3 สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้เกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์เสริม

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
3 สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้เกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์เสริม

ในปัจจุบันมีหลายครอบครัวที่เลือกที่ลองรับการรักษานอกเหนือจากในโรงพยาบาล โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ก็มีหลายครั้งที่เกิดปัญหา

การแพทย์เสริมและการแพทย์ทางเลือกนั้นเป็นคำกว้าง ๆ ที่หมายถึงวิธีการรักษาที่ไม่ได้อยู่ในการรักษาตามแบบแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น การรักษาโดยการใช้สมุนไพร การใช้อาหารเสริมหรือเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร, การฝังเข็ม, การกดจุด, การทำสมาธิ, การแพทย์แผนจีน, Reiki หรือการสะกดจิต นอกจากนั้นยังครอบคลุมไปถึงโยคะและการนั่งสมาธิอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีการรักษาเหล่านี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเด็กที่มีอาการป่วยเรื้อรัง แต่ก่อนที่พ่อแม่จะตัดสินใจเลือกรับการรักษาทางเลือก พ่อแม่ควรจะรู้ข้อมูลต่อไปนี้ก่อน

1. มีการรักษาหลายอย่างที่เป็นประโยชน์

การแพทย์แผนปัจจุบันนั้นไม่ได้รักษาหรือเข้าใจทุกโรค มีการรักษาหลายวิธี เช่น การฝังเข็มที่มีการปฏิบัติมานานหลายพันปี และเมื่อมีการศึกษาเกี่ยวกับวิธีเหล่านี้เพิ่มขึ้น เราก็มักจะพบว่ามันสามารถเป็นประโยชน์ต่อการรักษาได้ เช่น การฝังเข็มนั้นเป็นวิธีที่มีประโยชน์อย่างมากในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง การรับประทานจุลินทรีย์โพรไบโอติกนั้นช่วยรักษาอาการท้องเสีย และกรด docosahexaenoic acid (DHA) ที่พบในน้ำมันปลาช่วยในการพัฒนาสมองของทารกและอาจจะช่วยเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิได้เช่นกัน โยคะสามารถช่วยเด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิ เป็นโรคหอบหืด หรือมีอาการลำไส้แปรปรวน วิธีการรักษาเหล่านี้ทำให้ความรู้ทางการแพทย์ขยายออกไปกว้างขึ้นและมีแพทย์หลายคนที่แนะนำวิธีการรักษาดังกล่าว แต่ว่ามันก็ยังมีปัญหา

2. วิธีการรักษาเหล่านี้ส่วนใหญ่มีระบบการควบคุมที่ไม่ดี

ก่อนที่จะสามารถวางขายยาชนิดหนึ่งได้นั้น จะต้องทดสอบหลายขั้นตอน แต่หากเป็นยาสมุนไพรหรือการรักษาทางเลือกอาจจะไม่ต้อง เนื่องจากถูกจัดอยู่ในกลุ่มอาหารมากกว่ายา ทำให้ไม่จำเป็นต้องได้รับการทดสอบหรือควบคุมอย่างใกล้ชิดแต่อย่างใด และบริษัทก็ไม่ต้องแสดงหลักฐานที่สนับสนุนผลของผลิตภัณฑ์ตามที่อ้างไว้อีกด้วย หากคุณซื้อยาสมุนไพรหรืออาหารเสริม คุณจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าในผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง (พบว่ามีหลายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารที่เป็นอันตราย เช่น ปรอทหรือสารหนู) และไม่มีทางรู้ว่ามันจะออกฤทธิ์ได้ตามที่บริษัทกล่าวอ้างไว้หรือไม่

นอกจากนั้นหากมองในแง่ของผู้ที่ทำการรักษา ในการแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์และพยาบาลจะต้องผ่านการเรียนหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน, ผ่านการสอบระดับชาติ และต้องมีการศึกษาต่อเนื่อง แต่ผู้ที่ให้การรักษาทางเลือกนั้นไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะมีวุฒิบัตรในบางสาขาแต่ก็ยังพบว่าไม่มีวิธีใดที่สามารถรับประกันคุณภาพของผู้ให้บริการได้

การแพทย์แผนตะวันตกยังมักจะส่งเสริมเรื่องการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการรักษาที่ใช้นั้นได้ผล ปลอดภัย และมีโครงสร้างที่สนับสนุนหลักการดังกล่าว แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการศึกษาเกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เหมือนกับการแพทย์แผนตะวันตก ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ให้การรักษาทางเลือกนั้นเป็นคนไม่ดี แต่ว่ามันก็ทำให้ทราบได้ยากขึ้นว่าผู้ที่ให้การรักษานั้นได้รับการอบรมและพัฒนาทักษะที่ถูกต้องหรือไม่ และการรักษานั้นปลอดภัยหรือไม่

3. พ่อแม่จึงต้องทำการบ้านและศึกษาข้อมูลมาก่อน รวมถึงพูดคุยกับแพทย์เจ้าของไข้ก่อนเลือกรับการรักษาทางเลือก

ก่อนที่คุณจะรับการรักษาใด ๆ ก็ตาม คุณควรทำความเข้าใจกับมันก่อน นอกจากนั้นการพูดคุยกับแพทย์เจ้าของไข้หรือแพทย์ประจำตัวก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าวิธีการรักษาของคุณนั้นจะไม่ได้ส่งผลขัดขวางการรักษาอย่างอื่นที่กำลังทำอยู่ เช่น สมุนไพรบางชนิดที่มักใช้รักษาโรคซึมเศร้านั้นอาจจะส่งผลหรือขัดขวางต่อยาหลายตัวได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าวิธีดังกล่าวนั้นปลอดภัยหรือไม่สำหรับอาการเจ็บป่วยในปัจจุบัน

ยิ่งไปกว่านั้น การปรึกษาแพทย์ยังจะทำให้แพทย์ทราบถึงความกังวลที่คุณมีและเหตุผลที่คุณเลือกใช้การรักษาวิธีนี้ หากคุณกังวลเรื่องการเจริญเติบโตหรือความอยากอาหาร การปรึกษาแพทย์จะทำให้แพทย์ตรวจก่อนว่าอาการดังกล่าวนั้นเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่รุนแรงหรือไม่ก่อนที่คุณจะเริ่มรับประทานอาหารเสริม ถึงแม้ว่าแพทย์จะไม่ได้รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ไม่ใช่ยา แต่แพทย์ก็ใส่ใจกับสุขภาพของลูกคุณและอยากจะทำงานร่วมกับคุณเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้ลูกของคุณมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุข


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Advice For Parents About Complementary & Alternative Medicine. KidsHealth New Zealand. (https://www.kidshealth.org.nz/advice-parents-about-complementary-alternative-medicine)
3 things parents should know about complementary and alternative medicine. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/3-things-parents-should-know-about-complementary-and-alternative-medicine-2017082912337)
Complementary and alternative medicine for children. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1071356/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เวลาแรกเริ่ม ให้อาหารเสริมแก่เด็ก ควรให้ลูกกินอาหารเสริมเมื่อไหร่?
เวลาแรกเริ่ม ให้อาหารเสริมแก่เด็ก ควรให้ลูกกินอาหารเสริมเมื่อไหร่?

ความเร่งรีบที่ไม่จำเป็น กับการให้อาหารเสริมลูกน้อยเร็วเกินไป

อ่านเพิ่ม
จะเลือกอาหารเสริมให้ลูกวัยแรกเกิดถึง 1 ปีอย่างไร
จะเลือกอาหารเสริมให้ลูกวัยแรกเกิดถึง 1 ปีอย่างไร

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับทารกแรกเกิด เพื่อการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด

อ่านเพิ่ม