึง 1 ปีอย่างไร

เมื่อเด็กทารกเริ่มเจริญเติบโตมากขึ้น การทานนมแม่เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ เราจึงควรให้ลูกได้ทานอาหารอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนมแม่ร่วมด้วย เพื่อให้ลูกได้สารอาหารที่จำเป็นอย่างพอเพียง และยังเป็นการกระตุ้นการทำงานระบบการย่อยอาหารของลูกอีกด้วย แต่ปัญหาหนักใจของคุณพ่อคุณแม่ก็คือ เราจะเตรียมอะไรให้ลูกทานเป็นอาหารเสริมนอกจากนมดี เรามีคำตอบให้

เมื่อไหร่ที่ลูกพร้อมที่จะทานอาหารเสริม
โดยทั่วไปแล้วเด็กอายุตั้งแต่ 3 เดือนก็พร้อมที่จะทานอาหารเสริมได้แล้ว แต่เราควรดูความพร้อมของลูกเราในหลายๆ ด้านดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

น้ำหนักตัวของลูกควรเป็น 2 เท่าของน้ำหนักตัวตอนแรกเกิด เพราะลูกต้องการอาหารมากขึ้น
ความพร้อมทางร่างกาย คือลูกสามารถชันคอเองหรือตั้งศีรษะเองได้
ลูกมักจะเอาของเล่นหรือนิ้วมือใส่ปาก แสดงว่าลูกพร้อมที่จะศึกษาสิ่งต่างๆ ด้วยปากส่วนหน้าแล้ว
ขณะทานอาหาร ถ้าลูกเข้าหาอาหารที่ทานอยู่ อ้าปากรอ และเมื่ออิ่มก็จะหันหน้าหนี แสดงว่าลูกบอกอาหารหิวและอิ่มได้ชัดเจน
ความพร้อมทางปาก เช่น ลูกจะอ้าปากเมื่อช้อนแตะริมฝีปาก หรือเข้าใกล้อาหาร
เมื่อลองอาหารอ่อนๆ เช้น น้ำข้าวผสมข้าวบด ลูกสามารถทานได้อย่างดีต่อเนื่องประมาณ 1 สัปดาห์ แสดงว่าลูกเคยชินกับอาหารเสริมแล้ว ก็สามารถให้อาหารอื่นแก่ลูกได้ เช่น อาจจะเติมไข่แดง หรือตับบดให้ลูกทานได้
ให้ลูกทานกลูโคสหรือน้ำผึ้งดีมั้ย
กลูโคสเป็นน้ำตาลขนาดเล็กซึ่งจะหวานน้อยกว่าน้ำตาล ส่วนน้ำผึ้งมีน้ำตาลทรายและฟรุคโตส ซึ่งจะหวานมาก ถ้าให้ลูกดื่มน้ำหวานทั้ง 2 อย่างนี้อาจจะทำให้ลูกไม่ยอมดื่มนม หรือดื่มนมน้อยลง ทำให้ลูกขาดสารอาหารได้ เพราะในน้ำหวานทั้งสองชนิดนี้ไม่มีวิตามิน ไขมันและเกลือแร่ แถมยังทำให้ฟันผุได้อีกด้วยจึงไม่ควรให้ลูกดื่ม

ลูกควรจะทานอาหารเสริมกี่มื้อต่อวัน
อาหารหลักของเด็กวัยแรกเกิดจนถึง 3 เดือนคือนมแม่หรือนมผสม เนื่องจากลูกต้องการโปรตีน ไขมัน และวิตามินเกลือแร่ต่างๆ เพื่อช่วยในการเสริมสร้างการเจริญเติบโต หลังจาก 3 เดือนไปแล้วจะสามารถทานอาหารเสริมได้ เช่น เนื้อ หมู ไข่ ผักสด เป็นอาหารเสริมที่ดีมากสำหรับลูกวัยนี้ แต่ไม่แนะนำซุปไก่หรือรังนกที่บรรจุขวดขายทุกชนิดเพราะคุณค่าทางอาหารต่ำหรือบางคนก็เชื่อว่าให้ลูกทานไขมันจากปลาเพื่อบำรุงสมอง แต่จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าไม่ได้ช่วยแต่อย่างใด กลับกันคือถ้าทานมากเกินไปอาจทำให้ลูกเลือดออกง่าย จำนวนมื้อที่เราควรจะให้ลูกได้ทานอาหารเสริมจะแบ่งตามช่วงอายุของลูกดังนี้

อายุ 0-3 เดือนควรให้ลูกทานนมแม่หรือนมผสม 6-8 มื้อต่อวัน ไม่ต้องให้ทานอาหารอื่น
อายุ 3-6 เดือนควรให้ลูกทานนมแม่หรือนมผสม 5-6 มื้อต่อวัน เริ่มให้ลูกทานอาหารเสริม 1 มื้อ
อายุ 6-9 เดือนควรให้ลูกทานนมแม่หรือนมผสม 4-5 มื้อต่อวัน เพิ่มอาหารเสริมเป็น 2 มื้อ
อายุ 9-12 เดือนควรให้ลูกทานนมแม่หรือนมผสม 3-4 มื้อต่อวัน และอาหารเสริม 3 มื้อ
สำหรับอาหารเสริม
เราอาจจะเตรียมเป็นข้าวบดผสมผักใบเขียวหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือไข่แดง และเนื้อสัตว์ต่างๆ สลับกันไปในแต่ละวัน และควรเพิ่มความข้นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อลูกโตขึ้น จนลูกอายุ 1 ปีก็ให้ทานข้าวสวยได้

ไม่ควรใส่ข้าวหรือไข่ในนม
ลูกบางคนชอบทานแต่นมไม่ยอมทานข้าว จึงแก้ปัญหาโดยใส่ไข่หรือข้าวลงในขวดนมแล้วเจาะรูหัวนมให้ใหญ่ขึ้น แบบนี้จะเป็นการสร้างนิสัยให้ลูกไม่ยอมทานข้าวมากขึ้น ควรเปลี่ยนมาแก้ปัญหาด้วยการให้ลูกทานข้าวหรืออาหารเสริมเป็นมื้อเช้าเลย เพราะช่วงเช้าลูกจะทานได้ดีกว่า แล้วจึงให้นมในมื้ออื่นๆ แทน หากลูกเป็นคนที่กินข้าวยาก ต้องระวังอย่าให้กินนมหรือผลไม้ก่อนอาหารเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกอิ่มและไม่ยอมทานข้าว

ควรให้ยากระตุ้นเพื่อให้ลูกทานอาหารได้มากขึ้นหรือไม่
เมื่อลูกเบื่ออาหาร บางคนอาจแนะนำให้ซื้อยากระตุ้นให้ลูกอยากทานอาหาร หรือซื้อยาบำรุงมาให้ลูกทาน ซึ่งยาเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นสมองให้อยากทานอาหาร แต่จะให้ผล 2-3 สัปดาห์เท่านั้น หลังจากนั้นจะไม่ได้ผลอีก และอาจทำให้ลูกเบื่ออาหารมากกว่าเดิม นอกจากนี้ยาเหล่านี้ยังมีผลให้ง่วงนอนและคอแห้ง จึงไม่ควรให้ลูกทานยาเหล่านี้นะคะ ควรหาสาเหตุที่ทำให้ลูกเบื่ออาหาร เช่น ลูกอาจจะเจ็บป่วย เป็นไข้, เบื่อรสอาหาร, เบื่อเมนูอาหาร เราก็ควรที่จะสังเกตลูกหรืออาจจะขอคำปรึกษาจากคุณหมอก็ได้


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
มหาวิทยาลัยมหิดล, อาหารวัยทารก. (http://www.si.mahidol.ac.th/th...)
คำแนะนำในการให้อาหารเสริมแก่ทารก. (http://www.med.cmu.ac.th/dept/...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป